jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

เคล็ดลับที่ทำให้ความคิดแหลมคมและเพิ่มทักษะความจำ



ท่านที่ความจำไม่ค่อยดีลองใช้เทคนิคเหล่านี้ซึ่งอาจจะทำให้ความจำดีขึ้น

1ทำซ้ำๆ

หัวใจของการเรียนรู้และเพิ่มความจำคือการทำซ้ำๆ สมองจะตอบสนองต่อการทำซ้ำๆ และทำซ้ำหลายรูปแบบ เช่นการเขียนโนต การท่องจำ การพูดให้ผู้อื่นฟัง หรือการฟังซ้ำๆ  อย่างน้อย 8 วินาที ซึ่งจะทำสมองเราจดจำได้ และควรจะทบทวนซ้ำเป็นระยะเพื่อให้เก็บเป็นความจำระยะยาวเช่นทบทวนซ้ำ (repeat) ในช่วงที่ห่างกัน เช่น 2-3 วัน หลายๆ ครั้งได้ดีกว่าการท่องครั้งเดียว

2การจัดระเบียบ

การจดบันทึกเรื่องต่างๆที่สำคัญจะช่วยให้คุณวางแผนเรื่องต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เช่นสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน การนัดหมาย เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ อีเมลแอดเดรส วันเกิดเพื่อน หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวคุณเอง เช่น ยาที่แพ้ ตารางนัดหมายกับแพทย์ ยาประจำตัว ซึ่งสามารถบันทึกในโทรศัพท์มือถือ หรือลงในปฏิทิน และทบทวนทุกวัน

3จินตนาการ

การใช้จินตนาการมาช่วยสร้างความจดจำนั้น เป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการจำบางสิ่งบางอย่างที่ซับซ้อน เพราะเป็นการที่เรานำข้อมูลต่าง ๆ มาเชื่อมโยงกับภาพที่เรามองเห็น ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียกข้อมูลขนาดใหญ่ออกมาทีละส่วน ซึ่งถูกเรานำมาเชื่อมโยงเป็นภาพที่มองเห็นรายละเอียดได้ชัดเจนในสมองของเรา ตัวอย่างการทำผังงาน หรือผังบุคคล เป็นต้น

4การเขียนหรือการจดบันทึกช่วยจำ

เป็นวิธีการที่ทำให้เราจำได้ดีขึ้น เมื่อเราฟังคำบรรยาย หรือประชุม หรือการอ่านหนังสือ หากเราบันทึกหรือจดข้อสรุปต่างๆตามความเข้าใจของเราจะทำให้เราจำได้ดีขึ้น และหากมีโอกาศให้ตรวจสอบสิ่งที่เราบันทึกว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่โดยการสอบถามหลังการประชุมหรือจบการบรรยาย จะให้ดีควรเป็นสมุดเล่มเล็กๆ ที่พกพาติดตัวไปด้วยได้ การลงมือเขียนด้วยตัวเองจะช่วยย้ำให้สมองจดจำได้ดีขึ้น และดีกว่าการใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วย เช่น การบันทึกไว้ในมือถือ

จัดเป็นกลุ่มหรือเป็นหมวดหมู่หรือแบ่งเป็นชุดเล็กๆ

เรื่องที่ซับซ้อน หรือมีปริมาณมากเราควรจะแบ่งเป็นกลุ่มๆแล้วค่อยจำรายละเอียดในแต่ละกลุ่ม ตัวอย่างเช่นบริษัทมีพนักงานมากมายให้เรียกชื่อคงจะจำได้ไม่หมด ให้จำว่ามีกี่แผนก แต่ละแผนกมีใครบ้างซึ่งจะเพิ่มประสิทธิ์ภาพการจำ หรือเบอร์โทรเราแบ่งเป็นสองหรือสามชุดจะทำให้เราจำเบอร์โทรได้ดีขึ้น

5ใช้ประสาททั้งห้า

ใช้ประสาททั้ง5ได้แก่ รูป(ตา) รส(ลิ้น) กลิ่น(จมูก) เสียง(หู) สัมผัส(กาย) สัมพันธ์กับข้อมูลหรือสิ่งที่ต้องการจดจำ เพื่อจดจำเรื่องราวและเชื่อมโยงกับประสบการณ์ในอดีตด้วยว่ามีอะไรที่เหมือนกัน มีอะไรที่แตกต่างกัน

6พยายามสร้างจุดเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลกับสมอง 

จะช่วยให้เราสามารถเก็บข้อมูลและดึงข้อมูลมาใช้ได้อย่างประสิทธิภาพ จะต้องมีการเชื่อมข้อมูลที่มีอยู่ในสมองกับข้อมูลใหม่ ซึ่งจะเพิ่มการจดจำ อาจใช้การตั้งคำถาม , การเปรียบเทียบข้อมูล เช่น การจำแผนงานปีใหม่หลายท่านอาจจะจำยาก แต่แผนงานเก่าเรายังพอจำได้ก็ให้มีการเปรียบเทียบแผนงานใหม่กับแผนงานเก่าซึ่งจะช่วยให้เราจำแผนงานใหม่ได้ดีขึ้น

7คำย่อ

การใช้คำย่อในกิจกกรมหรืองานจะทำให้เราจำได้มากขึ้น โดยการนำอักษรตัวแรกมาเรียง

ภาวะสมองเสื่อม อาหารบำรุงสมอง การทดสอบอาการสมองเสื่อม การเพิ่มความจำ ขี้ลืม การป้องกันการหลงลืม ข้อแตกต่างระหว่างขี้ลืมและสมองเสื่อม