สาร Phytosterols

 

เป็นสารที่มาจากพืชซึ่งจะมีโครงสร้างคล้ายกับ cholesterol พบมากในอาหารธัญพืช ผลไม้ ถั่วต่างๆ ผัก โครงสร้างของ Phytosterols จะคล้ายกับ cholesterol แต่ Phytosterols ไม่ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็งหรือหลอดเลือดตีบ

ไฟโตสเตอรอล (Phytosterols)

สาร sterol

สาร sterol เป็นสารเคมีที่มีสูตรโครงสร้างดังภาพข้างล่างนี้ สารนี้พบได้ทั้งในพืชและสัตว์ ในสัตว์ได้แก่ Cholesterol ส่วนในพืชคือ phytosterols

phytosterols เป็นไขมันที่พบในพืชส่วนใหญ่ได้แก่ sitosterol and campesterol แบ่งออกได้สองชนิดคือ

  • sterols
  • stanols

 

สารทั้งสองแตกต่างที่โครงสร้าง

Plant sterols หรือ phytosterols เป็นสารที่มีโครงสร้างคล้ายกับ cholesterol ซึ่งพบเฉพาะในพืช เช่น น้ำมันพืชชนิดต่างๆ ถั่วชนิดต่างๆ สาร Plant sterols ที่พบมีมากมายแต่ที่พบปริมาณมากได้แก่ beta-sitosterol, campesterol, และ stigmasterol สาร Plant sterol ร่างกายสร้างเองไม่ได้ต้องได้รับจากอาหารดังกล่าว

ข้อดีของ Plant sterol คือไม่มีผลเสียเหมือนโคเลสเตอร์รอลที่มาจากสัตว์ เช่นไม่ทำให้ระดับ LDL (ไขมันไม่ดี)ในเลือดสูง และยังลดระดับ cholesterol ในเลือด แนะนำว่าควรจะได้รับ phytosterols มากกว่า 2 กรัมต่อวันวึ่งจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ

ไฟโตสเตอรอล (Phytosterols) เป็นสารพฤษเคมีที่คล้ายคอเลสเตอรอล แต่เป็นสารที่มีประโยชน์ลดไขมันในเลือด ป้องกันมะเร็ง ลดการอักเสบ และลดการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง ไฟโตสเตอรอล พบในธัญพืช เช่น ถั่ว น้ำมันพืช (น้ำมันรำข้าว น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันงา) งา จมูกข้าว รำข้าว ไข่แดง ตับ กุ้ง ปู เป็นต้น เหล่านี้คือ กลุ่มของอาหารที่พบว่ามี ไฟโตสเตอรอล มาก โดยเฉพาะในน้ำมันรำข้าว พบว่ามีมากถึง 919 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม รองลงมาก็จะพบมากใน น้ำมันข้าวโพด และกลุ่มของน้ำมันพืชต่างๆ

ร่างกายควรได้รับไฟโตสเตอรอล จากธรรมชาติ 150-450 มิลลิกรัมต่อวัน ในผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ อาจได้รับไฟโตสเตอรอลจากอาหารสูงถึง 700 มิลลิกรัมต่อวัน พบว่าผู้รับประทานมังสวิรัติ และชาวญี่ปุ่นจะได้รับสเตอรอล จากอาหาร 300-500 มิลลิกรัม ในขณะที่อาหารตะวันตก มีสเตอรอลเพียง 100-300 มิลลิกรัม และสตานอล 20-50 มิลลิกรัมต่อวัน