หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นสมองเสื่อมหรือที่เรียกว่า Dementia ,Alzheimer คงจะไม่มีปัญหาในการวินิจฉัยเพราะอาการจะเด่นชัด ญาติหรือเพื่อนคงจะสังเกตเห็นได้ชัด แต่สำหรับผู้ที่เริ่มเป็นอาการยังไม่มากที่เรียกว่า Mild cognitive impairment (MCI) จะมีอาการไม่เด่นชัด อาจจะมีปัญหาเรื่องความจำ การใช้ภาษา ความคิด หรือการตัดสิน ผิดไปจากปกติไม่มากทำให้คนทั่วไปไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นคนขี้ลืมตามอายุ หรือเป็นภาวะสมองเสื่อมที่เริ่มเป็น ซึ่งมักจะมีอาการดังต่อไปนี้
หากพบคนที่รู้จักหรือญาติมีอาการดังกล่าวให้ไปพบแพทย์และเตรียมข้อมูล เช่นอาการต่างๆ ความถี่ของการเกิด เกิดเมื่อไร ความจำเป็นอย่างไรบ้าง พฤติกรรมมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ และเรียนรู้อาการของโรค Alzheimer
แบบประเมินนี้มีทั้งหมด 21 ข้อตอบโดยญาติ เพื่อนสนิทหรือคนใกล้ชิด ใช้ประเมินว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นเป็นโรคสมองเสื่อมเริ่มต้นหรือไม่ แบบประเมินนี้เป็นเพียงการทดสอบเบื้องต้นหากท่านได้คะแนนสงสัยว่าจะเป็นโรคสมองเสื่อม ท่านจะต้องไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
1การทดสอบความจำ |
|
1.คนที่ท่านรู้จักทำเงินหายหรือไม่? |
ใช่ ไม่ใช่ |
2.ถ้าใช่ความจำของเขาแย่ลงในระยะเวลา2-3ปีนี้หรือไม่ |
ใช่ ไม่ใช่ |
3.คนที่ท่านรู้จักถามคำถาม ประโยค หรือเรื่องราวบ่อยๆใน 1 วันหรือไม่ (2 คะแนน) |
ใช่ ไม่ใช่ |
4.คนที่ท่านรู้จักได้ผิดนัดและไม่สามรถแก้ปัญหาเองได้หรือไม่ |
ใช่ ไม่ใช่ |
5.คนที่ท่านรู้จักเคยวางของผิดที่และหาไม่เจอมากกว่า 1 ครั้งต่อเดือนหรือไม่ |
ใช่ ไม่ใช่ |
6.คนที่ท่านรู้จักสงสัยว่าจะมีคนขโมยของเมื่อเขาหาของไม่เจอหรือไม่ |
ใช่ ไม่ใช่ |
2การทดสอบเรื่องคน เวลา สถานที่ |
|
7. คนที่ท่านรู้จักสับสนเรื่องเวลา วัน เดือน ปี และต้องตรวจสอบวัันเวลามากกว่า 2 ครั้งต่อวันหรือไม่ (2 คะแนน) |
ใช่ ไม่ใช่ |
8.คนที่ท่านรู้จักจำสถานที่คุ้นเคยไม่ได้? |
ใช่ ไม่ใช่ |
9.คนที่ท่านรู้จักจะสับสนมากขึ้นเมื่อออกนอกบ้านหรือไม่ |
ใช่ ไม่ใช่ |
3การทดสอบเรื่องทักษะ |
|
10.คนที่ท่านรู้จักมีปัญหาเรื่องการใช้เงินหรือไม่(การทอนเงิน การจ่ายเงิน) |
ใช่ ไม่ใช่ |
11.คนที่ท่านรู้จักมีปัญเรื่องการจ่ายเงินตามใบเสร็จรับเงิน หรือการทำธุระทางการเงินหรือไม่ (2 คะแนน) |
ใช่ ไม่ใช่ |
12.คนที่ท่านรู้จักมีปัญหาว่าจำไม่ได้ว่ารับประทานไปแล้วหรือยัง |
ใช่ ไม่ใช่ |
13.คนที่ท่านรู้จักมีปัญหาเรื่องการขับรถหรือไม่ |
ใช่ ไม่ใช่ |
14.คนที่ท่านรู้จักมีปัญหาในการใช้เครื่องมือ(เตาไมโครเวฟ เตาอบ เตาแก๊ส โทรศัพท์ นาฬิกาปลุก หรือไม่? |
ใช่ ไม่ใช่ |
15.คนที่ท่านรู้จักมีปัญหาการซ่อมบ้าน หรือทักษะการดูแลบ้านหรือไม่ เช่นการเปลี่ยนก๊อกน้ำ การไขน๊อต |
ใช่ ไม่ใช่ |
16.คนที่ท่านรู้จักได้ลดกิจกรรมหลายๆอย่างเช่น งานอดิเรก การเล่นก็อลฟ์ การเต้นรำ การออกกำลังกายหรือไม่? |
ใช่ ไม่ใช่ |
4การประเมินความสามารถแยกแยะด้วยสายตา |
|
17.คนที่ท่านรู้จักไม่คุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อม เช่นจำเพื่อนบ้านไม่ได้ จำสถานที่ไม่ได้ (2 คะแนน) |
ใช่ ไม่ใช่ |
18.คนที่ท่านรู้จักสับสนเรื่องเส้นทาง? |
ใช่ ไม่ใช่ |
5การทดสอบด้านภาษา |
|
19.คนที่ท่านรู้จักมีปัญหาเรื่องการใช้คำ |
ใช่ ไม่ใช่ |
20.คนที่ท่านรู้จักสับสนกับชื่อคนในครอบครัว เพื่อน(2 คะแนน) |
ใช่ ไม่ใช่ |
21.คนที่ท่านรู้จักจำคนที่คุ้นเคยไม่ได้? (2 คะแนน) |
ใช่ ไม่ใช่ |
การแปรผล
จะต้องฝึกนิสัยให้เป็นระเบียบ วางของให้เป็นที่เป็นทาง เช่นวางกุญแจไว้ที่เดียวตลอด จอดรถก็จอดไว้ที่เดียว หากจอดผิดที่ต้องเขียนโน๊ตเตือนความจำ ต้องมีการเชื่อมโยงกับกิจวัตรประจำวัน เช่นรับประทานยาหลังจากรับประทานอาหาร มีอุปกรณ์ช่วยจำเช่นกระดาษโน๊ตเตือนติดไว้ที่ตู้เย็นหรือโต๊ะทำงาน หรือตั้งนาฬิกาปลุกจากโทรศัพท์มือถือเป็นต้น
การช่วยการตัดสินใจ
ต้องมีตัวช่วยในการตัดสินใจเช่น ตารางปฏิทินจะต้องมีการกำหนดกิจกรรมที่จะต้องทำและมีการเตือน จะต้องป้องกันปัญหาที่จะทำให้ผู้ป่วยสับสน เช่น เลือกเสื้อผ้ามาให้ จำนวนชิ้นของอุกรณ์ทำครัวทำครัวต้องมีพอดีไม่มากไป จะต้องเขียนคำอธิบายติดไว้ เช่นในกล่องนี้มีอะไรอยู่ สวิตซ์นี้ปิดไฟดวงไหน ประตูนี้จะไปที่ไหนเป็นต้น
เนื่องจากผู้ป่วยมักจะไม่สามารถแยกแยะเส้นทาง และระยะทางกลับบ้านได้อาจจะใช้เครื่องมือนำทางเช่น GPS ในการนำทาง ควรจะหลีกเลี่ยงการขับรถที่จราจรหนาแน่ หรือสภาพอากาศไม่ดี
การใช้ภาษาและการเรียนรู้
แม้ว่าผู้ที่เริ่มป่วยจะมีปัญหาในการเลือกคำมาใช้อย่างเหมาะสม คนใกล้ชิดต้องพยายามพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อเป็นการฝึกทักษะ และเมื่อผู้ป่วยคิดไม่ออกก็ต้องให้เวลากับผู้ป่วย และต้องไม่หงุดหงิด การทำให้ผู้ป่วยหงุดหงิดจะทำให้เขาลืมมากขึ้น
ต้องพยายามให้ผู้ป่วยเข้าสังคม ฝึกให้ผู้ป่วยเรียกชื่อคนที่รู้จักทุกครั้งที่พบ ฝึกให้ผู้ป่วยจำเนื้อหาของการสนทนา หรือให้เล่าเรื่องใหม่ที่ได้ประสบมาซึ่งจะทำให้มีการฝึกสมองอยู่ประจำ ญาติ เพื่อน คนสนิทจะต้องมาพูดคุยกับผู้ป่วย และพาผู้ป่วยเข้าสังคม เช่นไปเดินเที่ยวตามสวนสาธารณะ ดูภาพยนต์ เต้นรำ ไปเดินตามศูนย์การค้าเป็นต้น
สาเหตุของความจำเสื่อม
ก่อนที่จะบอกว่าเป็นโรคสมองเสื่อมหรือ Alzheimer จะต้องหาสาเหตุที่พอจะแก้ไขได้เช่น
การป้องกันความจำเสื่อม
การฝึกสมอง
สมองก็เหมือนกับกล้ามเนื้อหากเรายิ่งใช้กล้ามกล้ามเนื้อก็จะแข็งแรง สมองก็เช่นกันหากมีการฝึกฝนอยู่เป็นประจำ สมองก็จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างการฝึกสมอง
การเตรียมตัวก่อนพบแพทย์
หากคนที่ท่านรู้จักมีอาการดังกล่าวข้างต้น ท่านจะต้องเตรียมข้อมูล และเตรียมคนที่จะให้ประวัติเนื่องจากแพทย์จะซักประวัติค่อนข้างจะละเอียด สิ่งที่ท่านต้องเตรียมได้แก่
อาการสูญเสียความจำ | อาหารบำรุงสมอง | สมองเสื่อมเริ่มต้น | ขี้หลงขี้ลืม | วิธีป้องกันอาการขี้ลืม