ภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

ภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานหมายถึง ผู้ที่จะมีโอกาศเป็นเบาหวานมากกว่าค่าเฉลี่ยของคนทั่ว ไปกลุ่มคนเหล่ากลุ่มคนเหล่านี้ได้แก่กลุ่มที่มีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน โรคอ้วน ความดันหรือไขมันในเลือดสูง กลุ่มคนเหล่านี้จำเป็นต้องเจาะเลือดเพื่อประเมินว่าเป็น Prediabetic หรือไมยกน้ำหนัก

โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบได้ทั่วโลก และมีอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยทุกปี เมื่อเป็นเบาหวานระยะหนึ่งแล้ว จะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่นทางระบบประสาท โรคหัวใจ โรคไตเป็นต้นซึ่งจะทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง ดังนั้นการป้องกันโรคเบาหวาน จะเป็นหนทางที่จะลดการเกิดโรคเบาหวาน และโรคแทรกซ้อน แม้ว่าจะมีการพัฒนายาสำหรับรักษาโรคเบาหวานมาหลายปี แต่ยาเหล่านั้นก็ไม่สามารถที่จะลดโรคแทรกซ้อนได้เท่าที่ควร จึงทำให้แพทย์ และนักวิทยาศาสตร์กังวลว่าการรักษาโรคเบาหวานจะสายเกินไป การป้องกันโรคน่าจะเป็นหนทางที่ป้องกันโรคแทรกซ้อนได้ดีกว่าการรักษา ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวานจะมีความเสี่ยงสูง ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงเช่นกัน

เหตุผลในการป้องกันโรคเบาหวาน

  1. การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษาซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกโรครวมทั้งโรคเบาหวาน หากไม่เป็นเบาหวานจะลดภาระทั้งตัวเอง ครอบครัว และประเทศ
  2. พบว่าผู้ที่มีน้ำตาลอยู่ระหว่า 100-125 มก.%จะมีโอกาศเป็นเบาหวานสูงมาก
  3. มีการตรวจหาภาวะ Prediabetes ซึ่งสะดวก ค่าใช้จ่ายไม่มาก และสามารถบ่งชี้การเป็นเบาหวานในอนาคต ได้แก่การตรวจน้ำตาลในเลือด การตรวตค่าน้ำตาลเฉลี่ย และการตรวจความทนทานต่อน้ำตาล oral glucose tolerance test
  4. มีแนวทางในการดูแลเพื่อป้องกันโรคเบาหวานอย่างมีประสิทธิภาพ หากดูแลตัวเองได้ดีจะมีอุบัติการณ์ลดลงถึงร้อยละ 58
  5. ค่าใช่จ่ายในการคัดกรองไม่แพง

การป้องกันโรคเบาหวานทำได้หรือไม่

วิธีการป้องกันโรคเบาหวานสามารถทำได้ 2 วิธีคือ

  1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งมีวิธีดังนี้
  • ลดน้ำหนักงลงให้ได้ร้อยละ5-7 จากน้ำหนักเบื้องต้น โดยเฉพาะผู้ที่อ้วน(ชาวเอเซียใช้ดัชนีมวลกายเท่ากับหรือมากกว่า 23)
  • ออกกำลัง สัปดาห์ละ 150 นาที โดยการเดินให้เร็ววิ่งสลับกับเดินเร็ว
  • ให้รับประทานอาหารที่มีใยอาหารโดยมีอัตราส่วนใยอาหาร 14 กรัมต่อพลังงาน 1000 แคลอรี่ี่
  • ให้เลิกอาหารหวาน ที่ใส่น้ำตาล
  1. การใช้ยาเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน มีการใช้ยา 3 ชนิดในการป้องกันโรคเบาหวาน โดยใช้ชนิดใดชนิดหนึ่ง
  • Metformin สามารถลดการเกิดโรคเบาหวานลงได้ร้อยละ 31 ใช้ได้ผลดีกับผู้ที่อายุน้อย 20-44 ปี และอ้วน
  • Acarbose สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานได้ร้อยละ 32
  • Troglitazone สามารถลดการเกิดโรคเบาหวานได้ร้อยละ 56

การป้องกันโรคเบาหวานจะใช้ยาหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

แนะนำให้ใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเนื่องจากสามารถลดการเกิดโรคเบาหวานได้ถึงร้อยละ 58 ในขณะที่ใช้ยาลดได้ร้อยละ 36 และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยังช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในขณะที่ใช้ยายังไม่มีรายงานดังกล่าว นอกจากนั้นการใช้ยาต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจจะเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา

ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวานต้องตรวจอะไรบ้าง

เนื่องจากผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวานจะมีโอกาศเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้ที่เสี่ยงต่อเบาหวานจะต้องได้รับการตรวจหาความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ระดับไขมันในเลือด การงดบุหรี่

ใครที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน(ในประเทศอเมริกาเรียก prediabetic)หมายถึงภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน

จากหลักฐานของการศึกษาที่ผ่านมา สรุปว่ากลุ่มคนที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ จะต้องตรวจเพื่อประเมินความเสี่ยงว่าต่อไปอนาคตจะเป็นโรคเบาหวานหรือไม่

  1. ผู้ป่วยอายุ 45 ปีและมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 อ่านการคำนวณดัชนีมวลกาย
  2. อายุน้อยกว่า 45 ปี และมีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 25 และมีโรคเหล่านี้

สำหรับชาวเอเซียแนะนำให้ใช้ดัชนีมวลกายเท่ากับ 23

กลุ่มเสี่ยงต่อเบาหวานหรือกลุ่ม Prediabeticจะมีค่าผลเลือดเป็นอย่างไร่

  1. เจาะเลือดหาระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงหากมีน้ำตาล100-125 %
  2. ให้รับประทานน้ำตาล 75 กรัมหากเจาะระดับน้ำตาลที่ 2 ชั่วโมงอยู่ระหว่าง 140-199
  3. ค่าน้ำตาลเฉลี่ยอยู่ระหว่าง(HA1C) 5.7–6.4%

ค่าน้ำตาลเฉลี่ย HA1C และโอกาศการเกิดโรคเบาหวาน

  • A1C อยู่ระหว่าง 5.5 - 6.0% จะมีความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานภายใน 5 ปีอยู่ระหว่าง 9-25%.
  • A1C อยู่ระหว่าง 6.0–6.5% จะมีความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานภายใน 5 ปีอยู่ระหว่าง 25- 50%

หากท่านได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น prediabetes ท่านต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานดังต่อไปนี้

การป้องกันเบาหวาน

สรุป

  1. หากท่านเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือ Prediabetic ท่านจะต้องเจาะเลือดเพื่อตรวจประเมินความเสี่ยง
  2. หากท่านเป็นกลุ่มเสี่ยงท่านจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ออกกำลังกาย
  3. ท่านต้องลดน้ำหนักลง 5-7%
โรคเบาหวาน อาหารสำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อเบาหวาน

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน | อาการโรคเบาหวานการวินิจฉัย | การคัดกรอง | ชนิดของเบาหวาน | หลักการรักษา | โรคแทรกซ้อน | เป้าหมายในการควบคุมเบาหวาน | การติดตามและการประเมิน | การป้องกันโรคเบาหวาน