ยารักษาโรคเบาหวาน
การรักษาเบาหวานมุ่งเน้น เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกตเพื่อลดอาการข้างเคียงจากน้ำตาลในเลือดสูงิ
และป้องกันโรคแทรกซ้อนในระยะยาว
ในการรักษาเบาหวานมีหลักการที่สำคัญคือการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย การรักษาจะไม่ได้ผลหากผู้ป่วยมาคุมอาหารหรือออกกำลังกาย การรักษามีทั้งอิซูลินและยาเม็ดรับประทาน ยาอินซูลินจะใช้รักษาเบาชนิดที่1และชนิดที่สองที่ไม่สามารถควบคุมโรคด้วยยาชนิดรับประทาน ส่วนเบาหวานชนิดที่สองใช้ยาชนิดรับประทาน และเสริใด้วยอินซูลินในกรณีที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้่ ปัจจุบันการรักษาด้วยยา ได้รับความนิยมใช้ในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่สอง เนื่องจากปัจจัยดังต่อไปนี้้
- มีหลักฐานยืนยันว่าการควบคุมเบาหวานที่ดีสามารถลดโรคแทรกที่เกิดจากเบาหวาน
- การวินิจฉัยเบาหวานใช้เกณฑ์ 126 มก.%ทำให้เริ่มรักษาเบาหวานเร็วขึ้น
- ความปลอดภัยของยามีมากขึ้นเกิดภาวะน้ำตาลต่ำน้อยลง
แต่อย่างไรก็ตามก่อนให้ยาเม็ดลดระดับน้ำตาลควรได้ควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างที่เสียก่อน
ยาเม็ดลดระดับน้ำตาลในเลือดมีกี่ประเภท เราแบ่งยาเม็ดลดระดับน้ำตาลออกเป็น 2 ประเภท
- ยารักษาโรคเบาหวานโดยเสริมการออกฤทธิ์ของอินซูลิน ลดาการสะสมน้ำตาลในตับ ลดากรดูดซึมน้ำตาลในลำไส้ เพิ่มการตอบสนองต่ออินซูลินและทำให้กล้ามเนื้อนำน้ำตาลไปใช้ยาในกลุ่มนี้ไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำยาในกลุ่มนี้ได้แก่
- ยารักษาโรคเบาหวานโดยเพิ่มการหลั่งของอินซูลิน ยาในกลุ่มนี้เพิ่มการหลั่งของอินซูลิน
ได้แก่
- ยารักษาโรคเบาหวานโดย่ป้องกันแตกของแป้งในลำไส้ ยาเหล่าจะชลอการเพิ่มของระดับน้ำตาลหลังจากเรารับประทานอาหารได้แก่ยา Acarbose และยา meglitol
- ยารักษาโรคเบาหวานโดยการเพิ่มการหลั่งของอินซูลินและลดการสร้างกลูโคส ได้แก่ยาในกลุ่ม DPP-4 inhibitor เช่นยา sitagliptin (Januvia).ยากลุ่มนี้จะเพิ่มการสร้างอินซูลินและลดการสร้างน้ำตาล
- alogliptin (Nesina)
- alogliptin-metformin (Kazano)
- alogliptin-pioglitazone (Oseni)
- linagliptin (Tradjenta)
- linagliptin-empagliflozin (Glyxambi)
- linagliptin-metformin (Jentadueto)
- saxagliptin (Onglyza)
- saxagliptin-metformin (Kombiglyze XR)
- sitagliptin (Januvia)
- sitagliptin-metformin (Janumet and Janumet XR)
- sitagliptin and simvastatin (Juvisync)
- ยารักษาโรคเบาหวานกลุ่ม GLP-1 ( glucagon-like peptide-1) receptor agonists ซึ่ง GLP-1 เป็นฮอร์โมนในทางเดินอาหารที่เรียกว่า incretins หลั่งจากเซลล์จากลำไส้เล็กส่วนปลาย มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด โดยออกฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน เมื่อ GLP-1 เข้าสู่กระแสเลือดและถูกทำให้หมดฤทธิ์โดยเอนไซม์ dipeptidyl peptidase-4 (DPP-4) ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของ GLP-1 จะทำให้มีการหลั่งอินซูลินเพิ่มและลดการหลั่งกลูคากอนในภาวะที่น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ปัจจุบันมียาหลายชนิดในกลุ่ม GLP-1 receptor agonists ได้แก่ exenatide, liraglutide, lixisenatide และ albiglutide ยาเหล่านี้ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังบริเวณท้อง ต้นขา หรือต้นแขน เพื่อลดน้ำตาลในเลือดสำหรับรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบที่ 2 ร่วมกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย สำหรับ albiglutide ซึ่งเป็นยาตัวล่าสุดในกลุ่มนี้ที่วางจำหน่ายนั้นเป็น recombinant fusion protein ทนต่อเอนไซม์ DPP-4 ขนาดยาที่แนะนำคือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 30 มิลลิกรัม สัปดาห์ละ 1 ครั้ง (ฉีดในวันเดียวกันของทุกสัปดาห์) โดยไม่ต้องคำนึงถึงมื้ออาหาร หากยังควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ตามต้องการสามารถเพิ่มเป็น 50 มิลลิกรัม สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- albiglutide
- dulaglutide
- exenatide
- exenatide extended-release
- liraglutide (Victoza)
- semaglutide
- ยารักษาโรคเบาหวานกลุ่มSodium-glucose transporter (SGLT) 2 inhibitors ยากลุ่มนี้ลดน้ำตาลในเลือดโดยการลดการให้ไตขับน้ำตาลออกทางปัสสาวะยาในกลุ่มนี้ได้แก่
- dapagliflozin (Farxiga)
- canagliflozin (Invokana)
- empagliflozin (Jardiance)
- ertugliflozin (Steglatro)
คำแนะนำในการให้ยารักษาโรคเบาหวาน
สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แนะนำการใช้ยาดังนี้
- ผู้ป่วยที่ไม่มีข้อห้ามในการใช้ยา metformin แนะให้ใช้ยาชนิดนี้เป็นยาชนิดแรก
- ปรับยาเพื่อให้ได้ค่าน้ำตาลเฉลี่ยได้ตามเป้าหมายใน 3-6 เดือน หากไม่ได้เป้าหมายและใช้ยาเต็มที่แล้วให้เพิ่มยาชนิดที่ 2
- ยาชนิดที่ 2 ที่ให้ใช้คือ glucagon-like peptide-1 (GLP-1) และยารับประทานเบาหวานชนิดอื่น
- หากผู้ป่วยที่เป็นใหม่ และมีน้ำตาลสูงและมีอาการมากแนะนำให้ใช้อินซูลินในการรักษาเบื้องต้น
ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักจะมีโรคอื่นๆจึงต้องได้รับยาอื่นเช่น
ตารางแสดงยาลดน้ำตาล คุณสมบัติ ขนาดและวิธีใช้
ชื่อสามัญ |
ขนาดเม็ด ( มก) |
ขนาดยาต่อวัน (มก.) |
วิธีการใช้ จำนวนครั้ง/วัน |
ระยะเวลาออกฤทธิ์ (ชม.) |
ทางขับยา |
Metformin |
500,850 |
500-3000 |
2-3 หลังอาหาร |
5-6 |
ไต |
Acarbose |
50,100 |
150-300 |
3 พร้อมอาหาร |
|
ไม่ถูกดูดซึม |
Troglitazone |
200 |
200-600 |
1 |
9 |
|
Sulfonylurea |
Tolbutamide |
500 |
500-3000 |
2-3 |
6-10 |
ไต 100% |
Chlorpropamide |
250 |
125-500 |
1 |
24-72 |
ไต 100% |
Glibenclamide |
5 |
2.5-30 |
1-2 |
20-24 |
ไต 50% |
Glipizide |
5 |
2.5-30 |
2 |
12-14 |
ไต 85% |
Glicazide |
80 |
40-320 |
1-2 |
10-15 |
ไต 60-70% |
Gliquidone |
30 |
15-120 |
1-2 |
8-12 |
ไต5-10% |
Glimepiride |
1,2,3 |
1-6 |
1 |
24 |
ไต 60% |
Repaglinide |
1,2,3 |
1-16 |
3 |
|
|
การดูแลโรคร่วม