การเตรียมสถานที่ทำงานสำหรับการระบาดของโรคติดต่อ
การระบาดของโรคติดต่อทั่วโลกเรียก pandemic ซึ่งเกิดจากการเกิดเชื้อโรคตัวใหม่ระบาดขึ้นมา โดยที่ประชาชนยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้ ทำให้เชื้อโรคติดต่อจากคนสู่คน ซึ่งมีผลต่อสังคม การทำงาน การท่องเที่ยว เศรษฐกิจ หน่วยงานทั้งภาคเอกชนและรัฐบาลจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการระบาด เพื่อลดผลกระทบกับบริษัท และสังคมโดยรวม
นายจ้างจะมีบทบาทที่สำคัญในการป้องการระยาดในสถานที่ทำงาน และเศรษฐกิจของประเทศ โดยนายจ้างจะต้องมีการปรับปรุงเรื่องนโบายการทำงาน การบริหาร การปรับโครงสร้างเพื่อป้องกันการติดต่อ
ข้อแตกต่างของการระบาดของไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก ไข้หวัดหมูโรค Sars
ไข้หวัดใหญ่
เชื้อไข้หวัดใหญ่จะมีการระบาดเป็นระยะตามฤดูกาลโดยมากจะระบาดในหน้าหนาว การระบาดจะอยู่ในขอบเขตจำกัดเนื่องจากคนส่วนใหญ่จะมีภูมิต่อเชื้อโรค และได้มีการฉีดวัคซีนป้องกันไว้บ้างแล้ว แต่ต้องฉีดทุกปี ไข้หวัดใหญ่อ่านที่นี่ เรื่องวัคซีนอ่านที่นี่
ไข้หวัดนก
มีการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกที่เกิดกับสัตว์ปีก และระบาดสู่คน เนื่องจากคนส่วนใหญ่ยังไม่มีภูมิจึงมีอัตราการเสียชีวิตสูง แต่เนื่องจากเชื้อยังไม่กลายพันธุ์จึงทำให้การติดต่อจากคนสู่คนเป็นไปได้ยาก อ่านที่นี่
โรค SARS
เป็นโรคระบาดที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงเกิดจากเชื้อไวรัสที่เกิดในสัตว์และกลายพันธุ์ติดต่อจากคนสู่คน มีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก อ่านที่นี่
ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ มีการระบาดจากคนสู่คนจนองค์การอนามัยโรคประกาศระดับการระบาดเป็นระดับ5 มีการระบาดไปทั่วโลก แต่อัตราการเสียชีวิตไม่สูงเหมือนไข้หวัดนก หรือ sars อ่านที่นี่
การระบาดของเชื้อทั่วโลกจะส่งผลอย่างไรกับที่ทำงาน
การระบาดของโรคจะกระทบกับหลายประเทศ ทั้งสังคม การค้า การเดินทาง เศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การระบาดแต่ละครั้งใช้เวลา 6-8 อาทิตย์ และอาจจะระบาดซ้ำได้อีก ซึ่งอาจจะส่งผลต่อบริษัทหรือที่ทำงานดังนี้
- การหยุดงาน การระบาดแต่ละครั้งอาจจะส่งผลถึงผนักงานประมาณร้อยละ40 ในช่วงที่มีการระบาด เนื่องจากหยุดงานเพราะป่วย หรือ ต้องดูแลสมาชิกในครอบครัวที่ป่วย หรือดูแลเด็กเนื่องจากโรงเรียนปิด หรืออาจจะหยุดงานเนื่องจากกลัวโรคติดต่อ
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกค้า ช่วงที่มีการระบาดจะมีการซื้อหาอุปกรเกี่ยวกับการป้องกันโรคมากขึ้น ขณะที่สินค้าอย่างอื่นจะมีความต้องการลดลง จะมีการซื้อของในช่วงที่ลูกค้าน้อยเนื่องจากกลัวการติดต่อของโรค สินค้าที่มีการจัดส่งถึงบ้านจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น หรือการบริการแบบขับรถเข้าไปซื้อของเป็นต้น
- การขาดแคลนวัตถุดิบ น้ำ ไฟ สืบเนื่องจากการระบาดซึ่งผลกระทบต่อพนักงานซึ่งอาจจะทำให้สาธารณูปโภค เช่น น้ำ ไฟฟ้า ประปา การขนส่งมวลชน ขาดแคลน รวมทั้งวัตถุดิบสำหรับการผลิตต่างๆด้วย
ใครจะเป็นผู้วางแผนรับมือการระบาดของโรคระบาด
เนื่องการระบาดของโรคจะมีผลกระทบไปทั่วโลกดังนั้นทุกองค์กรในสังคมไม่จะรัฐบาล หน่วยงานของรัฐบาล ภาคธุรกิจ และครัวเรือนจะต้องร่วมกันวางแผนเพื่อลดผลกระทบต่อองค์กรและสังคม การวางแผนที่ดีจะป้องกันไม่ให้พนักงานติดเชื้อโรค ไม่ขาดแคลนวัตถุดิบ และปรับเปลี่ยนการบริการเพื่อสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค
วิธีการติดต่อของโรคระบาดและวิธีป้องกัน
การระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่จะเสมหะที่มีขนาดใหญ่ที่เรียกว่า droplet transmission ซึ่งเกิดจากการจามหรือไอ เนื่องจากเสมหะมีขนาดใหญ่จึงแพร่กระจายได้ไม่ไกลดังนั้นเชื้อจะไปติดต่อสู่อีกคนหนึ่งโดย
- ผู้ป่วยไอหรือจามใส่ที่ตา ปาก หรือจมูก เป็นวิธีที่ติดต่อได้บ่อยที่สุด วิธีป้องกันทำได้โดยการให้อยู่ห่างผู้ป่วยที่ไอหรือจามอย่างน้อย 6 ฟุต หรือการสวมหน้าการอนามัยทั้งผู้ป่วยและคนที่สัมผัส
- การที่คนสัมผัสเชื้อจากสิ่งแวดล้อม เช่น กลอนประตู ถ้วยน้ำ แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ แล้วเอามือมาเข้าปากหรือเช็ดตา วิธีป้องกันจะต้องล้างมือทั้งผู้ป่วยและคนใกล้ชิดบ่อยๆ หรืออย่างน้อยหลังไปสัมผัสกับสิ่งแวดล้อม และไม่ใช้ถ้วยชามร่วมกัน
- วิธีที่สามคือ คนเราได้เชื้อจากอากาศ ซึ่งเมื่อเสมหะระเหยไปจะทำให้เสมหะลอยไปในอากาศเมื่อคนปกติสูดดมเข้าไปก็จะมีโอกาสติดเชื้อ
การจัดระดับความเสี่ยงของการติดเชื้อของพนักงาน
ท่านที่เป็นผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการ ท่านต้องประเมินว่าพนักงานกลุ่มใดมีโอกาสที่จะเสี่ยงรับเชื้อโรคช่วงระบาดได้สูงกว่ากัน เพราะแผนกที่เสี่ยงต่อการได้รับเชื้อสูง ท่านต้องฝึกผนักงานของท่านในการป้องกันตนเองรวมทั้งการปรับโครงสร้างเพื่อป้องกันพนักงานของท่านและ ท่านจะต้องเตรียมคนสำรองไว้ หรืออาจจะฝึกพนักงานให้ทำหน้าที่ได้หลายตำแหน่งซึ่งจะแบ่งความเสี่ยงได้เป็น
จัดความเสี่ยงตามวิชาชีพ
แต่ละอาชีพจะมีความเสี่ยงต่อการติดต่อของโรคไม่เหมือนกัน บางอาชีพมีโอกาสติดต่อสูง บางอาชีพก็มีความเสี่ยงต่ำ บุคคลากรทางการแพทย์
- ความเสี่ยงระดับสูงมาก หมายถึงผู้ที่ทำงานในตำแหน่งซึ่งมีโอกาสจะได้รับเชื้อโรคมาก เช่น แพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ที่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วยที่สงสัยหรือเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ซึ่งต้องตรวจพิเศษ เช่นการส่องกล้อง หรือพ่นยา
- ความเสี่ยงระดับสูงมากหมายถึงถึงงานที่ต้องคลุกคลีกับผู้ป้วยที่เป็นหรือสงสัยว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่
- ความเสี่ยงปานกลาง หมายถึงทำงานที่ต้องอยู่ใกล้ชิดกับคนจำนวนมาก และมีโอกาสที่จะสัมผัสโรคกับคนที่ติดเชื้อได้ง่าย เช่น งานสาธารณะต่างๆ นักเรียน นักศึกษา พนักงานต้อนรับหรือพนักงานเก็บเงินเป็นต้น
- ความเสี่ยงระดับต่ำ โอกาสที่จะได้รับเชื้อต่ำ มักจะทำงานไม่ต้องติดต่อผู้คนมาก ในที่ทำงานก็มีจำนวนคนไม่มาก
ตามความเห็นของผู้เขียน นายจ้างหรือผู้บริหารควรจะจัดกลุ่มพนักงานที่มีโอกาสความเสี่ยงในการติดเชื้อว่าสูงต่ำมากน้อย และความสำคัญของงาน เพื่อที่จะได้วางแผนหาคนเมื่อเจ้าหน้าที่ป่วย หรือแผนกที่ไม่มีความสำคัญอาจจะให้หยุดงานขณะที่มีการระบาดการแบ่งความเสี่ยงคงใช้หลักการแบบเดียวกันคือ (ตามความเห็นของผู้เขียน)
- ความเสี่ยงสูงมาก หมายถึงพนักงานที่ต้องทำงานใกล้ชิดกับผู้มาติดต่อเป็นจำนวนมาก เช่นพนักงานเก็บเงิน พนักงานต้อนรับ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
- ความเสี่ยงสูง หมายถึงพนักงานที่ทำงานอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่และมีการพลัดเวร เช่นตามโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
- ความเสี่ยงปานกลาง หมายถึงพนักงานที่ทำงานเป็นกลุ่มไม่ใหญ่มาก และไม่มีการพลัดเวร
- ความเสี่ยงต่ำ หมายพนักงานที่ทำเป็นส่วนตัวไม่ต้องติดต่อกับคนอื่น
เมื่อท่านได้จัดความเสี่ยงของการระบาดของโรคติดต่อที่จะเกิดกับพนักงานแล้ว ท่านต้องวางแผนว่าทำอย่างไรถึงจะลดโอกาสในการระบาดของโรคติดต่อ และหากเกิดขึ้นท่านจะแก้ไขปัญหาอย่างไรบ้าง
การวางแผนเพื่อลดผลกระทบจากการระบาดของโรคติดต่อ
- ติดตามข่าวสารจากทางการเพื่อที่จะได้ทราบความรุนแรงของการระบาด วิธีป้องกัน และร่วมมือกับทางการในการป้องกันการระบาด
- เตรียมแผนการป้องกันการระบาดในหน่วยงาน
- ประสานงานกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีวัตถุดิบสำหรับการผลิต และมีสินค้าที่จะจำหน่าย
- ให้พนักงานที่มีอาการป่วยเหมือนไข้หวัดหยุดงานโดยไม่มีการลงโทษหรือตัดเงินเดือน เพื่อไม่ให้เกิดการติดต่อในที่ทำงาน และอนุญาติให้พนักงานลาไปดูแลสมาชิกในครอบครัวหากมีสมาชิกในครอบครัวเจ็บป่วย
- ประเมินว่าผนักงานแต่ละแผนกมีความเสี่ยงในการสัมผัสผู้ป่วยได้มากน้อยแค่ไหน แผนกที่ต้องเจอผู้คนมากก็มีโอกาสที่จะติดโรคสูง จะต้องหามาตรการเพื่อป้องกันการติดต่อ
- หาทางลดการติดต่อโดยการลดการติดต่อโดยตรงกับเพื่อนร่วมงานหรือคนมาติดต่อ โดยบางแผนกอาจจะทำงานที่บ้านหรือติดต่อทางเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ หรือการนัดเหลื่อมเวลาเป็นต้น
- บริษัทต้องวางแผนว่าแต่ละแผนกที่สำคัญจะต้องมีคนสำหรับทำงานอย่างน้อยกี่คน และจะต้องฝึกพนักงานให้สามารถทำหน้าที่ทดแทนกันได้ ในกรณีที่มีคนป่วยเพราะขาดงาน
- บริษัทจะต้องวางแผนลดการบริการที่ไม่จำเป็นลงบ้าง และพร้อมที่จะเปิดบริการเหมือนเดิมหากสามารถควบคุมโรคระบาดได้
- แม้ว่าบริษัทจะป้องกันพนักงานได้ดีเพียงใด แต่อย่าลืมที่จะประเมินความเสี่ยงของพนักงานแต่ละคน เพราะแต่ละคนจะมีความเสี่ยงจากที่บ้านหรือการเดินทาง หากผู้ที่เสี่ยงสูงจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่าจะเกิดโรคหรือเปล่า
- จะต้องจัดหากระดาษเช็ดมือ alcohl เหลวสำหรับล้างมือ สบู่ล้างมือหน้ากากอนามัย ถุงมือ และมีนโยบายที่จะให้เจ้าหน้าที่เป็นหวัดสวมหน้ากากอนามัย
- บริษัทจะต้องมีนโยบายที่ชัดเจนที่จะลดการติดต่อประจันหน้าระหว่างพนักงานด้วยกัน หรือระหว่างพนักงานและลูกค้า เช่นการใช้โทรสาร e mail หรือการประชุม tele-conference
- ปรึกษากับพนักงาน สหภาพ ในเรื่องการรับส่ง สถานดูแลเด็กเล็ก สำหรับพนักงานและครอบครัว
- จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อไว้เป็นที่ติดต่อสื่อสารของพนักงาน และลูกค้า
- จัดหา สบู่ หรือแอลกอฮอลล์เหลว กระดาษสำหรับพนักงานและลูกค้า และตำแหน่งที่วางต้องหยิบใช้ง่าย
- จัดการอบรม หรือฝึกเกี่ยวกับการทำงานที่สำคัญในแผนกต่างๆ การป้องกันตัวเอง สุขอนามัยส่วนบุคคล การสวมหน้ากากอนามัย และมีเอกสารเผยแพร่
บทบาทขององค์กรในการควบคุมโรคติดต่อ
ในการควบคุมโรคติดต่อนอกจากจะเน้นเรื่องการล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัย social distance (การลดการติดต่อ การประชุม ระยะเวลาที่ติดต่อ ) ยังมีมาตราการในการควบคุมโรคติดต่อโดยมีหลักการใหญ่ๆดังนี้
- Work Practice and Engineering Controls
- Administrative Controls
- Personal Protective Equipment (PPE)
หน้ากากอนามัยชนิดต่าง
Work Practice and Engineering Controls
เมื่อสมัยก่อนก่อนป้องกันโรคติดต่อทำได้โดยการสวมหน้ากากอนามัย หรือการใส่แว่นตา หมวก หรือชุด แสดงว่าการการที่คนติดต่อกันน้อยจะทำให้การแพร่ของโรคระบาดลดลง ดังนั้นสถานที่ทำงานต่างๆหากแยกคนให้พบปะกันน้อยลงซึ่งมีวิธีการทำได้สองวิธีคือ
- Work Practice จะเรียกว่าแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อลดการติดต่อของโรคก็ได้ ซึ่งทำได้โดยให้พนักงานให้ความเห็นว่า งานที่ทำอยู่สามารถที่จะพัฒนาเพื่อให้คนติดต่อกันน้อย ระยะเวลาที่ติดต่อให้น้อยที่สุด ไม่ใกล้ชิดเกินไป เมื่อได้แนวทางการปฏิบัติแล้วก็นำแนวทางนั้นประกาศแจ้งผู้เกี่ยวข้องทราบ และปฏิบัติ ตัวอย่างแนวทางได้แก่
- การเหลื่อมเวลารับประทานอาหาร ให้พนักงานรับประทานอาหารไม่พร้อมกัน
- การติดต่อสื่อสารในองค์กรใช้โทรศัพท์ หรือ fax หรือ e mail
- ลดการประชุมเรื่องที่ไม่จำเป็น
- การกำหนดให้ล้างมือก่อนเข้าสถานที่ทำงาน และออกจากสถานที่ทำงาน
- การหยุดงานเมื่อมีอาการของไข้หวัด
- การให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับโรคติดต่อ
- Engineering Controls หากใช้ Work Practice แล้วพบว่าไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ก็จะต้องมีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เจ้าหน้าที่มีโอกาสรับเชื้อน้อยที่สุด วิธีการนี้ได้ผลดี แต่เมื่อทำจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหน่วยงาน ตัวอย่าง
- ติดตั้งกระจกสำหรับกันเสมหะที่เกิดจากการจามหรือไอ เหมือนที่ใช้ตามธนาคาร ซึ่งเหมาะสำหรับพนักงานที่ต้องติดต่อคนมาก
- มีการปรับระบบการจราจรในหน่วยงาน เพื่อที่จะการติดต่อของพนักงานหรือลูกค้าไม่รบกวนหน่วยงานอื่น เช่นการย้ายแผนกที่มีคนติดต่อมากไว้ที่ส่วนที่หน้าสุดเป็นต้น
- จัดทำท่อลมหรือลิฟท์ในการส่งเอกสาร
- จัดห้องประชุมให้มีความห่างระหว่างเก้าอี้เพิ่มขึ้น
- ประชุมแบบ teleconfence
- การติดตั้งกระจกสำหรับกันเสมหะในห้องอาหาร
- การติดตั้งอ่างล้างมือ หรือจุดติดตั้งแอลกอฮอล์เหลว
- Administrative Controls หมายถึงการกำหนดนโยบายเพื่อให้เจ้าหน้าที่มีโอกาสติดเชื้อน้อยลง ตัวอย่างการกำหนดนโยบายเช่น
- การให้เจ้าหน้าที่ที่ป่วยลาโดยไม่ถือเป็นวันหยุด หรืออนุญาติให้พนักงานไปเฝ้าญาตที่ป่วยได้
- ลดการท่องเที่ยวหรือการสัมนา โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการระบาด
- ลดการประชุมที่ไม่จำเป็นลง
- จัดระบบสื่อสารใหม่โดยลดการติดต่อระหว่างบุคคล
- การจัดส่งสินค้าหรือวัตถุดิบถึงบ้านเพื่อมิให้ลูกค้ามาที่บริษัท
- จัดตั้งสื่อสำหรับการสื่อสารในองค์กร
การสวมอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง
สรุป
สิ่งที่บริษัทต้องทำเพื่อลดโรคติดต่อในองค์กร
- อนุญาติให้คนที่ป่วยลาหยุดพักอยู่ที่บ้าน
- กระตุ้นให้พนักงานมีการล้างมือบ่อยๆ หรือทุกครั้งที่สัมผัสของที่ใช้ร่วมกัน เช่น โทรศัพท์ แป้นพิมพ์
- แนะนำให้อย่าเอามือมาแตะบริเวณใบหน้า หรือจมูก
- กระตุ้นให้เจ้าหน้าที่เอาผ้าเช็ดหน้า หรือ tissue ปิดปากเวลาไอหรือจาม
- ให้เจ้าหน้าที่อยู่ห่างกันประมาณ 6 ฟุตไม่ว่ากับพนักงานด้วยกันหรือกับลูกค้า และหลีกเลี่ยงการสัมผัสมือกัน และให้ล้างมือหลังการสัมผัสมือ
- จัดหาอ่างล้างมือ แลกอฮอลล์เหลว และกระดาษสำหรับเจ้าหน้าที่
- ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ต้องจับบ่อยเช่น ลูกบิดประตู ราวบันได แป้นพิมพ์ โทรศัพท์
- ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกัน เช่น โทรศัพท์ ถ้วย ชาม ช้อน เป็นต้น
- จัดระบบสื่อสารในองค์กรเพื่อลดการติดต่อใกล้ชิด เช่น การใช้ e mail
- ลดการประชุมที่ไม่จำเป็นลง หากจำเป็นต้องประชุมก็ใช้เวลาให้น้อยที่สุด และอยู่ห่างกันเกิน 6 ฟุต
- จำกัดคนเข้าออกหน่วยงานเพื่อลดการติดต่อ
- ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ดูแลสุขภาพที่ดี เช่น การออกกำลังกาย อาหารที่ดี พักผ่อนอย่างเพียงพอ งดบุหรี่