ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

ปัจจัยเสี่ยงหมายถึงผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจะมีโอกาศเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น มะเร็งแต่ละชนิด จะมีความเสี่ยงไม่เหมือนกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่มีความเสี่ยง หรือมีความเสี่ยงหลายชนิดจะต้องเป็นมะเร็งทุกคน ความเสี่ยงมีทั้งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และเปลี่ยนแปลงไม่ได้

ความเสี่ยงที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

ความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้หมายถึงเราสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค ส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม

โรคอ้วน

ผู้ที่เป็นโรคอ้วนจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม รังไข่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ดังนั้นจึงต้องควบคุมน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง18.5-23.9 โดยการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย

การไม่ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายจะช่วยป้องกันโรคได้หลายโรค ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และยังลดการเกิดโรคมะเร็งต่างๆรวมทั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่ การออกกำลังกายหากออกกำลังกายหนักปานกลางให้ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 150 นาทีหรือวันละ30 นาทีสัปดาห์ละ 5 วัน หรือจะออกกำลังกายอย่างหนักออกสัปดาห์ละ 75 นาที การออกกำลังกาย

อาหาร

  • หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่มีสีแดง เช่นเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแพะ เนื้อแกะ และตับ รวมทั้งอาหารที่ผ่านขบวนการผลิตเช่น ฮอตดอก แฮม ไส้กรอก เบคอน เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • การปรุงอาหารเนื้อสัตว์ที่อุณหภูมิสูงเช่นการทอด การปิ้ง หรือย่าง จะทำให้เกิดสารเคมีซึ่งจะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดมะเร็ง
  • อาหารพืชผัก ผลไม้ ธัญพืชครบส่วนจะช่วยลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่การรับประทานใยอาหารเสริมไม่ช่วยลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • การรับประทานอาหารเค็ม หรืออาหารมักดองก็จะเพิ่มความเสี่ยง

การสูบบุหรี่

ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานจะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด และมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าพวกที่ไม่สูบบุหรี่ ควรจะเลิกบุหรี่

การดื่มสุรา

ผู้ที่ดื่มสุราจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ผู้ชายไม่ควรจะดื่มสุราเกิด 2 หน่วยสุรา ผู้หญิงไม่ควรจะดื่มสุราเกิน 1 หน่วยสุรา


 

ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

อายุ

ในเด็กหรือวัยรุ่นก็สามารถเกิดได้ แต่อุบัติการณ์จะเพิ่มเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะจะเพิ่มมากเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี พบว่า 9ใน10 ของมะเร็งลำไส้ใหญ่อายุมากกว่า 50 ปี

ประวัติเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือ Polyps

หากท่านมีประวัติ Polyps โดยเฉพาะมี Polyps หลายก้อน และก้อนใหญ่จะมีโอกาศเป็นมะเร็งสูง ผู้ที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่แม้ว่าจะรักษามะเร็งไปแล้วท่านก็ยังเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

ประวัตเป็นโรคลำไส้อักเสบ เช่น  ulcerative colitis and Crohn's disease,โดยเฉพาะหากเป็นเรื้อรัง ดังนั้นหากท่านเป็นโรคนี้จะต้องคัดกรองตั้งแต่อายุน้อย และคัดกรองบ่อยกว่าคนทั่วไป

ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ส่วนใหญ่จะเกิดมรคนที่ไม่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่หากท่านมีญาติสายตรง(พ่อ แม่ พี่ น้อง)เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ท่านจะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะหากญาติเกิดมะเร็งก่อนอายุ 45 ปี และมีญาติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่า 1 คน

ดังนั้นผู้ที่มีญาติสายตรงเป็น polyps หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่จะต้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ก่อนอายุ 50 ปี

โรคทางพันธุกรรม

โรคทางพันธุกรรมจะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ เช่น

  • familial adenomatous polyposis (FAP) และ
  • hereditary non-polyposis colorectal cancer (HNPCC).
  • Turcot syndrome:
  • Peutz-Jeghers syndrome
  • MUTYH-associated polyposi

เชื้อชาติ

บางเชื้อชาติจะมีอุบัติการณ์ของมะเร็งลำไส้ใหญ่สูง เช่น African Americans

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่สูง ซึ่งอาจจะทั้งสองโรคมีปัจจัยร่วมคืดน้ำหนักเกิน

ปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งที่ยังไม่ยืนยัน

การทำงานเป็นกะ

จากการศึกษาพบว่าผู้ที่ทำงานเป็นกะ มากกว่า 3 คืนต่อเดือนอย่างน้อย 15 ปีจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้หญิง เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับ melatonin

การรักษามะเร็งบางชนิด

ผู้ที่รักษามะเร็งอัณฑะ และมะเร็งต่อมลูกหมาก จะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ดังนั้นแนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ก่อนอายุ 50 ปี

มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการมะเร็งลำไส้ใหญ่่