หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
คนที่เป็นดรคเบาหวานมานานโดยเฉพาะคนที่คุมระดับน้ำตาลไม่ดีมักจะเกิดโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่สำคัญได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง โรคเบาหวานเข้าตา เท้าเป็นแผลจากโรคเบาหวาน การลดการเกิดโรคแทรกว้อนจากโรคเบาหวานมีวิธีการดังต่อไปนี้
ควรหลีกเลี่ยงคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว Monosaccharide เช่นน้ำตาล น้ำหวาน เพราะเมื่อเรารับประทานแป้งหรือน้ำตาลจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ควรเลือกคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน polysaccharide เช่น ธัญพืช ถั่ว ผักผลไม้ น้ำตาลจะถูกดูดซึมอย่างช้าๆทำให้น้ำตาลขึ้นไม่มาก
หากคุณมีน้ำหนักเกินการลดน้ำหนักเพียงเล็กน้อยจะมีผลทำให้ระดับน้ำตาล ความดันโลหิต และไขมันในเลือดลดลง โดยเริ่มต้นออกกำลังกายและลดปริมาณอาหารที่รับประทาน
การนอนมากเกินไป หรือน้อยเกินไปจะมีผลต่อความหิวโดยเฉพาะอาหารที่มีแป้งมากซึ่งจะทำให้น้ำหนักเกิน ควรจะนอนวันละ7-8ชั่วโมง
เลือกการออกกำลังกายที่คุณชอบ เช่นการเดิน การขี่จักรยาน การเต้นรำ วันละครึ่งชั่วโมง การออกกำลังกายจะลดความดัน ลดความเครียด ลดระดับไขมัน ลดน้ำหนัก ซึ่งทั้งหมดเป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ออกกำลังกาย
การเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อตรวจน้ำตาลเป็นระยะจะช่วยทำให้คนไข้ปรับอาหาร และการออกกำลังกายเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในระดับที่ดี
ความเครียดจะทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้น การจัดการเรื่องความเครียดเป็นเรื่องสำคัญ การจัดการเรื่องความเครียด
การลดปริมาณเกลือจะช่วยลดระดับความดันโลหิตและป้องกันโรคไต การลดเกลือดดยการไม่ปรุงรสเพิ่มไม่เพียงพอเพราะ อาหารหลายประเภทมีเกลือผสมอยู่จำนวนมาก และคนปัจจุบันนิยมรับประทานอาหารนอกบ้านซึ่งจะมีเกลือมาก ลดเกลือ
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้แก่ ระดับน้ำตาล ความดันโลหิต ระดับไขมัน การสูบบุหรี่
ผู้ที่เป็นเบาหวานจะมีการติดเชื้อที่ซอกเล็บและเป็นแผลเบาหวานที่เท้าได้ง่าย ต้องหมั่นดูแลเท้าเป็นประจำ การดูแลเท้า
ผู้ที่เป็นเบาหวานหากสูบบุหี่จะมีโอกาศเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้นสองเท่า และเสียชีวิตก่อนผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ เมื่อเลิแบุหร่จะทำให้ความดันโลหิตลดลง ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง และโรคไต
เลือดอาหารที่มีผลดีต่อสุขภาพเช่นผลไม้กลุ่มเบอร์รี่ มัยฝรั่ง ปลา ผักใบเขียว หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ ดดยใช้ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนแทน
ไปตรวจตามแพทย์นัดอย่างน้อย2- 4 ครั้งต่อปี ตรวจตาปีละครั้ง ตรวจฟันปีละสองครั้ง