การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานจะให้ผลดีคือลดระดับน้ำตาลและไขมัน ลดระดับความดันโลหิต และลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในการออกกำลังกายจะต้องระวังโรคแทรกซ้อนเช่นน้ำตาลต่ำ การเลือกวิธีออกกำลังจะขึ้นกับสุขภาพของแต่ละคน
หลักการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยเบาหวานอย่างง่าย
โรคเบาหวานเป็นโรคที่ร่างกาย ไม่สามารถใช้น้ำตาลให้เป็นพลังงานได้อย่างเต็มที่
ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานาน จนเกิดภาวะแทรกซ้อน
การรักษาที่สำคัญของโรคเบาหวานประกอบไปด้วย การควบคุมอาหารอย่างเหมาะสม
การออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนัก การใช้ยาลดน้ำตาล การดูแลตัวเอง
ประโยชน์ของการออกกำลังกาย
- การออกกำลังกายจะทำให้การควบคุมเบาหวานง่ายขึ้น และทำให้น้ำหนักลด
- คนที่ไม่เคยออกกำลังกายให้เริ่มทีละน้อย โดยเริ่มจากกิจวัตรประจำวัน เช่น การเดินไปทำงาน การใช้บันไดแทนบันไดเลื่อน หรือการทำสวนเมื่อท่านแข็งแรงขึ้น
ท่านสามารถออกกำลังกายโดยการวิ่ง
- เลือกกิจกรรมที่ท่านมีความสุข เช่นเต้นรำ และควรออกกำลังร่วมกับครอบครัว
คนปกติเวลาออกกำลังกาย ร่างกายจะใช้ glycogen,triglyceride,free fatty acid และ glucose เป็นพลังงานร่างกายจะปรับตัวมิให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำโดยการลดการหลั่งinsulin เพิ่มการหลั่ง glucagon ในระยะเริ่มต้น เพิ่มการหลั่ง adrenalin ในระยะต่อมา ผลทำให้ร่างกายใช้น้ำตาลอย่างเหมาะสมไม่เกิดภาวะน้ำตาลต่ำ
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่งกลไกการหลั่งฮอร์โมนเสียไปกล่าวคือ
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่งถ้ารักษาไม่ดีได้รับ
insulin ไม่พอ
เวลาออกกำลังกายมีการหลั่ง
adrenalin มาก
ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงเกิดภาวะ
ketoacidosis ได้ง่าย
และในทางตรงกันข้ามหากได้ insulin
มากเกินไปจะเกิดภาวะน้ำตาลค่ำ
[hypoglycemia] ได้ง่าย
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองภาวะดังกล่าวพบได้น้อย
ประโยชน์จากการออกกำลังกาย
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะได้ประโยชน์ดังนี้คือ
- ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดแดงแข็ง
เช่น ความดันโลหิตสูง
ไขมันในเลือดสูง
- ทำให้น้ำหนักลดลง
- ทำให้การคุมเบาหวานดีขึ้นเนื่องจากการเพิ่มการตอบสนองต่ออินซูลิน
[insulin sensitivity] หลังออกกำลังกาย 48
ชั่วโมงร่างกายยังไวต่อ insulin
หากออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ร่างกายตอบสนองต่อ
insulin
ดีขึ้นโดยที่น้ำหนักไม่เปลี่ยนแปลง
- สามารถลดยาฉีด insulin หรือ ยากิน
- เพิ่มคุณภาพชีวิต
ข้อแนะนำการออกกำลังกายกับเบาหวานชนิดที่หนึ่ง
- ไม่ควรออกกำลังกายถ้าน้ำตาลตอนเช้ามากกว่า
250มก.%
- ให้กินน้ำตาลถ้าน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า100มก.%
- ตรวจน้ำตาลก่อนและหลังออกกำลังกาย
- เตรียมน้ำตาลไว้ขณะออกกำลังกาย
- ปรับการฉีด insulin
และอาหารเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำ
แนวทางออกกำลังกายอย่างปลอดภัยในผู้ป่วยเบาหวาน
- ปรึกษาแพทย์และได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์อย่างละเอียด
- ผู้ป่วยต้องมีป้ายแสดงตัวว่าเป็นเบาหวานติดตัวไว้เสมอ
- ควบคุมน้ำตาลไม่ให้สูงเกินไป คือไม่เกิน 250
มก.%ในเบาหวานชนิดที่1 ไม่เกิน 300 มก.%ในเบาหวานชนิดที่2
- เรียนรู้อาการ และวิธีป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ตรวจดูเท้าว่ามีแผล ตาปลา หรือการอักเสบใดๆ
- ใส่รองเท้าอย่างเหมาะสมสำหรับการออกกำลังกาย
และต้องสวมถุงเท้าทุกครั้ง
- ผู้ป่วยที่ใช้ยาฉีด insulin
แนะนำให้เลี่ยงการออกกำลังกายช่วงขณะที่ยาออกฤทธิ์สูงสุด
และไม่ฉีด insulin
บริเวณที่ออกกำลังกายให้ฉีดบริเวณหน้าท้องแทน
- ถ้าผู้ป่วยฉีด insulin
ชนิดออกฤทธิ์ระยะกลาง intermediate-acting ให้ลดขนาดยาลง 30-35%
- ถ้าผู้ป่วยฉีด insulin
ชนิดออกฤทธิ์ระยะกลาง intermediate-acting ร่วมกับออกฤทธิ์ระยะสั้น short-acting ให้ลดหรืองด short-acting insulin และลด intermediate-acting intermediate-acting ลง1/3
- ถ้าผู้ป่วยฉีด insulin
ชนิดออกฤทธิ์ระยะสั้น short-acting
insulin ให้ลดยาฉีดก่อนออกกำลังกาย
- ต้องสามารถทราบภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
และมีน้ำตาลติดตัว
- ดื่มน้ำให้พอทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย
สรุปแนวทางออกกำลังกาย
- จะต้องออกกำลังกายจนรู้สึกหัวใจเต้นหรือเหงื่อออก
หรือจับชีพขจรได้ 50-70%ของอัตราเต้นสูงสุด
- โดยออกกำลังสัปดาห์ละ 150 นาทีสำหรับผู้ที่ออกกำลังปานกลาง 75 นาทีสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายหนัก หรือจะออกกำลังทั้งสองแบบ
- ออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วัน และหยุดการออกกำลังกายไม่เกิน 2 วัน
- ให้ออกกำลังกายโดยการออกกำลังต่อต้านแรง resistant trainingโดยเน้นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ สัปดาห์ละ 2 วัน เช่นการยกน้ำหนัก เป็นต้น
- สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถออกกำลังกายแบบ aerobic แนะนำให้ออกกำลังกายแบบการยกน้ำหนักสัปดาห์ละ 2 วันโดยออกกำลังกล้ามเนื้อมัดใหญ่ 5 กลุ่ม
ขั้นตอนในการออกกำลังกาย
- จะต้อง warm up cool down อย่างละ 5
นาทีโดยต้องออกกำลังวันละ
20-40 นาที
- วิธีการออกกำลังอาจทำได้โดย
การวิ่งอยู่กับที
วิ่งเหยาะๆ เดินเร็วๆ
ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ
- แนะนำให้ออกช่วงเย็น
- เริ่มต้นออกกำลังแบบเบาๆก่อน และเพิ่มขึ้นเมื่อท่านแข็งแรงขึ้น
- พยายามออกกำลังเวลาเดียวกัน สำหรับผู้ที่ฉีดอินซูลินควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังเวลาที่อินซูลินออกฤทธิ์สูงสุด
- อินซูลินควรจะฉีดที่หน้าท้อง
- ไม่ควรออกกำลังกายหลังอาหารมื้อหนักโดยทันที
- งดออกกำลังกายเมื่อรู้สึกไม่สบาย
- จับชีพขจรขณะออกกำลังกาย และควบคุมมิให้การเต้นของหัวใจเกินเป้าหมาย
- ควรออกกำลังกายเป็นกลุ่ม
- พกบัตรประจำตัวว่าเป็นเบาหวาน