ผู้ป่วยโรคหอบหืดมีอาการดังต่อไปนี้ควรพบแพทย์ทันที
- ผู้ป่วยโรคหอบหืดเกิดอาการหอบอย่างรุนแรงมีอาการแสดงดังต่อไปนี้
- เกิดอาการหอบหืดขณะพัก พูดไม่เป็นประโยค สับสน ซึม หายใจมากกว่า 30 ครั้ง
- หายใจหวีดดังมากหรือไม่ได้ยิน
- ชีพขจรมากกว่า 120 ครั้ง ในเด็กมากกว่า 160 ครั้ง
- PEF< 60%
- ไม่ตอบสนองต่อยาขยายหลอดลมทันที
หรืออาการเป็นอีกหลังการรักษา3ชั่วโมง
- หลังให้ steroid 2-6 ชั่วโมง
อาการยังไม่ดีขึ้น
- ผู้ป่วยอาการแย่ลง
อาการเตือนว่าหอบหืดจะรุนแรงแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
และเป็นการยากที่จะบอกอาการเตือน
ท่านลองเลือกอาการเตือนสัก 3
อาการ
หากท่านมีอาการดังกล่าวให้ปฏิบัติตามแผนการรักษาโดยทันทีอาการต่างๆได้แก่
- PEF ลดลง
- ไอและหอบกลางคืน
- หายใจหอบ
- แน่นหน้าอก
- เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
- อ่อนเพลีย
- น้ำมูกไหล จาม ไอ
- ปวดศีรษะ
- มีไข้
- ตาลาย
- สีใบหน้าเปลี่ยนไป
- ขอบตาดำ
ผู้ป่วยคนไหนที่ควรอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อรักษา
- ไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามแนวทางข้างต้นภายใน
1-2 ชั่วโมง หลังการรักษา
- หลังการรักษามีการอุดกั้นของหลอดลมเพิ่มมากขึ้น
หรือมี PEF<50%
- มีประวัติเดิมของอาการหอบหืดรุนแรง
หรือเคยได้รับการรักษาในไอซียู
เนื่องจากโรคหืดมาก่อน
- มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหืด
- มีอาการหอบต่อเนื่องมานานก่อนที่จะมาพบแพทย์
- สภาพแวดล้อมและการดูแลที่บ้านไม่ดี
- การเดินทางลำบาก
ผู้ป่วยคนไหนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหืด
ผู้ป่วยที่มีประวัติดังต่อไปนี้หากเกิดอาการหอบหืดขึ้นมา
พบว่าผู้ป่วยเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหอบหืดสูงมาก
ควรจะพักรักษาในโรงพยาบาล
- กำลังใช้
หรือเคยใช้ steroid ชนิดกิน
- ในปีที่ผ่านมาเคยนอนโรงพยาบาลเพราะโรคหอบหืดมากกว่า 2 ครั้ง
- เคยใส่ท่อช่วยหายใจ หรือรักษาหอบหืดใน ICU
- มีอาการหอบมากจนกระทั่งไปรับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินมากกว่า
3 ครั้งใน 1 ปี
- ใช้ beta2-agonist มากกว่า 2หลอดต่อเดือน
- มีโรคอื่นร่วมเช่น โรคหัวใจ ถุงลมโป่งพอง
ต้องรู้เกี่ยวกับโรคหอบหืด | ต้องรู้จักวิธีพ่นยา | ต้องรู้จักชนิดของยาที่รักษา | ต้องมีแผนการรักษาด้วยตัวเอง | ต้องมีแผนฉุกเฉินในการรักเวลาหอบมาก | ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่แพ้ | ต้องรู้จักประเมินอาการของโรค | ต้องมีแผนเรื้อรัง
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว