การตรวจร่างกายผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
การตรวจร่างกายผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
การตรวจร่างกายมีจุดประสงค์ คือ
- การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงให้ถูกต้อง
- ตรวจวัดระดับความดันโลหิตปัจจุบัน
- ตรวจหาสาเหตุของความดันโลหิตสูง
- และประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด CVD อย่างละเอียด
ควรตรวจวัดความดันโลหิตทั้ง 2 แขน หากพบและตรวจยืนยันแล้วว่าความดันโลหิตตัวบนต่างกันมากกว่า 20 มม.ปรอท และ/หรือความดันโลหิตตัวล่าง DBP ต่างกันมากกว่า 10 มม.ปรอท ควรตรวจหาความปกติของหลอดเลือด
ผู้ป่วยทุกรายควรตรวจโดยการฟังที่ carotid artery, หัวใจและหลอดเลือดแดงที่ไต หากได้ยินเสียงฟู murmur บริเวณดังกล่าวควรตรวจค้นต่อด้วย carotid ultrasound, echocardiography, renal vascular ultrasound ตามลำดับ วัดส่วนสูง, น้าหนัก, เส้นรอบเอวในท่ายืนและคานวณ body mass index (BMI) คลำชีพจรขณะพักและฟังการเต้นของหัวใจซึ่งอาจพบการเต้นของหัวใจผิดปกติ arrhythmia เช่น หัวใจเต้นสั่นพริ้วAF หากการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นบ่งชี้ถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
การตรวจร่างกายจะตรวจหา
- ความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ,
- การเสื่อมของอวัยวะ
- โรคอ้วน
1การตรวจร่างกายที่แสดงที่บ่งชี้ว่าอาจเป็นความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ
- โรค Cushing syndrome หรือโรคต่อมหมวกไต
อาจจะเกิดเนื้องอกของต่อมหมวกไตเองที่ผลิตฮอร์โมนมาก หรืออาจจะเกิดจากซื้อยาที่มีส่วนผสมของ steroid หรือเกิดจากการรักษาด้วยยา steroid อาการแสดงของ Cushing syndrome
|
หน้ากลมเหมือนดวงจันทร์ ผิวหน้าจะบางและเห็นเส้นเลือด |
|
มีการสะสมไขมันที่ต้นคอด้านหลัง |
|
ผิวหนังมีการแตกเหมือนผิวหน้าท้องแตกของคนตั้งครรภ์ |
|
มีขนขึ้นมากกว่าปรกติ |
เป็นเนื้องอกที่สร้างฮอร์โมนทำให้มีความดันสูง ใจสั่น เหงื่อออก ลักษณะจาเพาะของผิวหนังที่พบใน neurofibromatosis (pheochromocytoma)
|
มีตุ่มๆอยู่ใต้ผิวหนัง |
|
มีผื่นสีออกน้ำตาลที่ผิวหนัง |
- การคลำไตเพราะหากไตโตทำให้คิดถึงโรค Polycystic kidned
- การฟังเสียงฟูที่หน้าท้อง หากได้ยินก็จะสงสัยว่าความดันโลหิตสูงเกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบ renovascular hypertension
- ฟังเสียงหัวใจหากได้ยินเสียงฟู่ก็อาจจะเป็นโรคของหลอดเลือด (aortic coarctation, aortic disease, โรคของหลอดเลือดแขน)
- คลำชีพขจรืี่เท้า หากทั้งสองข้างไม่เท่ากันหรือมาช้าก็อาจจะเป็นโรคของหลอดเลือด (aortic coarctaton, aortic disease, โรคของหลอดเลือดแดงที่ขา)
2การตรวจหาว่าอวัยวะเสียหายจากความดันโลหิตสูง
- สมอง แพทย์จะฟังเสียงฟู่ที่หลอดเลือดแดงที่คอ หากได้ยินแสดงว่าหลอดเลือดตีบ แพทย์จะตรวจดูกำลังและความรู้สึกของแขนขา
- ตา แพทย์จะส่องดูจอภาพ retina เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือด
- หัวใจ แพทย์จะตรวจว่าหัวใจโตหรือไม่ มีลักษณะหัวใจวายหรือไม่ เท้าบวมหรือไม่ หัวใจเต้นผิดปกติหรือไม่
- หลอดเลือดแดง แพทย์จะคลำหลอดเลือดที่หลังเท้าทั้งสองข้าง หากแรงไม่เท่ากัน เย็นปลายมือปลายเท้า ก็อาจจะเกิดหลอดเลือดแดงตีบ
- สมอง พบ motor หรือ sensory deficit
3หลักฐานของโรคอ้วน
- ชั่งน้าหนักและวัดส่วนสูง
- คานวณ BMI
- วัดเส้นรอบเอวในท่ายืนที่ระดับกึ่งกลางระหว่างขอบชายโครงและขอบ iliac crest วัดรอบเอวเพื่อดูว่าเป็นโรคอ้วนลงพุงหรือไม่ คำนวณดัชนีมวลกาย
- ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง