siamhealth

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน | อาหารเพื่อสุขภาพ

Heart attack หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหมายถึงภาวะที่มีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดหัวใจ Coronary ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับความเสียหาย สาเหตุของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมักจะเกิดจากโรคหลอดเลือดโคโรนารีตีบ

หัวใจของเราประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ และมีเส้นเลือดชื่อ Coronary artery นำเอาเลือดและออกซิเจนมาสู่หัวใจ หากมีลิ่มเลือดมาอุดเส้นเลือด จะทำให้หัวใจขาดเลือด และออกซิเจนซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย

โรคหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือที่เรียกว่า Coronary artery disease เป็นโรคหัวใจที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งทั่วโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นของประเทศที่เจริญแล้ว และประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย

อุบัติการณ์

เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ

เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีเส้นใหญ่ 2 เส้นคือ

 

กลไกการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

หลอดเลือดหัวใจตีบ

กลไกการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

  1. การสะสมของไขมันในหลอดเลือด (Atherosclerosis)

    • ไขมันและสารอื่น ๆ สะสมที่ผนังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดคราบพลัค (plaque)

    • เมื่อเวลาผ่านไป คราบพลัคทำให้หลอดเลือดแดงตีบและลดการไหลเวียนของเลือด

  2. การแตกของคราบพลัค

    • คราบพลัคที่ไม่เสถียรสามารถแตกออก ทำให้เกิดการกระตุ้นระบบการแข็งตัวของเลือด

    • เกล็ดเลือดจะมารวมตัวกันที่จุดที่คราบพลัคแตก ทำให้เกิดลิ่มเลือด

  3. การอุดตันของหลอดเลือดแดง

    • ลิ่มเลือดที่ก่อตัวขึ้นสามารถอุดตันหลอดเลือดแดงอย่างฉับพลัน

    • การอุดตันนี้ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและออกซิเจนทันที

  4. การตายของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ

    • เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจจะเริ่มตาย

    • หากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็ว อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจล้มเหลว

 

อ่านกลไกการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

 

อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

เจ็บหน้าอก

อาการเจ็บหน้าอกของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จะมีอาการเจ็บหน้าอกเวลาออกกำลังกาย โดยมากเจ็บไม่เกิน 10 นาทีพักแล้วจะหาย หากกล้ามเนื้อหัวใจตายจะมีอาการเจ็บหน้าอกขณะพัก เจ็บนาน เจ็บมากจนเหงื่อตก อมยาแล้วไม่หายปวด

  1. เจ็บหน้าอก รู้สึกแน่น จุก หรือปวดบริเวณกลางหน้าอก อาจร้าวไปที่แขนซ้าย คอ กราม หรือหลัง

  2. หายใจลำบาก รู้สึกเหมือนหายใจไม่เต็มปอด

  3. เหงื่อออกมากผิดปกติแม้ไม่ได้ทำกิจกรรมหนัก

  4. เวียนศีรษะ หน้ามืด หรือเป็นลม

  5. คลื่นไส้ อาเจียน

  6. ใจสั่น หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที เพราะภาวะนี้ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน

อาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

ปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้หลอดเลือดแดงตีบ จะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ง่ายได้แก่ เพศ อายุ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ประวัติครอบครัวสายตรงเป็นโรคหัวใจ

  1. โรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง

  2. การสูบบุหรี่ เพิ่มโอกาสการเกิดหลอดเลือดอุดตัน

  3. ภาวะอ้วนและขาดการออกกำลังกาย

  4. ความเครียดเรื้อรัง ทำให้ความดันโลหิตสูงและเกิดภาวะหลอดเลือดตีบ

  5. ประวัติครอบครัว หากมีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคหัวใจ จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น

  6. การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง น้ำตาลสูง หรือโซเดียมสูง

 

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

วินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดต้องอาศัยประวัติการเจ็บปวย การตรวจร่างกาย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจเลือด

การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

แพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยใช้วิธีการต่าง ๆ ดังนี้:

  1. ซักประวัติและตรวจร่างกาย

    • สอบถามอาการเจ็บหน้าอก ลักษณะของอาการ และปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ

    • ตรวจวัดความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ และการไหลเวียนของเลือด

  2. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram - ECG)

    • เป็นการตรวจที่สำคัญที่สุดในระยะแรก ช่วยระบุว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่

    • สามารถบ่งบอกถึงตำแหน่งและความรุนแรงของกล้ามเนื้อหัวใจที่ได้รับผลกระทบ

  3. การตรวจเลือดเพื่อดูเอนไซม์หัวใจ (Cardiac Biomarkers)

    • ตรวจระดับเอนไซม์ เช่น Troponin I/T และ CK-MB ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย

  4. การตรวจเอคโคคาร์ดิโอกราฟี (Echocardiography)

    • ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อตรวจสอบการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและพิจารณาว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวหรือไม่

  5. การตรวจเอกซเรย์ทรวงอก (Chest X-ray)

    • ช่วยประเมินขนาดของหัวใจและภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะน้ำท่วมปอด

  6. การตรวจสวนหัวใจและฉีดสีหลอดเลือด (Coronary Angiography)

    • เป็นการฉีดสารทึบแสงเข้าสู่หลอดเลือดหัวใจเพื่อดูการอุดตันของหลอดเลือดแดง

    • เป็นวิธีที่แม่นยำที่สุดในการประเมินระดับการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ

อ่านการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่นี่

ความรุนแรงกล้ามเนื้อหัวใจตาย

กลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดแบ่งออกเป็นสามกลุ่มได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเรื้อรัง Angina pectoris กลุ่มอาการเจ็บหน้าอก Unstable angina และกลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด nstemi ซึ่งจะมีอาการคล้ายกัน และกลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจตาบชนิด STEMI อ่านชนิดของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่นี่

การรักษากล้ามเนื้อหัวใจตาย

การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ประกอบไปด้วยการให้ยาแก้เจ็บหน้าอก ยาลดการขาดออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ ยาหรือการใส่สายสวนหัวใจเพิ่มเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหัวใจ อ่านการรักษากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด


โรคแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อหัวใจตาย

โรคแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดจากการเต้นของหัวใจผิดปรกติ หรือเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจวาย หรือเกิดจากลิ้นหัวใจรั่วเฉียบพลัน อ่านโรคแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่นี่

ป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

เหนื่อย

การป้องกันโรคหัวใจแบ่งเป็นสองแบบคือปฐมภูมิ คือป้องกันมิให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และทุติยภูมิคือการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ หลังจากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปแล้ว

  1. รับประทานอาหารที่ดีต่อหัวใจ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด ปลา และไขมันดี (เช่น น้ำมันมะกอก อะโวคาโด)

  2. ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ เช่น การเดินเร็ว ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน

  3. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ลดน้ำหนักหากมีภาวะอ้วน

  4. เลิกสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่

  5. ลดความเครียด ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การทำสมาธิ ฝึกโยคะ หรือใช้เวลากับครอบครัวและเพื่อน

  6. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อตรวจวัดความดันโลหิต น้ำตาลในเลือด และระดับไขมันในเลือด

  7. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก

การป้องกันโรคหัวใจ


กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน NSTEMI | กล้ามเนื้อหัวใจตาย STEMI

ปัจจัยที่กระตุ้นให้โรคหัวใจกำเริบ

ผู้ป่วยโรคหัวใจจะไปพบแพทย์เมื่อไร

เป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแล้วจะหายหรือไม่

โรคแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อหัวใจตาย

ชนิดของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

กล้ามเนื้อหัวใจตายจากหลอดเลือดตีบ

ไขมันอุดหลอดเลือดแดง

ภาพแสดงผนังหลอดเลือดที่มีคราบไขมันเกาะทำให้รู้หลอดเลือดแคบลง

การที่คนเกิดปัจจัยเสี่ยงหลายๆอย่างจะทำให้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดตีบเร็วขึ้น

การควบคุมปัจจัยเสี่ยงควรจะเริ่มทำเมื่อไร

คนทั่วไปจะเคยชินกับวิถีชีวิตไม่คำนึงถึงผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย ผู้ที่สูบบุหรี่ก็พยายามหาคำตอบเพื่อให้เขาเหล่านั้นไม่ต้องปรับพฤติกรรม แต่หากเวลาผ่านไปคราบไขมันมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกระทั่งเกิดอาการก็จะทำให้การรักษาลำบากยิ่งขึ้น

มีการศึกษาเด็กที่เสียชีวิตจากอุบัติเหต พบว่าเริ่มมีคราบไขมันเกาะตามผนังหลดเลือดตั้งแต่เด็ก แสดงว่ากระบวนการของการเกิดโรคหลอดเลือดตีบเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็ก และจากสถิติพบว่าแต่ละประเทศมีเด็กอ้วนในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมๆกับการที่เด็กมีเวลาออกกำลังกายลดลง และรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพ

ดังนั้นเราควรจะรณรงค์เรื่องอาหาร การออกกำลังในเด็ก และโรคอ้วนในเด็กเพื่อที่อนาคตโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะได้ลดลง

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเส้นเลือดหัวใจตีบ

ปัจจัยที่กระตุ้นทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด

การป้องกัน

หากท่านเป็นโรคหัวใจจะทำให้คุณภาพชีวิตลดลงดังนั้นท่านควรจะป้องกันมิให้เป็นโรคหัวใจ วิธีการง่ายดังนี้

การรักษา

ข่าวเกี่ยวกับโรคหัวใจ


โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ | ระบาดวิทยา |อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ | อาการเจ็บหน้าอก | การวินิจฉัยโรค | คลื่นไฟฟ้าหัวใจ | ผลการตรวจเลือด | ข้อมูลที่ต้องบอกแพทย์ | กลไกการเกิดโรค | การแบ่งประเภทของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด | ปัจจัยที่กระตุ้นทำให้เกิดโรค | จะพบแพทย์เมื่อไร | การการป้องกันทุติยภูมิ | ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด | การรักษา | การใส่สายสวนหัวใจ | การทำบอลลูน | การฟื้นคืนชีพ | การดูแลเบื้องต้น ||การป้องกันเส้นเลือดตีบ | การตรวจโรคหัวใจทางห้องปฏิบัติการ| โรคแทรกซ้อน |การตรวจหัวใจหลังกล้ามเนื้อหัวใจตาย | การตรวจพิเศษในผู้ป่วยที่หัวใจขาดเลือด | อาหารกับโรคหัวใจ | การออกกำลังกาย

เรื่องที่น่าสนใจ

 

  กลไกการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

เอกสารอ้างอิง

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

เพิ่มเพื่อน