หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
การวัดเส้นรอบเอว ดัชนีมวลกาย | พลังงานสำหรับการออกกำลังกาย | พลังงานที่ใช้ในแต่ละวัน | อัตราการเต้นหัวใจเป้าหมาย | BMR | การแปลงส่วนสูง | การแปลงน้ำหนัก
ดัชนีมวลกาย Body Mass Index ( BMI) เป็นการคำนวณโดยใช้น้ำหนัก ( กิโลกรัม)และส่วนสูง(เมตร) เป็นการประเมินระดับไขมันในร่างกายจากการศึกษาพบว่าดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในร่างกาย
ค่าดัชนีมวลกายสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด ระบบหัวใจ รวมไปถึงมะเร็งบางชนิด
ข้อจำกัดของการใช้ดัชนีมวลกายในการวัดปริมาณไขมันในร่างกาย
ข้อจำกัดเหล่านี้ได้แก่
เหตุผลที่ใช้ดัชนีมวลกายในการคัดกรองสุขภาพของประชากรทั่วไปเนื่องจากการมีน้ำหนักเกิน หรืออ้วนนั้นมีความสัมพันธ์อย่างมากกับปัญหาสุขภาพ การเกิดโรคเรื้อรัง และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนจะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพต่อไปนี้เพิ่มขึ้น
ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5
คุณมีน้ำหนักน้อยเกินไป ซึ่งอาจจะเกิดจากนักกีฬาที่ออกกำลังกายมาก และได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ วิธีแก้ไขต้องรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และมีปริมาณพลังงานเพียงพอ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
ดัชนีมวลกายระหว่าง 18.5-22.9
คุณมีน้ำหนักปกติและมีปริมาณไขมันอยู่ในเกณฑ์ปกติ มักจะไม่ค่อยมีโรคร้าย อุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงต่ำกว่าผู้ที่อ้วนกว่านี้
ดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 23-24.9
คุณเริ่มจะมีน้ำหนักเกิน หากคุณมีกรรมพันธ์เป็นโรคเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูงต้องพยายามลดน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 23
ดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 25-29.9
คุณจัดว่าเป็นคนอ้วนระดับ1 และหากคุณมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม.(ชาย) 80 ซม.(หญิง) คุณจะมีโอกาศเกิดโรคความดัน เบาหวานสูง จำเป็นต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
ดัชนีมวลกายมากกว่า 30
คุณจัดว่าอ้วนระดับ2 คุณเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วน หากคุณมีเส้นรอบเอวมากกว่าเกณฑ์ปกติคุณจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง คุณต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างจริงจัง
ผู้ที่จะต้องรีบลดน้ำหนัก
BMI For Adults Widget