5วิธีการรักษาสิว
หลักการรักษาสิวต้องรักษาที่ต้นเหตุ การรักษาประกอบไปด้วย การรักษาทั่วไป การใช้ยาทา การใช้ยาทาปฏิชีวนะ ยารับประทานรักษาสิว และการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา หากไม่รักสิวอาจจะกลายเป็นสิวอักเสบและเกิดแผลเป็น
การรักษาสิว
การรักษาทั่วไป | ยาทารักษาสิว | ยาทาปฏิชีวนะ | ยารับประทานรักษาสิว | การรักษาสิวโดยไม่ใช้ยา |
หลักการรักษาสิว
การรักษาสิวจะต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดสิว และจะต้องแยกชนิดของสิว ระดับความรุนแรงของสิว และการใช้ยาอย่างถูกต้อง
ยารักษาสิวจะออฤทธิ์โดย
- ลดการอุดตันของต่อขุมขนเช่นยา tretinoin
- ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
- ลดการสร้างไขมัน
- ลดผลกระทบจากฮอร์โมน
- รักษาสิวอุดตัน ด้วยตนเองวิธีแรก คือ อย่าปล่อยให้ผิวหน้าสกปรกเป็นเวลานานๆ
- เลี่ยงการเช็ดหน้าหรือนวดหน้าแรงจนเกินไป
- อย่าใช้ผ้าเช็ดหน้ากดทับบริเวณที่สิวอักเสบ
- ล้างหน้าวันละ 2 ครั้งตามปกติ และใช้ผ้าซับเบาๆไม่จำเป็นต้องล้างบ่อยจนเกินไป เพราะสิวไม่ได้เกิดจากความสกปรก แต่สำหรับในคนที่หน้ามันมาก อาจล้างเพิ่มระหว่างวันด้วยน้ำเปล่า ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดการเสียสมดุลของค่า pH บนผิวหน้า ยกเว้น ช่วงที่เสร็จจากการออกกำลังกาย หรือช่วงที่คิดว่าหน้าเราสกปรกมากจริงๆ
- เวลาล้างหน้าไม่ควรถูใบหน้าแรงๆ เพราะอาจทำให้สิวเกิดการอักเสบได้
- หลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้หน้าชื้นเช่น sauna การทำงานในครัว และสถานที่ที่มีมลพิษมากๆ
- งดใช้เครื่องสำอางที่ทำให้เกิดสิว เครื่องสำอางที่เพิ่มความมัน หรือเลือกเครื่องสำอางที่ถูกกับผิวหน้า
- งดยาหรือครีมทาก่อนนอน
- ห้ามบีบหรือแกะสิวโดยเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้สิวลุกลาม
- อาหารสามารถรับประทานได้แต่ก็ควรจะหลีกเลี่ยงอาหารที่มัน และหวานและก็อย่ารับมากจนอ้วน
- การเลือกยาทาสิวขึ้นกับชนิดของสิวซึ่งควรจะปรึกษาแพทย์
- หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดด
- ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าควรเป็นสบู่เหลวอ่อนๆ หรือคลีนเซอร์สูตรอ่อนโยน และสครับหน้าเบาๆ
- ถ้าหากใช้รองพื้นหรือใช้เครื่องสำอาง ควรล้างเครื่องสำอางด้วย Cleansing Remover และล้างหน้าให้สะอาดก่อนนอน
- ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่มีสามารถขจัดแบคทีเรีย อันเป็นสาเหตุของการเกิดสิว หรือที่มีส่วนผสม ของสารสกัดจากพืชธรรมชาติ ที่เหมาะกับสภาพผิว
- ระหว่างเป็นสิว ควรงดใช้ผลิตภัณฑ์ใส่ผม หรือเครื่องสำอางที่มีความเหนียวเหนอะหนะ เพราะอาจมีตกค้างอยู่แถวๆไรผมได้ ซึ่งอาจทำให้เป็นสิวได้
- ควรใช้มอยซ์เจอไรเซอร์ชนิดออยล์ฟรีทาบนใบหน้า
- หากเราเส้นผมมัน ก็ควรสระผมให้สะอาด เพราะสิวอุดตันอาจเกิดขึ้นได้ตามบริเวณไรผม
- หลีกเลี่ยงเครื่องสำอางที่แรงเกินไปหรือมีส่วนผสมของน้ำหอม น้ำมัน หรือฮอร์โมน โดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าที่ระบุว่า ไม่เป็นตัวก่อสิว "Non-comedo genic" คือไม่ก่อให้เกิดสิวอุดตัน
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีใดๆก่อนเข้านอน
- หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มกับปลอกหมอนหรือที่นอน
- พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ หากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ระบบฮอร์โมนทำงานไม่สมดุล และมีปริมาณสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น
- พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด เพราะการเครียดมากๆจะทำให้ต่อมไขมันทำงานหนัก อาจลดความเครียด ด้วยการนั่งสมาธิ หรือ การฝึกการหายใจ สร้างอารมณ์ขำขัน ทำให้เรามีความสุข ปราศจากความเครียด ซึ่งความเครียดเป็นสาเหตุของสิว
- หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
- ดื่มน้ำให้มากๆในแต่ละวัน เพราะน้ำจะช่วยล้างสารพิษในร่างกาย
- อบไอน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อเปิดรูขุมขนให้ไอน้ำเข้าไปทำความสะอาด
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าให้น้อยที่สุด เพราะฝ่ามือมีทั้งความสกปรก และแบคทีเรีย ซึ่งเป็นตัวก่อให้เกิดสิว
- ควรใช้หลังฝ่ามือลูบแทน เพราะหลังฝ่ามือเป็นบริเวณที่เราไม่ยุ่งเกี่ยวมากที่สุด จึงเป็นบริเวณที่ค่อนข้างสะอาด แต่เราควรล้างมือให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอ
- ห้ามบีบหรือกดสิวด้วยตัวเอง เพราะหากทำผิดวิธีมักจะก่อให้เกิดแผลและหลุมสิวได้ ซึ่งการบีบจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของสิว และยังเป็นสาเหตุหลักของการเกิดสิวอักเสบด้วย
- หากหน้าเรามันมากๆ ควรใช้กระดาษซับหน้ามัน ซึ่งเป็นวิธีช่วยลดความมันบนใบหน้า แต่ก็ไม่ซับทั้งวันจะดูไม่ดีและเสียนิสัย
- ควรงดรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง (หรือรับประทานแต่แต่พอดี) เพราะเป็นสาเหตุอีกประการของการเกิดสิว
- เลือกรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลหรือแป้งต่ำ โปรตีนต่ำหลีกเลี่ยงโปรตีน leucine หลีกเลี่ยงผลิภัณฑ์ที่ทำจากน้ำนม รับประทานผักผลไม้เป็นประจำ การที่เรากินอาหารจำพวกผัก จะทำให้เราสามารถล้างพิษออกจากร่างกายได้ และยังมีวิตามินต่างๆ ซึ่งยังช่วยทำให้เราร่างกายแข็งแรงอีกด้วย ลดไขมันไปในตัว
- หยุดสูบบุหรี่
- เลือกใช้กันแดดที่ค่า SPF 15 เพื่อป้องกันความมันของเนื้อครีม
- ใช้ผลิตภัณฑ์มาส์กหน้าที่มีส่วนผสมจากสารสกัดธรรมชาติที่ช่วยผลัดเซลล์ผิว และบำรุงผิวอาทิตย์ละครั้ง
- หากใช้วิธีต่างๆ ไม่ได้ผล ให้ปรึกษาแพทย์ผิวหนังจะดีที่สุด เนื่องจากสิวอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือ ฮอร์โมน ซึ่งการปรึกษาแพทย์จึงเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ควรทำ ซึ่งปัจจุบัน ยังมีคลินิกรักษาหน้าเปิดอยู่ทั่วไป
- ใช้เปลือกส้มหรือเปลือกมะนาวที่สับละเอียด ผสมโยเกิร์ต แล้วนำไปพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วล้างออก จะสามารถช่วยกำจัดสิวอุดตันออกไปจากใบหน้าได้
- ใช้น้ำผึ้งพอกหน้าสัปดาห์ละ 4 ครั้ง ก่อนพอกควรล้างมือให้สะอาด ขณะที่พอกให้ใช้มือนวดหน้าวนไปเรื่อยๆสัก 3 นาที ก็สามารถช่วยเรื่องสิวอุดตันได้อีกทางหนึ่ง
การรักษาสิว
การรักษาสิวขึ้นกับชนิดของสิว และความรุนแรงของสิว การเลือกใช้ยาก็เช่นเดียวกัน การรักษาสิวจะต้องใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 6 สัปดาห์จึงจะบอกว่าไม่ได้ผล
ยาทารักษาสิวจะทาบริเวณที่เกิดสิว มิใช่ทาเฉพาะหัวสิว หากเป็นบริเวณกว่างก็อาจจะจำเป็นต้องใช้ยารับประทานร่วมด้วยแบ่งออกเป็น 3 ชนิดได้แก่
- Salicylic acid 10% ออกฤทธิ์เหมือน retinoids.
- Azelaic acid มีการระคายเคืองน้อย แต่อาจจะทำให้เกิดผิวสีเปลี่ยนบริเวณที่ทา
- สำหรับผู้ที่เป็นสิวมีหนองเล็กน้อยอาจจะใช้ยา benzoyl peroxide ซึ่งจะลดการสร้างไขมัน และยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย P. acnes:
- ยานี้จะมีการระคายเคือง และจะทำให้ผิวลอกใน3-4 วัน
- เวลาเริ่มจะใช้ความเข้มข้น 5% และค่อยเพิ่มความถี่ หรือความเข้มข้น
- ยานี้จะทำให้เกิดอาการแสบร้อนหลังจากทา
- ยา Benzoyl peroxideอาจจะผสมร่วมกับยา clindamycin หรือ erythromycin
- ยาทาปฏิชีวนะ:
- ได้แก่ erythromycin, clindamycin และ tetracycline
- ใช้ยาเป็นเวลานานอาจจะเกิดเชื้อดื้อยาจึงต้องผสมกับยา benzoyl peroxide เพื่อลดอาการดื้อยา
- ยาทา retinoids:
- ได้แก่ยา isotretinoin, tretinoin or adapalene จะลดการเกิดสิว และลดการเกิดอักเสบ
- ระหว่างการใช้ยานี้ห้ามออกไปตากแดดเพราะจะทำให้เกิดการระคายเคือง Adapalene เป็นยาที่มีการระคายเคืองน้อยที่สุด
- แม้ว่าการดูดซึมจะน้อยแต่ก็ไม่ควรใช้ในคนท้อง
การใช้ยารับประทานเพื่อรักษาสิวจะต้องใช้เวลาหลายเดือนจึงจะได้ผล ดังนั้นจะต้องรับประทานยาอย่างน้อย 3 -4 เดือนจึงจะเห็นผล สามารถที่จะใช้ยารับประทานรักษาสิวร่วมกับยาทารักษาสิว ผู้ที่มีผิวคล้ำควรจะได้รับยารับประทานให้เร็วเพราะเมื่อสิวหายจะเกิดจุดดำบริเวณที่สิวเกิด ยารับประทานแบ่งออกเป็น3กลุ่มดังนี้
- ยาปฏิชีวนะ
ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน ได้แก่ยา erythromycin,Tetracyclines ยาปฏิชีวนะจะให้กับผู้ที่เป็นสิวรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมากจะให้ระยะเวลาไม่เกิน 3-4 เดือนเพื่อลดการดื้อยา หลังจากสิวดีขึ้นจะลดการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน และใช้ชนิดทาแทน
- ยารับประทานปฏิชีวนะจะได้ผลดีในสิวที่เป็นหนอง
- ยาปฏิชีวนะที่ใช้บ่อยคือ doxycycline minocycline Clindamycin
- ยาฮอร์โมน:
- โดยการรับประทานยาคุมกำเนิดก็สามารถรักษาสิวได้ oral contraceptive
- ยาคุมกำเนิดที่มีส่วนผสมของ norethisterone ไม่ควรจะใช้เนื่องจากมีฤทธิ์ของ androgenic
- Spironolactone ได้ผลดีสำหรับผู้สูงอายุ
- Oral isotretinoin ยาอนุพันธ์ของวิตามินเอ Isotretinoin
ใช้รักษาสิวชนิดรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีปกติ การใช้ยานี้จะต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ผิวหนังโดยใกล้ชิดเนื่องจากมีผลข้างของยามาก และอาจจะทำให้ทารกเกิดมาพิการหากได้ยานี้ในระหว่างการตั้งครรภ์
- ยา retinoid isotretinoin จะลดการสร้างไขมัน
- การรักษาด้วยยานี้จะต้องติดตามโดยใกล้ชิดเนื่องจากยานี้มีผลข้างเคียง
- อาการข้างเคียงที่สำคัญคือ ผิว ริมฝีปาก และตาแห้ง ไขมันในเลือดสูง ปวดกล้ามเนื้อเวลาออกกำลังกาย
- อาจจะทำให้ทารกพิการแต่กำเนิดจึงไม่ควรให้กับคนตั้งครรภ์ ดังนั้นจะต้องคุมกำเนิดระหว่างที่รับประทานยานี้
- ผู้ที่รับยานี้อาจจะมีอาการซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน มีความคิดจะทำร้ายตัวเอง
- comedone extractor การใช้เครื่องมือเพื่อกดหัวสิว ใช้กับสิวหัวดำ และสิวหังขาว
- chemical peels การใช้ครีมลอกหน้าเพื่อลอกเอาผิวส่วนหน้าออก และมีเซลล์ใหม่แทนที่เซลล์เดิม
- การใช้ Laser และแสง light therapy การใช้ Laser และ lightเป็นการรักษาที่ชั้นลึกของผิวหนังโดยที่ไม่ทำลายส่วนบนของผิวหนัง โดยเชื่อว่าจะทำให้ต่อมไขมันสร้างไขมันลดลง สำหรับการใช้แสงเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบ
- การลอกผิวเช่นการใช้สารเคมี หรือการขัดผิว microdermabrasion ซึ่งใช้ในการลบรอยย่น ตีนกา หรือปผลเป็นเล็กๆ ก็สามารถนำมาใช้รักษาสิวได้
การรักษาสิวที่มีความรุนแรงน้อย
การรักษาสิวที่มีความรุนแรงปานกลาง
การรักษาสิวชนิดรุนแรง
การรักษาสิวที่เป็นแผลเป็น
สิว | สาเหตุของสิว | ชนิดของสิว | การรักษาสิว | ยารักษาสิว| แผลเป็น