วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน
วิธีที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน มีเพียงวิธีเดียว คือการเจาะหาน้ำตาลในเลือด
สำหรับคนปรกติแนะนำให้คนที่มีอายุมากกว่า 45 ปีควรจะเจาะเลือดทุกปีถ้าหากปกติก็ให้เจาะทุก
3 ปี หากคุณมีปัจจัยเสี่ยง ก็ควรที่เจาะเร็วขึ้นและบ่อยขึ้น คนปรกติจะมีค่าน้ำตาลในเลือด อยู่ระหว่า
80-100 มิลิกรัม% การวินิจฉัยโรคเบาหวานเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า
126 มิลิกรัม% สำหรับผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระ 100-125 มิลิกรัม%เราเรียก Impaired fasing glucose [IFG] คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานจำเป็นต้องคุมอาการ รักษาน้ำหนัก ออกกำลังกาย สำหรับการตรวจปัสสาวะไม่แนะนำเพราะเราจะตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า
180 มิลิกรัม%ซึ่งเป็นเบาหวานไปเรียบร้อยแล้ว การตรวจเลือดเราสามารถตรวจได้หลายวิธีดังนี้
เกณฑ์ในการวินิจฉัยเบาหวานมีดังนี้
- การวัดระดับกลูโคสในพลาสม่าหลังการอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง [fasting plasma glucose :FPG] แนะนำให้ใช้วิธีซึ่งสะดวกและแม่นยำ
ให้การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อระดับน้ำตาลในเลือด [FPG] สูงกว่า 126มก.%[7.0 mmol/L] สองครั้ง
- การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส [
oral glucose tolerance test:OGTT] กรณีสงสัยว่าจะเป็นเบาหวาน
แต่ระดับพลาสม่ากลูโคสก่อนรับประทานอาหารไม่ถึง 126 มก.% ให้ตรวจโดยการดื่มน้ำตาลกลูโคส
75 กรัม เจาะเลือดก่อนดื่ม และ 2 ชั่วโมงหลังดื่ม วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อระดับพลาสม่ากลูโคสที่
2 ชั่วโมงมากกว่า 200 มก.%ขึ้นไป หากอยู่ระหว่า 140-199มก.%ถือว่าความทนทานต่อน้ำตาลบกพร่อง
( impaired glucose tolerance test) หากต่ำกว่า 140 มก%ถือว่าปกติ
- การสุ่มวัดระดับกลูโคสในพลาสมา [random
plasma glucose:RPG] โดยไม่กำหนดเวลาอดอาหาร ใช้ค่ามากกว่า 200
มก.%และมีอาการของโรคเบาหวาน เนื่องจากมีความแม่นยำต่ำจึงไม่นิยมหาก
หากพบว่าค่ามากกว่า 200 มิลิกรัม%จะต้องนัดมาเจาะน้ำตาลก่อนอาหาร หรือทำการตรวจ
การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส OGTT อาจจะตรวจในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเบาหวานมากจำเป็นต้องรีบให้การรักษา
- การใช้ระดับโปรตีนกลัยโคซัยเลต ได้แก่ glycosylate hemoglobin:HbA1c หากมีค่ามากกว่า 6.5 ให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
- ในกรณ๊ที่ค่า HbA1c>6.5 สองครั้งแต่ค่าน้ำตาลก่อนอาหารFBS<126 mg% หรือค่าน้ำตาล FBS>126 แต่ค่า HbA1c<6.5 ทั้งสองกรณีให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
สำหรับการตรวจหากลูโคสในปัสสาวะไม่นิยมเพราะผิดพลาดได้ง่าย
สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อเบาหวานมีดังต่อไปนี้(อ่านที่นี่)
- น้ำตาลอดอาหาร(FPG)อยู่ระหว่าง 100–125 mg/dl
- ค่าน้ำตาลหลังจากดื่นน้ำตาล 75 กรับที่ 2 ชม อยู่ระหว่าง( OGTT) 140–199 mg/dl
- ค่าน้ำตาลเฉลี่ย(HA1C) อยู่ระหว่าง 5.7–6.4%
ในการตรวจหากลูโคสในกระแสเลือดควรคำนึงถึงยาที่ทำให้น้ำตาลสูงขึ้นเช่น
steroid,thiazide,nicotinic acid,beta-block,ยาคุมกำเนิด
การตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ [Gestational
Diabetes:GDM]
การคัดกรองของโรคเบาหวานชนิดที่หนึ่งไม่นิยมเนื่องจากราคาแพงและยังไม่เป็นที่ยอมรับ