การตรวจเลือด Clotting time


การตรวจเลือด Clotting time เป็นการตรวจหาระยะเวลาตั้งแต่เจาะเลือดออกมาจนกระทั่งเลือดแข็งตัวเป็นลิ่มเลือด ส่วนประกอบของเลือด

ประมาณร้อยละ 60 ของเลือดของคนเราประกอบไปด้วน น้ำเหลือง (plasma) ซึ่งประกอบไปด้วยฮอร์โมน ภูมิคุ้มกัน เอนไซม์ น้ำตาล โปรตีน ไขมัน น้ำ ส่วนร้อยละ 40 ที่เหลือประกอบไปด้วย เม็ดเลือดซึ่งได้แก่

ลิ่มเลือดเกิดขึ้นได้อย่างไร

เมื่อเกิดแผลและมีเลือดออก หลอดเลือดจะตอบสนองโดยการหดตัวทำให้เลือดออกน้อยลง เมื่อเลือดสัมผัสกับเนื้อเยื่อซึ่งจะมี tissue factor จะกระตุ้นทำให้เกล็ดเลือดมาเกาะกลุ่ม และหลั่งสารเคมีอีกหลายชนิดทำให้เกล็ดเลือดมายังบริเวณนี้มากขึ้น และเกิดการแข็งตัวเกิดลิ่มเลือด แต่ลิ่มเลือดที่เกิดยังไม่แข็งแรง จะกระตุ้น Thrombin ทำให้เปลี่ยน Fibrinogen เป็น Fibrin ซึ่งจะทำให้ลิ่มเลือดแข็งแรง และมีขบวนการละลายลิ่มเลือดเพื่อเกิดความสมดุลระหว่าการแข็งตัวของเลือดและการละลายลิ่มเลือด

วิธีการตรวจ

กรรมวิธีในการทดสอบ ก็กระทำคล้ายคลึงกับการใช้เลือดทั่วไป ด้วยการดูดจากหลอดเลือดดำ (เหมือนการตรวจผลเลือดอย่างอื่น) โดยนำเลือดใส่ลงในหลอดเอดที่หล่อน้ำไว้ด้วยอุณหภูมิเท่าอุณหภูมิร่างกาย คือ 98.6 องศาฟาเรนไฮต์ (37 องศาเซนติเกรด) ก่อนที่จะรีบนำส่งห้องปฏิบัติการ

เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ (laboratory) จะเอียงคว่ำหลอดเลือดกลับไปกลับมาทุก ๆ 30 วินาที จนกว่าเลือดจะหมดสภาพจากการเป็นของเหลว ทั้งนี้ โดยการเริ่มต้นจับเวลาจนกว่าเลือดจะแข็งตัว และจะจับเวลาอีกครั้ง นับตั้งแต่เลือดแข็งตัวไปจนกว่าจะยุบตัวลงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ (เห็นได้จากข้างหลอดแก้ว)

ค่าปกติของ Clotting Time

5 – 8 min

ความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้แก่

ภาวะที่มีเลือดออกง่าย

  • เกล็ดเลือดต่ำ
  • โรคฮีโมฟีเลีย(โรคทางพันธุกรรม)ที่มีปัญหาเลือดออกง่าย
  • ขาดวิตามินเค
  • โรคตับ

ภาวะที่เลือดแข็งตัวง่าย

  • ลิ่มเลือดที่ขาหรือที่เรียกว่าโรคชั้นประหยัด
  • โรคทางพันธุกรรมที่เลือดแข็งตัวง่าย
  • ยาบางชนิดที่ทำให้เลือดแข็งตัวง่าย
  • โรคตับบางชนิดที่ทำให้ขบวนการละลายลิ่มเลือดเสียไป

แพทย์จะสั่งตรวจเมื่อไร

  • เมื่อมีอาการเลือดไหลหยุดยาก หรือมีจ้ำเขียว
  • เป็นโรคตับ
  • ตรวจก่อนผ่าตัดเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อเลือดออกง่าย
  • มีภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือด
  • รับประทานยาละลายลิ่มเลือด

การตรวจอื่นที่มักจะตรวจร่วมกัน

เพิ่มเพื่อน