การนับเกล็ดเลือด Platelet count
เกล็ดเลือด Platelet หรือ thrombocyte มีต้นกำเนิดมาจากไขกระดูกเช่นเดียวกับเซลล์เม็ดเลือดชนิดอื่น ขณะเมื่อยังเป็นวัยรุ่นจะถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า megakaryocyte ซึ่งควรอยู่แต่ในไขกระดูก เกล็ดเลือดเมื่อโตเต็มที่และออกมาสู่หลอดเลือดแล้ว จะมีรูปร่างเป็นแผ่นกลมหรือรี มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-4 ไมครอนมีขนาดประมาณร้อยละ 20ของขนาดเม็ดเลือดแดง (แต่ขนาดเม็ดเลือดแดงประมาณ 6.7 ไมครอน) นับว่ามีขนาดประมาณครึ่งของเม็ดเลือดแดงเท่านั้น เกล็ดเลือดจะไหลวนเวียนในกระแสเลือด โดยมีอายุขัยประมาณ 9-11 วัน ภายหลังจากนั้นกล็ดเลือดรุ่นเก่าก็จะถูกทำลายส่วนใหญ่โดยม้ามและส่วนน้อยโดยตับ ในการตรวจเกล็ดเลือดจะต้องตรวจ ขนาด รูปร่าง ปริมาณ และการเกาะตัวของเกล็ดเลือด
ค่าปกติของเกล็ดเลือด
- 100,000- 400,000/ต่อเลือด 1 mm3
- เกล็ดเลือดโดยทั่วไปจะมีอายุขัยในเลือดประมาณ 10 วัน
- ค่าผิดปกติที่ถือว่าวิกฤติ < 50,000/ หรือ > 1 ล้าน/
หน้าที่ของเกล็ดเลือด
- เมื่อเกิดบาดแผล จะช่วยให้เลือดที่ไหลออกมาเกิดการแข็งตัว อันเป็นการห้ามเลือดมิให้ไหลพ้นออกนอกร่างกายมากเกินไป
- มีหน้าที่กลืนกินสิ่งแปลกปลอม เช่น ไวรัสบางชนิด
- มีหน้าที่เก็บสะสมสารชีวเคมีบางอย่าง เช่น ฮอร์โมน epinephrine, serotonin และเอนไซม์บางชนิด
ค่าผิดปกติ
เกล็ดเลือดต่ำ thrombocytopenia ย่อมทำให้เมื่อเกิดบาดแผล เลือดอาจจะหยุดช้ากว่าปกติสาเหตุ
- อาจเกิดสภาวะม้ามโตกว่าปกติHypersplenism จึงดักจับเก็บทำลายเกล็ดเลือดมากผิดปกติ
- อาจเกิดการเสียเลือด ณ จุดหนึ่งจุดใดของร่างกาย
- อาจมีการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีเคโม หรือวิธีเคมีบำบัด (cancer chemotherapy) ย่อมมีผลเสียหายทำลายต่อไขกระดูก ซึ่งมีบทบาทในการผลิตเกล็ดเลือด
- ยาบางชนิดทำให้เกล็ดเลือดต่ำ
- ภาวะ Disseminated intravascular coagulation (DIC)
- เม็ดเลือดแดงแตกก่อนวัย Hemolytic anemia
- Idiopathic thrombocytopenic purpura (ITP)
- มะเร็งเม็ดเลือด Leukemia
- การให้เลือดมาก Massive blood transfusion
- ผู้ที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม Prosthetic heart valve
- Thombotic thrombocytopenic purpura (TTP)
- Celiac disease
- ขาดวิตามินเค Vitamin K deficiency
เกล็ดเลือดสูง
- อาจเกิดโรคมะเร็งเกี่ยวกับไขกระดูก เช่น leukemia, lymphoma
- อาจเกิดโรคภาวะเม็ดเลือดแดงมาก ทำให้เกล็ดเลือดต้องพลอยมากไปด้วย
- อาจขาดธาตุเหล็ก ทำให้ไขกระดูกต้องเร่งผลิตเม็ดเลือดแดง เพื่อให้การจับออกซิเจนของเลือด มีความเพียงพอ แม้เกล็ดเลือดจะมิได้ใช้เหล็กเป็นองค์ประกอบสำคัญ แต่เกล็ดเลือดก็ต้องพลอยถูกผลิตออกมาตามเม็ดเลือดแดงไปด้วย
- โลหิตจาง
- โรคมะเร็งเม็ดเลือดChronic myelogenous leukemia (CML)
- โรค Polycythemia vera
- Primary thrombocythemia
- Recent spleen removal
กลไกการห้ามเลือดของเกล็ดเลือด
ในภาวะปกติ เกล็ดเลือดจะไม่เกาะกับผนังหลอดเลือดหรือเกาะกันเอง แต่เมื่อมีการฉีกขาดของหลอดเลือด บริเวณนั้นจะไม่มีเซลล์เอนโดทีเลียมที่จะยับยั้งกระบวนการสร้างลิ่มเลือด รวมทั้งเกิด exposure ของ subendothelial layer กับเลือด ทําให้เกล็ดเลือดเริ่มเข้ามายึดเกาะบริเวณดังกล่าว นําไปสู่การกระตุ้นและการเกาะกลุ่ม ของเกล็ดเลือดเป็น platelet plug ทําหน้าที่อุดบริเวณที่มีการฉีกขาด ทําให้เกิดการห้ามเลือดขึ้นในระยะแรก โดยกลไก การเกิด platelet plug สามารถแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน
- Platelet adhesion เป็นขั้นตอนที่เกล็ดเลือดจะเข้ามายึดเกาะกับชั้นผนังหลอดเลือด subendothelial ของหลอดเลือดที่จะถูก เปิดเผยขึ้นมาสัมผัสกับเลือดเมื่อมีการฉีกขาด เพื่อทําหน้าที่ในการห้ามเลือด ขั้นตอนนี้จะเกิดขึ้นในระยะแรกและมีสําคัญ มากสําหรับการทําหน้าที่ห้ามเลือดของเกล็ดเลือดโดยเฉพาะในหลอดเลือดแดง ซึ่งมีการไหลของเลือดสูง โดย platelet adhesion จะเกิดข้ึนผ่านทางปฏิกริยาเคมีทำให้มีการยึดเกาะของโปรตีน คอลลาเจน และเกล็ดเลือดกับผนังหลอดเลือดที่ฉีกขาด
- Platelet activation เป็นขั้นตอนที่เกล็ดเลือดปกติจะถูกกระตุ้นทำให้อยู่ในรูปที่ ทําหน้าที่ในการห้ามเลือดโดย เกิดการเปลี่ยนรูปร่างของเกล็ดเลือดจากปกติที่มีรูปจานกลมไปเป็นเซลล์ที่มีหนวดยื่น projection ยื่นออกไปที่ เรียกว่า pseudopod ทําให้พื้นที่ผิวของเกล็ดเลือดเพิ่มขึ้น การเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดจึงดีขึ้น นอกจากนั้นยังมีการหลั่งของสารเคมี และกระบวนการสังเคราะห์สารห้ามเลือด
- Platelet aggregation เป็นกระบวนการที่เกล็ดเลือดเกาะกลุ่ม platelet plug มาอุดบริเวณที่มีการฉีกขาดของหลอดเลือดซึ่งเป็นหน้าที่ของเกล็ดเลือดในการห้ามเลือด primary hemostasis ที่จะเกิดขึ้นภายในเวลาเป็นวินาทีเมื่อมีการเสียหายของหลอดเลือด กระบวนการนี้มีความสําคัญในการห้าม เลือดโดยเฉพาะในหลอดเลือดขนาดเล็ก เช่น capillary, small arteriole และ venule
กระบวนดังกล่าวจะได้ผลในกรณีที่เกิดกับหลอดเลือดเล็กหรือแผลเล็ก แต่หากหลอดเลือดใหญ่ หรือแผลขนาดใหญ่จะต้องมีกระบวนการห้ามเลือดอื่นร่วมด้วย
Hemoglobin | Hematocrit | Red blood cell | Inclusion body | เม็ดเลือดแดง | Reticulocyte count | MCV | MCHC | MCH | ลักษณะเม็ดเลือดแดง | เกล็ดเลือด | เม็ดเลือดขาว | Neutrophil | Lymphocyte | Eosinophil | Monocyte | Basophil | Rh | กรุปเลือด