การรักษาโรคความดันโลหิตสูง
ประโยชน์จากการรักษาโรคความดันโลหิต
พบว่าการลดความดันโลหิต จะสามารถลดโรคแทรกซ้อนโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 30-35% และสามารถลดโรคแทรกซ้อนโรคเส้นเลือดหัวใจตีบได้ 20-25% และลดโรคหัวใจวายได้ 50 %
เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการ ผู้ป่วยบางรายมาพบแพทย์เมื่อมีโรคแทรกซ้อนแล้วเช่น ไตวาย หัวใจวายเป็นต้น การตรวจวัดความดันประจำปีจะช่วยให้เรารักษาผู้ป่วยได้เร็วขึ้น การพิจารณาให้การรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างเช่น ระดับความดันโลหิต โรคต่างๆที่พบร่วม ปัจจัยเสี่ยงต่างที่เป็นดังแสดงในตารางข้างล่าง
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ(1) |
โรคร่วมต่างๆที่เป็นอยู่(2) |
การสูบบุหรี่ |
กล้ามเนื้อหัวใจหนา |
ไขมันในเลือดสูง |
เคยเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบ |
โรคเบาหวาน |
เคยผ่าตัดเปลี่ยนหลอดเลือดหัวใจ |
หญิงอายุมากกว่า 65 ปี ชายมากกว่า 55 ปี |
หัวใจวาย |
อ้วนดัชนีมวลกายมากกว่า 30 |
เคยเป็นอัมพาต |
ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ(หญิงก่อน 65 ชายก่อน 55) |
โรคไต |
ความดันโลหิตสูง |
หลอดเลือดขาตีบ |
ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย |
มีการเปลี่ยนแปลงทางตา |
พบไข่ขาวในปัสสาวะ |
เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงและโรคที่พบร่วมก็จะจัดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้
- กลุ่ม A ผู้ป่วยไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ(ตารางช่อง 1) และไม่มีโรคร่วม (ตารางช่อง 2)
- กลุ่ม B ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 ข้อแต่ไม่มีโรคร่วม
- กลุ่ม C ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หรือมีโรคต่างๆตามตาราง
หลังจากท่านได้จัดว่าท่านอยู่ในกลุ่มไหนแล้วก็จะมาพิจารณาว่าจะเริ่มรักษาความดันโลหิตสูงเมื่อใด
ความรุนแรงของความดันโลหิต (systolic/diastolic mm Hg) | Prehypertension คือผู้ที่มีความดันโลหิต (120-139/85-89) |
Stage 1 (140-159/90-99) |
Stage 2 ความดัน >160/100 |
ผู้ป่วยกลุ่ม A | ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม | ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (จะให้ยาหลังจาก ปรับพฤติกรรมแล้ว เป็นเวลา 1 ปีความดันไม่ลด) | ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม +การให้ยา2ชนิด |
ผู้ป่วยกลุ่ม B | ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม | ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (จะให้ยาหลังจาก ปรับพฤติกรรมแล้ว เป็นเวลา 6 เดือนแล้วความดันไม่ลด หากมีหลายปัจจัยเสี่ยงต้องรีบให้ยา) | ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม +การให้ยา |
ผู้ป่วยกลุ่ม C | การให้ยา +ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม | การให้ยา +ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม | ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม + การให้ยา |
- จากตารางจะเห็นว่าผู้ป่วยกลุ่ม C จะเริ่มให้ยาเมื่อความดันโลหิตสูงไม่มากเพราะกลุ่ม c มีโรคอยู่หากรักษาช้าจะทำให้โรคที่เป็นอยู่มีอาการแย่ลง
- กลุ่ม B และ C หากความดันอยู่ในช่วง 140-160 ยังมีเวลาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 6เดือน-1 ปี แต่ถ้าความดันมากกว่า 160 จะให้ยาเลย
แต่ต้องเน้นว่าจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมด้วยเสมอ
- การรักษาความดันตามแนวทางการรักษาของยุโรป
- การใช้ยาลดความดันโลหิต
- เป้าหมายของระดับความดันโลหิต
- การเลือกยาที่ใช้ลดความดันโลหิต
- การรักษาโรคความดันโลหิตสูงในผู้ที่มีโรคแทรกซ้อน
- โรคความดันที่ดื้อต่อการรักษา
- การใช้ยาชนิดเคียวรักษาโรคความดันโลหิตสูง
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การรับประทานอาหารสุขภาพ
|
ลดเค็ม
|
รักษาน้ำหนักให้ปรกติ
|
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
|
ลดการดื่มสุรา
|
หยุดการสูบบุหรี่
|
สรุปการรักษาโรคความดันโลหิตสูง
- จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าการลดน้ำหนักประมาณ 5.1 กิโลกรัมจะสามารถลดความดันโลหิตได้ 4.4/3.6 มิลิเมตรปรอท ยิ่งน้ำหนักลดมากเท่าใดความดันจะลดลงมากเท่านั้น แนะนำว่าให้คุมน้ำหนักโดยที่มีค่าดัชนีมวลกายประมาณ 25 อ่านดัชนีมวลกายที่นี่
- การลดปริมาณเกลือที่รับประทานจะลดความดันโลหิตทั้งผู้ที่มีความดันปกติและผู้ที่มีความดันโลหิตสูง โดยแนะนำว่ารับประทานไม่เกิน 2.3 กรัม/วัน อ่านที่นี่
- รับประทานผักและผลไม้ให้มาก เนื่องจากผักและผลไม้จะมีโพแทสเซี่ยมมากซึ่งจะช่วยลดความดันโลหิต แนะนำให้รับประทานวันละ 4.7 กรัม/วัน
- การดื่มสุรามากจะทำให้ความดันเพิ่ม แนะนำให้ดื่มวันละ 2และ1 หน่วยสุราในชายและหญิงตามลำดับ อ่านเรื่องสุราที่นี่
- การรับประทานผักมากจะช่วยลดระดับความดันโลหิต
- การรับประทานอาหารที่ลดความดัน Dash Diet จะลดความดันโลหิตทั้งคนปกติและผู้ที่มีความดันโลหิตสูง โดยเริ่มลดเมื่อเวลา 2 สัปดาห์
- การรับประทานน้ำมันปลา Omega-3 polyunsaturated fatty acid จะสามารถลดระดับความดันโลหิต แต่ต้องรับประทานมากถึง 3 กรับ/วัน
- ยังไม่มีหลักฐานว่าการรับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยม แมกนีเซี่ยม และใยอาหารว่าสามารถลดระดับความดันโลหิต
- คนที่สูงอายุจะตอบสนองต่อการคุมอาหารได้ดีกว่าคนหนุ่ม
เมื่อไรจะรักษาความดันโลหิตสูง | โรคแทรกซ้อนความดันโลหิตสูง |
ทบทวน 5 มีนาคม 2549
เอกสารอ้างอิง
American Heart Association Updates Guidelines for Blood Pressure Management
- โรคแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง
- ยารักษาความดันโลหิต
- การออกกำลังกาย
- ใยอาหาร
- อัตราการเต้นหัวใจเป้าหมาย
- การเลือกใช้ยาลดความดันโลหิต
- การวัดความดันโลหิต
- เครื่องวัดความดันโลหิต
- การป้องกันความดันโลหิตสูง
- ปัจจัยเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง
- สัญญาณเตือนภัย
- ความดันโลหิตกับผู้หญิง
- ใครมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง
- เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตวัดได้อย่างไร
- ความดันที่ดีต้องเท่าไร
- การตรวจพิเศษเมื่อท่านเป็นโรคความดันโลหิตสูง
- เมื่อไรจึงจะรักษาโรคความดันโลหิตสูง
- ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- โรคที่เกิดจากความดันโลหิตสูง
- อวัยวะที่เสียหายจากโรคความดันโดยที่ไม่เกิดอาการ
- โรคความดันโลหิตสูงกับผู้หญิง
- วิธีป้องกันความดันโลหิตสูงโดยไม่ต้องใช้ยา
- การรักษาความดันโลหิตสูง
- รับประทานเกลือน้อยจะลดการเกิดโรคหัวใจ
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว