ภาวะโลหิตจางในผู้ป่วยโรคไต


โรคไตแบ่งออกเป็นห้าระยะดังกล่าวข้างต้นโดยดูจากอัตราการกรองของไต โรคแทรกซ้อนจะเกิดตั้งแต่ระยะที่สามของโรค

จะรู้ได้อย่างไรว่าโลหิตจางหรือซีด

เล็บซีด

ฐานเล็บจะซีดอย่างชัดเจน

ฝ่ามือซีด

ฝ่ามือจะซีด

ภาวะโลหิตจางหมายถึง ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงน้อย ซึ่งจะมีอาการดังนี้

  • ดูซีด ผิวซีด ปากและเปลือกตาซีด
  • รู้สึกเหนื่อยง่าย
  • อ่อนเพลียไม่อยากจะทำอะไร
  • เบื่ออาหาร
  • นอนหลับยาก
  • คิดช้า ตัดสินใจช้า
  • มึนงง
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • เหนื่อยง่าย

สาเหตุของโลหิตจางมีอะไรบ้าง

สาเหตุของโลหิตจางมีหลายสาเหตุดังนี้

  • มีโรคประจำตัวเช่น โรคตับ โรคไต โรคเอดส์ SLE
  • มีโรคเกี่ยวกับเลือดเช่น thallasemia
  • เสียเลือดเช่น ประจำเดือนมามาก ริดสีดวง เลือดออกทางเดินอาหาร บางโรคเลือดออกทีละน้อยโดยที่ไม่รู้ตัว
  • การติดเชื้อเรื้อรัง
  • ขาดธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 ขาดกรดโฟลิก
  • ขาดอาหาร

ทำไมโรคไตจึงมีภาวะโลหิตจาง

ไตทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนตัวหนึ่งชื่อ Erythropoetine ที่กระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อไตเสื่อไม่สามารถสร้างฮอร์โมนนี้อย่างเพียงพอจึงทำให้เกิดโลหิตจางโดยเฉพาะกลุ่มโรคไตดังต่อไปนี้

  • เป็นเบาหวาน
  • เป็นโรคไตระยะที่ 3 ขึ้นไป
  • เป็นผู้หญิง

จะรู้ได้อย่างไรว่ามีโลหิตจาง

แพทย์จะเจาะเลือดตรวจหากระดับ Hemoglobin (Hb) ต่ำกว่า 12.0 และ 13.5 g/dLในหญิงและชายตามลำดับจะถือว่ามีโลหิตจาง แนวทางการดูแลผู้ที่มีโลหิตจางในโรคไตมีดังนี้

  • ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีระดับ Hemoglobin (Hb) ต่ำกว่า 10.0 g/dL โดยวินิจฉัยแยกสาเหตุของภาวะโลหิตจางอื่นๆ ออกไปแล้ว ควรได้รับ erythropoiesis stimulating agent (ESA)
  • ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับยา ESA ควรมีปริมาณเหล็กในร่างกายเพียง พอที่จะทำให้ระดับ Hb มากกว่า 10.0 g/dL โดยเป้าหมายที่แสดงว่า มีปริมาณเหล็กเพียงพอคือ serum ferritin มากกว่า 100 ng/mL และ Transferrin saturation (TSAT) มากกว่า 20% โดยมีการตรวจ ก่อนการให้ ESA และติดตามอย่างน้อยทุก 3 เดือน
  • อย่างไรก็ดี ควรระมัดระวังภาวะเหล็กเกินในร่างกาย ถ้า serum ferritin มีค่ามากกว่า 500 ng/mL การให้ธาตุเหล็กเสริมอาจให้ในรูป ยารับประทานหรือยาฉีด
  • ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับยา ESA ควรมีระดับ Hb เป้าหมายที่ 10.0 g/dL

โรคโลหิตจางจะแพร่หลายมากขึ้นเมื่อการทำงานของไตลดลง ภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรง (เช่น Hb < 10.0 g/L) เนื่องจาก CKD เป็นเรื่องผิดปกติก่อนไตเสื่อมระยะ G3b ควรพิจารณาหาสาเหตุอื่นของโลหิตจางเสมอ การจัดการ “ภาวะโลหิตจางในไต” มักจะประกอบด้วยสารกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง erythropoietin และ / หรือการเสริมธาตุเหล็ก การรักษาโรคโลหิตจางในผู้ป่วยที่เป็นโรค CKD จะทำให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไตเสื่อมช้าลง และลดผลเสียด้านระบบหัวใจและหลอดเลือด

การจัดการภาวะโลหิตจางใน CKD

  • ต้องหาสาเหตุของโลหิตจางอื่นและรักาาตามสาเหตุ
  • เมื่อ Hb ต่ำกว่า 10.0g/L อาจพิจารณาการรักษาด้วยยากระตุ้นธาตุเหล็ก ± erythropoiesis ทางเส้นเลือด
  • จุดมุ่งหมายของการรักษาคือการรักษาระดับ Hb ให้อยู่ในช่วง 10.0-12.0 g/L .

กลับไปอ่านการรักษาโรคไต