ใครมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน

สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานยังไม่ทราบแน่นอน แต่องค์ประกอบสำคัญที่อาจเป็นต้นเหตุของการเกิดได้แก่ กรรมพันธุ์ อ้วนลงพุง โรคอ้วน ขาดการออกกำลังกาย หากบุคคลใดมีปัจจัยเสี่ยงมากย่อมมี่โอกาสที่จะเป็นเบาหวานมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานได้แสดงข้างล่างนี้อ้วนลงพุง

การคัดกรองของโรคเบาหวานชนิดที่สองในบุคคลทั่วไป

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองพบมากและมักจะวินิจฉัยไม่ได้ในระยะแรก การที่มีภาวะน้ำตาลสูงเป็นเวลานานๆทำให้เกิดการเสื่อมของอวัยวะต่างๆเช่น ตา หัวใจ ไต เส้นประสาท เส้นเลือด นอกจากนี้ยังพบว่ามีโรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในโลหิตสูงร่วมด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการวินิจฉัยให้เร็วที่สุดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน การตรวจคัดกรองเบาหวานในผู้ใหญ่ที่ไม่มีอาการ

ผู้ที่ไม่มีอาการของโรคเบาหวานสมควรได้รับการเจาะเลือดตรวจตรวจหาเบาหวาน คือ

  1. คนที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 มและมีปัจจัยเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่งการคำนวณดัชนีมวลกายคลิกที่น
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • ประวัติครอบครัวพ่อแม่ พี่ หรือ น้อง เป็นเบาหวาน
  • ชนชาติหรือเชื้อชาติกลุ่มเสี่ยงต่อเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูงมากกว่า140/90 mmHg
  • ระดับไขมัน HDL น้อยกว่า35 มก%และหรือ TG มากกว่า250 มก.%
  • ประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือน้ำหนักเด็กแรกคลอดมากกว่า4กิโลกรัม
  • HbA1c>5.7ผู้ที่ตรวจพบ IFG หรือ IGT
  • มีประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ผู้ป่วยที่อ้วนมากหรือมีลักษณะเป็นภาวะดื้อต่ออินซูลิน
  1. หากไม่มีเกณฑ์ดังกล่าวก็ให้ตรวจเมื่ออายุ 45 ปี
  2. หากผลปกติให้ตรวจทุก 3 ปี

วิธีการตรวจ

  1. การวัดระดับกลูโคสในพลาสมาหลังการอดอาหารอย่างน้อย8ชั่วโมง [fasting plasma glucose :FPG] แนะนำให้ใช้วิธีซึ่งสะดวกและแม่นยำ ให้การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อระดับน้ำตาลในเลือด[FPG]สูงกว่า 126มก.%[7.0 mmol/L]
  2. การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส[ oral glucose tolerance test:OGTT] วัดระดับน้ำตาลกลูโคส2ชั่วโมงหลังได้กินน้ำตาล75 กรัมจะให้การวินิจฉัยเมื่อวัดน้ำตาลสูงกว่า 200มก.%[11.1mmol/L]
  3. สำหรับผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวาน เช่นปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลด หิวเก่ง หากเจาะน้ำตาลแบบสุ่มแล้วพบว่าน้ำตาลมากกว่า 200 %ให้ถือว่าเป็นโรคเบาหวาน
  4. การใช้ระดับโปรตีนกลัยโคซัยเลต ได้แก่ glycosylate hemoglobin:HbA1c และ glycosylate albumin[fructosamine] จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาล A1C มากกว่า 6.5 %
  5. การตรวจหากลูโคสในปัสสาวะไม่นิยมเพราะผิดพลาดได้ง่าย

ปกติ

IFG OR IGT

เบาหวาน

FPG<100 mg/dl

2-Hr PG<140 mg/dl

HbA1c <5.5

FPG>100mg/dl <126mg/dl= IFG

2-Hr PG>140mg/dl<200 mg/dl=IGT

HbA1c =5.7-6.4

FPG>126mg/dl

2-hr PG>200 mg/dl

RPG>200 mg/dl with symtoms

HbA1c >6.5

 

ในการตรวจหากลูโคสในกระแสเลือดควรคำนึงถึงยาที่ทำให้น้ำตาลสูงขึ้นเช่น steroid,thiazide,nicotinic acid,beta-block,ยาคุมกำเนิด

อาการของโรคเบาหวาน การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

จะรู้ได้อย่างไรว่าคนตั้งครรภ์เป็นโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน | อาการโรคเบาหวานการวินิจฉัย | การคัดกรอง | ชนิดของเบาหวาน | หลักการรักษา | โรคแทรกซ้อน | เป้าหมายในการควบคุมเบาหวาน | การติดตามและการประเมิน | การป้องกันโรคเบาหวาน