หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
หลายปีที่ผ่านมาความรู้เรื่องความผิดปกติของแร่ธาตุในผู้ป่วยโรคไต และการรักษาด้วยวิธีเก่าๆด้วยวิธีการให้แคลเซี่ยม ให้ยาที่ไปลดฟอสฟอร์รัส การให้วิตามิดี อาจจะทำให้เกิดภาวะแคลเซี่ยมในเลือดสูง ฟอสเฟตในเลือดสูง ทำให้เกิดโรคกระดูก และเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีแคลเซี่ยมไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น
กลไกที่ทำให้เกิดฟอสเฟตในเลือดสูงได้แก่
เป้าหมายในการควบคุมระดับแคลเซี่ยม และฟอสฟอร์รัสในเลือด
โรคกระดูกเป็นโรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 4-5 ซึ่งสาเหตุที่เกิดเพราะจากการที่ไตเสื่อมทำให้ไตสร้างวิตามิน ดี ลดลง ทำให้แคลเซี่ยมในเลือดลดลงและมี phosphate ในเลือดสูง ปกติกระดูกของคนจะมีทั้งสร้างและการละลายในเด็กจะมีการสร้างมากกว่าการละลาย ผู้ป่วยโรคไตจะมีปัญเรื่องโรคกระดูได้บ่อยสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระดูกได้แก่
ไตเป็นอวัยวะที่สร้างวิตามินดี เมื่อไตเสื่อมจะทำให้มีการสร้างวิตามินดีน้อยซึ่งจะทำใหการดูดซึมแคลเซี่ยมจากอาหารลดลง ผลแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ
แคลเซี่ยมในเลือดต่ำเป็นผลมาจากการที่ผู้ป่วยโรคไตสร้างวิตามินดีลดลง เมื่อแคลเซี่ยมในเลือดต่ำจะไปกระตุ้นต่อมพาราไทรอยด์ให้สร้างฮอร์โมนเพิ่มขึ้น ฮอร์โมนพาราไทรอยด์จะทำให้มีการละลายกระดูกเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มแคลเซี่ยมในเลือด และมีฟอสเฟตในเลือดสูงขึ้น
การที่มีฟอสเฟตในเลือดสูงเนื่องจากไตเสื่อมจะทำให้อัตราการกรองของฟอสเฟตลดลงร่างกาย จึงขับฟอสเฟตได้น้อยลง นอกจากนั้นไตวายยังทำให้สร้างวิตามินดีได้น้อยลงเป็นเหตุให้มีการสร้าง PTH เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีฟอสเฟตในเลือดสูงขึ้นฟอสเฟตที่สูงจะกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนพาราไทรอยด์
ฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงเนื่องจาก
ผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เกิดโรคกระดูก
แพทย์จะเจาะเลือดตรวจหาระดับแคลเซี่ยม ฟอสเฟต ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในเลือด บางรายอาจจะตรวจหาวิตามินดี และอาจจะต้องเจาะชิ้นกระดูกเพื่อส่องกล้องตรวจ
การรักษา อ่านเรื่องการรักษาไตวาย
การรบกวนของการเผาผลาญแคลเซียมและฟอสเฟตเกิดขึ้นใน CKD มักจะเกิดในผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 4-5 (เช่น ปกติ CKD ระยะ G4 และ G5) คำที่ใช้เรียกความผิดปกติเหล่านี้คือ CKD-Mineral Bone Disorder (CKD-MBD) CKD-MBD ควรถูกมองว่าเป็นโรคทางระบบซึ่งมีการเชื่อมโยงอย่างมากกับโรคหลอดเลือดหัวใจและการตาย ตัวขับเคลื่อนหลักของ CKD-MBD คือการเก็บฟอสเฟต (เนื่องจากการขับของไตลดลง) การเผาผลาญวิตามินดีที่ไม่เป็นระเบียบและภาวะพาราไทรอยด์ทำงานเกินที่ตามมา
คำแนะนำโดยละเอียดเกี่ยวกับการจัดการ CKD-MBD อยู่นอกเหนือขอบเขตของแนวทางนี้ ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถพบได้ในแนวทาง CKD-MBD ของสมาคมไต
ตัวเลือกการรักษาที่ใช้บ่อยสำหรับผู้ป่วยเหล่านี้ ได้แก่
เป้าหมายของการรักษาในแง่ของความเข้มข้นของแคลเซียม ฟอสเฟต และ PTH เป้าหมาย แตกต่างกันไปตามระยะ CKD หน่วยไตจำนวนมากมีโปรโตคอลท้องถิ่นสำหรับการจัดการ CKD-MBD
ข้อมูลสำหรับผู้ป่วย
โรคไตเรื้อรังส่งผลต่อความสามารถของร่างกายในการจัดการกับแคลเซียมและฟอสเฟต ในทางกลับกัน อาจทำให้เกิดปัญหากับหัวใจ หลอดเลือด และกระดูกได้ มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไปซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละผู้ป่วย ทางเลือกในการรักษาได้แก่ คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนอาหาร การกินยาเม็ดต่างๆ และการผ่าตัดในบางกรณี
แหล่งอ้างอิง
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว