หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

การป้องกันขี้ลืม



เคยไหมครับที่ลืมโน้นลืมนี่ ลืมชื่อคน ลืมชื่อสถานที่ ลืมของ ทำให้เสียเวลาและเสียความรู้สึก บางครั้งหลายท่านอาจจะคิดว่าตัวเองเป็นโรคสมองเสื่อมไปแล้ว อาการเหล่านี้จะพบบ่อยขึ้นในคนที่อายุมากขึ้น

วิธีการป้องกันการหลงลืม

หลายคนถามว่าขี้ลืมเป็นโรคสมองเสื่อมหรือไม่ Alzheimer

เมื่ออายุมากขึ้นมีภาระงาน ภาวะเครียด มากขึ้น ประกอบความสามารถในการเรียนรู้ และความจำลดสำสำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปีทำให้เกิดความกังวลว่าจะเป็นโรคสมองเสื่อมหรือไม่ ความจริงการหลงลืมจะเป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่หากสูญเสียทักษะที่เคยทำเป็น เช่น การหุงข้าว การเปลี่ยนช่องทีวี หรือไม่สามารถแก้ปัญหาง่ายๆ หรือไม่สามารถจัดการเรื่องเงินจ่ายหรือเงินทอนก็ให้สงสัยว่าจะเริ่มเป็นอาการสมองเสื่อม

กิจวัตรเพื่อป้องกันขี้หลงขี้ลืม

กิจวัตรประจำวันตั้งแต่การหลับนอน การดื่มกิน ความเครียดเหล่านี้จะมีผลการขี้หลงขี้ลืม ดังนั้นท่านทั้งหลายหากไม่อยากขี้หลงขี้ลืมจะต้องมีกิจวัตรประจำวันที่ถูกต้อง

การออกกำลังกาย

กายแข็งแรงจะทำให้ใจแข็งแรงไปด้วย การออกกำลังกายจะทำให้สมองทำงานดีขึ้น ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำนอกจากร่างกายจะแข็งแรงแล้วจิตใจยังแข็งแรงจนอายุ70-80 ปี แนะนำว่าให้ออกกำลังกายชนิดปานกลางจนถึงออกกำลังกายหนัก ครั้งละ30 นาทีสัปดาห์ละห้าวัน เชื่อว่าการออกกำลังกายจะช่วยให้ความจำดีขึ้นโดย

วิธีการที่จะเพิ่มการออกกำลังกาย

อาหาร

ฝรั่งชอบพูดคำว่า You are what you eat ซึ่งก็เป็นความจริงโรคหรือภาวะต่างๆที่เราประสบอยู่ส่วนหนึ่งเกิดจากพันธุกรรม อีกส่วนหรือเกิดจากพฤติกรรมโดยเฉพาะเรื่องการรับประทานอาหารซึ่งปัจจุบันนิยมรับประทานอาหารจานด่วน และค่อนไปทางตะวันตกทำให้ได้รับนมเนยมากเกินไปจึงทำให้โรคเบาหวานและความดันมีมากขึ้น สำหรับผู้ที่รับประทานอาหารบำรุงหัวใจนั้นก็จะส่งผลดีต่อความจำด้วย มีการศึกษาว่าการรับประทานอาหาร Mediterranean-type diets ซึ่งอุดมด้วยไขมันไม่อิ่มตัวและผักผลไม้พบว่าจะชลอการเกิดสมองเสื่อม อ่านเรื่องอาหารบำรุงสมองหรือช่วยเพิ่มความจำ

การนอนหลับ

ผู้ที่อดนอนสมองย่อมทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ การนอนจะทำให้สมองได้พักผ่อนเพิ่มความสามารถของสมองเกี่ยวกับเรื่องความจำ ความคิดสร้างสรร การแก้ปัญหา คนปกติควรจะนอนหลับสนิทอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง

การมีสังคมและความสนุกสนาน

คนเราเป็นสัตว์สังคม การมีสังคมมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นจะเป็นการทำให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีการศึกษาพบว่าผู้ที่มีสังคมมากจะมีการลดลงของความจำลงช้าที่สุด ท่านลองเข้ากลุ่มหรือชมรม เช่นอาสาสมัคร หรือชมรมร้องเพลง เต้นรำ หรือออกกำลังกาย หรือจะทำอาหารก็แล้วแต่ถนัน ปัจจุบันการสื่อสารดีขึ้นการใช้ social media ก็จะเป็นทางเลือกในการมีสังคมเพิ่มมากขึ้น

เสียงหัวเราะช่วยรักษาสุขภาพจิตและช่วยเรื่องความจำ

การหัวเราะหรือได้ยินเสียงหัวเราะจะทำให้สมองทุกส่วน รวมทั้งส่วนที่ทำหน้าที่ความจำได้มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีการเพิ่มเสียงหัวเราะ

ความเครียด

ความเครียดเรื้อรังหรือความเครียดสะสมจะมีผลเสียต่อการทำงานของสมองโดยเฉพาะสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำ มีการศึกษาพบว่าการทำสมาธิจะช่วยลดอาการซึมเศร้า ความวิตกกังวล โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และสามารถเพิ่มสมาธิ ความคิดริเริ่ม การเรียนรู้ การมีเหตุมีผล การตัดสินใจ และความจำ

การฝึกสมอง

สมองของคนเรามีการพัฒนาและสะสมประสบการณ์ตั้งแต่เด็ก ทำให้เราสามารถรื้อฟื้นความจำได้อย่างรวดเร็ว แก้ปัญหาที่เกิดซ้ำได้อย่างรวดเร็ว แต่หากเราไม่มีสิ่งที่ท้าทายใหม่มากระตุ้น สมองเราก็หยุดพัฒนา กิจกรรมที่มีการใช้มือทั้งสองข้างจะทำให้มีการพัฒนาสมอง เช่นการเล่นดนตรี การเล่นเกมส์ การตีปิงปอง การเย็บปักถักร้อย กิจกรรมที่จะมีการฝึกสมองต้องมีองค์ประกอบดังนี้

วิธีการเพิ่มความจำ

อาการสูญเสียความจำ | อาหารบำรุงสมอง | สมองเสื่อมเริ่มต้น | ขี้หลงขี้ลืม | วิธีป้องกันอาการขี้ลืม