แผนการรักษาโรคหอบหืด

การรักษาหอบหืดในปัจจุบันได้เปลี่ยนจากเดิมดังนี้ เมื่อสมัยก่อนการรักษาหอบหืดเป็นเพียงให้ยาขยายหลอดลม bronchodilator เท่านั้นแต่ปัจจุบันได้มีความเข้าใจกลไกการเกิดโรคหอบหืดดีขึ้นว่าโรคหอบหืด เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของหลอดลม ทำให้เยื่อบุหลอดลมหนาตัว และมีเสมหะอุดหลอดลมปัจจุบันการรักษาโรคหอบหืด

  1. จะอาศัยยาที่ลดการอักเสบเป็นหลักโดยอาศัยยาขยายหลอดลมเป็นตัวเสริม ยาลดการอักเสบจะป้องกันไม่ให้หลอดลมบีบตัว ลดการอักเสบของหลอดลมจึงป้องกันหอบหืดได้
  2. นอกจากจะเปลี่ยนจากการใช้ยาขยายหลอดลมเป็นยาลดการอักเสบแล้วยังมีเครื่องมือ Peak flow meterเพื่อเป็นการวัดเพื่อเตือนว่าแผนการรักษายังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และเตือนว่าโรคกำลังกำเริบต้องรีบให้การรักษา
  3. ผู้ป่วยควรปรึกษากับแพทย์ถึงแผนการรักษา โดยการวางแผนการรักษาแพทย์ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วยเป็นอันมาก แพทย์อยากทรายว่าระหว่างที่อยู่บ้านอาการหอบหืดเป็นอย่างไรบ้างโดยผู้ป่วยควรมีสมุดประจำตัว และคอยบันทึกความรุนแรงของโรค เพื่อไปพบแพทย์ให้นำสมุดไปพบแพทย์ด้วย
  4. ต้องทราบจุดประสงค์ของการรักษา

  • ไม่มีอาการหอบหืด เช่น ไอ หายใจเสียงดังหวีด แน่นหน้าอก
  • ไม่ต้องตื่นกลางคืนเพราะอาการหอบหืด
  • ไม่ต้องเข้าห้องฉุกเฉิน หรือนอนโรงพยาบาลเพราะโรคหอบหืด
  • สามารถคุมอาการให้สงบลงได้และหอบหืดเรื้อรังน้อยที่สุด
  • ป้องกันไม่ให้เกิดอาการกำเริบของโรค
  • ยกระดับสมรรถภาพการทำงานของปอดให้ดีทัดเทียมกับคนปกติ
  • สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เหมือนคนปกติไม่ต้องหยุดเรียนหรือหยุดงาน
  • หลีกเลี่ยงผลแทรกซ้อนจากยารักษาโรคหืด
  • ลดอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากโรคหอบหืด
  • ใช้ยา beta2-agonistเพื่อระงับอาการหอบให้น้อยที่สุด
  • ไม่มีภาวะฉุกเฉินของอาการหอบหืด
  • สามารถออกกำลังกายได้เหมือนคนปกติ

 แผนการรักษาประกอบไปด้วย

  1. แผนรักษาโรคหอบหืดเรื้อรัง
  2. แผนรักษาหอบหืดเฉียบพลัน
  3. เพิ่มเพื่อน

ต้องรู้เกี่ยวกับโรคหอบหืด | ต้องรู้จักวิธีพ่นยา | ต้องรู้จักชนิดของยาที่รักษา | ต้องมีแผนการรักษาด้วยตัวเอง | ต้องมีแผนฉุกเฉินในการรักเวลาหอบมาก | ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่แพ้ | ต้องรู้จักประเมินอาการของโรค | ต้องมีแผนเรื้อรัง







โรคหอบหืด

การวินิจัยโรคหอบหืด

ความรุนแรงโรคหอบหืด

ยารักษาโรคหอบหืด

แผนการรักษาโรคหอบหืดเรื้อรัง

แผนการรักษาหอบหืดเฉียบพลัน

เตรียมตัวก่อนพบแพทย์

อาการที่ต้องพบแพทย์ทันที

ผู้ที่ควรอยู่โรงพยาบาล

โรคหอบในภาวะพิเศษ