jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

การรักษาไขมันในเลือดสูง

ไขมันในเลือดสูงกับความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ

ไขมันในเลือดเป็นปัจจัยเสี่ยงข้อหนึ่งของโรคหัวใจ

การรักษาไขมันในเลือดสูงควรจะรักษาเมื่อความเสียงต่อโรคหลอดเลือดแดงหัวใจตีบสูง ในการประเมินความเสี่ยงจะต้องเจาะเลือดตรวจระดับไขมัน และความเสี่ยงอื่นๆ

แนะนำให้เจาะเลือดตรวจไขมัน 4 ชนิดคือ LDL,HDL,Triglyceride,Total Cholesterol ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป (ตามมาตราฐานประเทศอเมริกา สำหรับประเทศไทยไทยจะเจาะเมื่ออายุมากกว่า 45 ปี) หากปกติให้เจาะเลือดทุก 5 ปี หากไม่ได้อดอาหารให้เจาะเพียง Total Cholesterol

การรักษาไขมันในเลือดตามคำแนะนำของสมาคมโรคหัวใจของอเมริกา ได้มีการเปลี่ยนแปลงจึงขอนำเสนอขั้นตอนการรักษา

ขั้นที่1

ต้องรู้ระดับไขมันในเลือดโดยการเจาะเลือด ไขมันที่ต้องการรู้มี 3 ตัว

LDL Cholesterol เป็นเป้าหมายหลักที่จะรักษา

<100 ค่าที่ต้องการ
100-129 ค่าใกล้เคียงปกติ
130-159 ค่าค่อนไปทางสูง
160-189 สูง
>190 สูงมาก

Triglyceride

<200 ค่าที่ต้องการ
200-239 สูงปานกลาง
>240 สูง
>500 สูงมาก

HDL Cholesterol

<40 ต่ำสูง
>60 สูง

ขั้นที่ 2

ให้คุณสำรวจว่าคุณเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็งหรือไม่ หรือโรคอื่นเช่น โรคเบาหวานหรือโรคอื่นๆที่จัดเทียบเท่าโรคหลอดเลือดแดงแข็งได้แก่

 

ขั้นตอนที่ 3

ให้สำรวจดูว่าคุณมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบข้างล่างนี้กี่ข้อ

หากว่าค่า HDL ของคุณมากกว่า 60 มก.%ให้หักความเสี่ยงที่ได้ลงไปหนึ่ง เช่นหากคุณเป็นผู้ชายอายุ 55 ปี สูบบุหรี่ เป็นความดันโลหิตสูง LDL=35มก.% HDL=65 มก.% คุณมีปัจจัยเสี่งทั้งหมด 4-1=3 ข้อ

หากคุณมีปัจจัยเสี่ยง๖อโรคหัวใจมากกว่า 2 ข้อ(ไม่นับรวม LDL)โดยที่ไม่มีโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ให้เปิดตารางดูว่าคุณมีโอกาสเป็นโรคหัวใจใน 10 ปีเป็นเท่าใดโดยดูตารางนี้ ผู้ชายคลิกที่นี่ ผู้หญิงคลิกที่นี่ หรือคลิกที่นี่เพื่อคำนวณความเสี่ยง

เมื่อคุณได้อัตราเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจแล้ว ทางปฏิบัติจะแบ่งเป็น 3 ระดับ

ขั้นตอนที่ 4

มาจัดกลุ่มความเสี่ยงเพื่อกำหนดเป้าหมายในควบคุมระดับ LDLและระดับไขมันที่ต้องเริ่มรักษาโดยการเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการใช้ยาตามตารางข้างล่าง

กลุ่มความเสี่ยง ระดับ LDL เป้าหมาย

ระดับ LDL ที่เริ่มรักษาโดย การเปลี่ยนพฤติกรรม[TLC]

ระดับ LDL ที่ต้องใช้ยารักษา

ผู้ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เบาหวาน ( หรือผู้ที่มีอัตราเสี่ยงมากกว่า 20%ใน 10 ปี)

น้อยกว่า 70 มากกว่า 100

มากกว่า 130 มก.% (สำหรับผู้ที่มีระดับ LDL อยู่ระหว่าง 100-129 แพทย์แนะนำ ให้เปลี่ยนพฤติกรรมก่อน)

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ (ตามขั้นตอนที่3) มากกว่า 2 ข้อ (อัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ 10- 20%)

น้อยกว่า 130 มากกว่าหรือเท่ากับ 130 >130 มก.% (สำหรับผู้ที่มีอัตราเสี่ยง 10-20%)
>160 มก.% (สำหรับผู้ที่มีอัตราเสี่ยง น้อยกว่า 10%)

มีปัจจัยเสี่ยง 2 ข้อ หรือคำนวณความเสี่ยงน้อยกว่าร้อยละ10

ความเสี่ยงปานกลาง น้อยกว่า130 mg/dL >160 มก.% (สำหรับผู้ที่มีอัตราเสี่ยง น้อยกว่า 10%)

ปัจจัยเสี่ยงน้อยกว่า 1

น้อยกว่า 160มก.% มากกว่า 160 มก.% มากกว่า 190 มก.%
 

นอกจากนั้นอาจจะใช้การคำนวณความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในเวลา 10 ปีเพื่อ

สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง เช่นผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือเป็นโรคเบาหวาน มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมาก หรือเป็นภาวะอ้วนลงพุง แพทย์จะกำหนดเป้าหมายไขมัน LDL ให้ไม่เกิน 70 mg/dL
สำหรับวิธีการลดไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดทำได้โดย

ในการกำหนดเป้าหมายของ LDL แพทย์จะประเมินจากความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
Category I, เสี่ยงสูงมากเป้าหมายของ LDL น้อยกว่า 100 mg/dL.*

Your LDL Level

Treatment

ระดับ LDL มากกว่า 100

ใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และรับประทานยาลดไขมัน

ระดับ LDLน้อยกว่า 100

ให้ใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อคุมให้ไขมัน LDL ให้ต่ำที่สุด

หากคุณอยู่ในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากควรจะควบคุมระดับ LDL ให้ต่ำกว่า70 mg/dL
Category II, กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงปานกลาง ต้องควบคุมระดับ LDL ให้น้อยกว่า 130 mg/dL

Your LDL Level

Treatment

หากไขมัน LDL มากกว่า 130 mg/dL

ให้ใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

หลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วสามเดือนระดับ LDL ยังมากกว่า 130 mg/dL

ให้ใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกับการใช้ยา

หากระดับ LDL น้อยกว่า130 mg/dL

ให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม.

Category III ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดปานกลาง ควบคุมระดับ LDL ต่ำกว่า 130 mg/dL.

Your LDL Level

Treatment

หากระดับ LDL มากกว่า 130 mg/dL

ให้ใช้การปรับเปลี่ยนพฟติกรรม

หลังจากการปรับเปลี่ยนแล้วสามเดือนหากระดับ LDL มากกว่า 160 mg/dL

ให้ใช้ยาลดไขมันร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

หากระดับ LDL น้อยกว่า 130 mg/dL

ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม.

Category IV, มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดต่ำควบคุมระดับ LDL ให้ต่ำกว่า 160 mg/dL.

Your LDL Level

Treatment

หากระดับ LDL มากกว่า 160

ให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

หลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว 3 เดือนหากระดับ LDL มากกว่า 160 mg/dL

ให้ใช้ยาร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ระดับ LDL น้อยกว่า160 mg/dL

ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ขั้นตอนที่ 5

หากค่า LDL มากกว่าค่าเป้าหมายให้เริ่มรักษาโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม [Therapeutic lifestyle change ]ซึ่งมีลักษณะดังนี้

1.ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอาหารดังนี้

2.ให้ลดน้ำหนัก

น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับชาวเอเชียคือน้ำหนักที่ดัชนีมวลกายเท่ากับ 23 รายละเอียดอ่านที่นี่

3.ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเพิ่มให้ร่างกายใช้พลังงานเพิ่มและลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน รายละเอียดอ่านที่นี่

ขั้นตอนที่6

หลังจากการรักษาด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 3 เดือนแล้วระดับ LDL ยังเกินเป้าหมายจะต้องใช้ยารักษา การใช้ยาจะทำควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ยาที่ใช้รักษาไขมันมีดังนี้

ขั้นตอนที่ 7

คุณต้องค้นหาว่าตัวคุณมีภาวะ Metabolic อsyndrome คือภาวะที่มีกลุ่มของอาการโดยสาเหตุเกิดจากหลายๆสาเหตุ สาเหตุที่สำคัญคือภาวะดื้อต่ออินซูลินซึ่งจะพบภาวะนี้ในผู้ป่วยก่อนที่จะเป็นโรคเบาหวาน การที่จะทราบว่ามีกลุ่มอาการนี้หรือไม่ลองดูตารางข้างล่างนี้หากคุณมี 3 ข้อขึ้นไปถือว่าคุณมีภาวะ Metabolic syndrome

ปัจจัยเสี่ยงต่อ Metabolic syndrome เกณฑ์การวัด
1.อ้วนลงพุง โดยการวัดเส้นรอบเอว
    ผู้ชาย        ผู้ชาย< 102ซม(เอเชียไม่เกิน 90 ซม)
    ผู้หญิง        ผู้หญิง< 88 ซม(เอเชียไม่เกิน 80 ซม)
2.Triglyceride >150 mg.%
3.HDL Cholesterol  
    ผู้ชาย <40mg%
    ผู้หญิง <50mg.%
4.ความดันโลหิต >130/85 mmHg
5.ระดับน้ำตาล >110 mg.%

เมื่อสำรวจแล้วหากคุณพบว่าคุณมีมากกว่า 3 ข้อคุณต้องรักษาภาวะ Metabolic syndrome ซึ่งมีวิธีการรักษาดังนี้

ขั้นตอนการรักษาขั้นที่8

หลังจากที่สามารถควบคุมระดับ LDL ได้ตามเป้าหมายแล้ว แพทย์ผู้รักษาจะให้การรักษาระดับ Triglyceride เป็นลำดับต่อมา ค่าปกติของระดับ Triglyceride

<150 ค่าปกติ
150-199 สูงเล็กน้อย
200-499 สูง
>500 สูงมาก

ในการรักษาระดับ Triglyceride จะแบ่งระดับตามความรุนแรงดังนี้

การรักษาระดับHDL ที่ต่ำกว่า 40 มก%

ระดับไขมัน Non-HDL-Cholesterol เป้าหมาย

กลุ่มความเสี่ยง ระดับ LDL เป้าหมาย Non-HDL-Cholesterol
ผู้ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เบาหวาน( หรือผู้ที่มีอัตราเสี่ยงมากกว่า 20%ใน 10 ปี) น้อยกว่า 100 น้อยกว่า 130
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ(ตามขั้นตอนที่3)มากกว่า 2 ข้อ(อัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจน้อยกว่า 20%) น้อยกว่า 130 น้อยกว่า 160
ปัจจัยเสี่ยงน้อยกว่า 1 น้อยกว่า 160มก.% น้อยกว่า 190

ไขมันในเลือด การเจาะเลือดตรวจ การรักษา อาหารสำหรับ cholesterol สูง อาหารสำหรับ triglyceride สูง การประเมินความเสี่ยง butter vs magarine ไขมันที่ดีและไม่ดี

แนวทางการรักษาไขมันในเลือดสูงได้มีการเปลี่ยนแปลงดดยแบ่งกลุ่มผู้ป่วยที่จะได้ประโยชน์จากการใช้ยาลดไขมันกลุ่ม Statin

จุดอีกประการคือเน้นการป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็งซึ่งจะลดการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดแดงขาตีบโดยเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้แก่

ระดับไขมันคอเลสเตอรอลที่ต้องการ

แนวทางการรักษาไขมันในเลือดสูงไม่ได้กำหนดเป็นค่าตายตัว แต่จะให้ลดไขมันคอเลสเตอรอลลงจากเดิมร้อยละ30-50 ดดยยาที่ออกฤทธิ์แรงจะลดคอเลสเตอรอลได้ร้อยละ50 ยาที่ออกฤทธิ์ปานกลางจะลดได้ร้อยละ30

การรักษาไขมันในเลือดสูง

เป้าหมายของการรักษาคือลดระดับของคอเลสเตอรอลเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดวิธีการรักษาได้แก่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการใช้ยาลดไขมัน ส่วนเป้าของระดับไขมันขึ้นกับว่าคนผู้นั้นมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดมากหรือน้อย หากมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดมากจะต้องลดระดับไขมัน LDL ให้ต่ำ ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้แก่

  • การสูบบุหรี่
  • ความดันโลหิตมากกว่า140/90 mmHg หรือเป็นโรคความดันโลหิตสูงและได้นารักษาความดันโลหิต
  • มีค่าไขมัน high-density lipoprotein (HDL) cholesterol น้อยกว่า 40 mg/dL
  • ประวัติญาติสายตรงเป็นโรคหัวใจก่อนวัยอันควร(ชายน้อยกว่า 55 ส่วนหญิงน้อยกว่าอายุ 65)
  • ผู้ชายอายุมากกว่า  ปี และผู้หญิงอายุมากกว่า 55 ปี

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดไขมันคอเลสเตอรอลCholesterol

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดไขมันประกอบไปด้วย การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ การควบคุมน้ำหนัก การออกกำลังกาย

การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ

การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจะมีข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติดังนี้

การจัดการเรื่องน้ำหนัก

การลดน้ำหนักจะช่วยลดไขมัน LDL การรักาาน้ำหนักจะช่วยลดโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะอ้วนลงพุง เช่นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง อ่านเรื่องอ้วนลงพุง

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายจะลดไขมันคอเลสเตอรอล ลดไตร์กลีเซอร์ไรด์และเพิ่มไขมันดีคือ HDL การออกกำลังกายเป็นประจำสัปดาห์ละ 150 นาที(เช่นการเดินเร็ว)หรือการออกกำลังกายแบบหนัก(เช่นการวิ่ง)สัปดาห์ละ 75 นาทีจะเพิ่มระดับHDLs. 

ยาลดไขมัน

การลดไขมันในเลือดจะต้องมีการปรับพฤติกรรมและการรับประทานยา ยาสำหรับรักษาไขมันในเลือดแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มได้แก่

เพิ่มเพื่อน