การประเมินความรุนแรงหรือระยะของโรคไต
การประเมินความรุนแรงของโรคไตแบ่งออกเป็น 5 ระยะ ระยะที่1จะมีการสูญเสียหน้าที่การทำงานของไตน้อยสุด ส่วนระยะที่5ไตจะไม่ทำงาน หากทราบแต่ระยะแรกก็มีการรักษาเพื่อชะลอการเสื่อมของโรคไต หรือโรคไตบางโรคสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยทั่วไปจะแบ่งโรคไตออกเป็น 5 ระดับโดยอาศัยการตรวจปัสสาวะและการตรวจเลือด
ระยะของโรคไต |
คำอธิบาย | GFR |
1 |
ไตได้รับความเสียหาย แต่อัตราการกรองยังดี | >90 |
2 |
ไตได้รับความเสียหาย อัตราการกรองลดลงเล็กน้อย | 60-90 |
3 |
อัตราการกรองลดลงปานกลาง | 30-59 |
4 |
อัตราการกรองลดลงมาก | 15-29 |
5 |
ไตวาย | <15 |
เมื่อทราบว่าเป็นโรคไตแพทย์จะส่งตรวจอะไรบ้าง
ควรมีการติดตามระดับการทำงานของไตโดยการตรวจค่า eGFR และการตรวจปัสสาวะโดยมีความถี่ในการตรวจแบ่งตามระยะของโรคไตเรื้อรังได้ ดังนี้
โรคไตระยะที่1
โรคไตระยะที่1หมายถึงอัตราการกรองของไตมากกว่าร้อยละ90
ในระยะที่1ไตจะเสียหายน้อยมากมักจะไม่มีอาการของโรคไต ระยะนี้เริ่มตรวจพบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับไต แต่การทำงานของไตยังดีอยู่ สิ่งที่ตรวจพบอาจจะตรวจพบ โปรตีนในปัสสาวะ ดังดูแลช่วงนี้คือการป้องกันมิให้ไตเสื่อมเพิ่มขึ้น โรคไตเรื้อรังระยะที่ 1 ติดตามอย่างน้อยทุก 12 เดือน (ทุก 6 เดือน ถ้าตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ)
- หากคุณเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานให้ปรับพฤติกรรม ควบคุมน้ำหนักและให้ออกกำลังกาย
- หากคุณเป็นเบาหวานก็ให้คุมเบาหวานให้ดี
- รักษาระดับความดันโลหิตให้ปกติ
- รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
- งดการสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายวันละ 30 นาที สัปดาห์ละห้าวัน
- ควบคุมน้ำหนัก
- ปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันโรคไต
การดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่1
โรคไตระยะที่2
โรคไตระยะที่2การทำงานของไตอัตรากรอง eGFR อยู่ที่ร้อยละ60-89
โรคไตระยะที่2ไตเริ่มสูญเสียการทำงานไปบางส่วนแต่ยังไม่มีอาการโรคไตเรื้อรัง การดูแลระยะนี้เหมือนกับการดูแลโรคไตระยะที่1โรคไตเรื้อรังระยะที่ 2 ติดตามอย่างน้อยทุก 12 เดือน (ทุก 6 เดือน ถ้าตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ)
- หากคุณเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานให้ปรับพฤติกรรม ควบคุมน้ำหนักและให้ออกกำลังกาย
- หากคุณเป็นเบาหวานก็ให้คุมเบาหวานให้ดีControl your blood sugar if you have diabetes.
- รักษาระดับความดันโลหิตให้ปกติ
- รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
- งดการสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายวันละ 30 นาที สัปดาห์ละห้าวัน
- ควบคุมน้ำหนัก
- ปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันโรคไต
โรคไตระยะที่3
โรคไตระยะที่2การทำงานของไตเหลืออัตราการกรอง 30-59 โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ติดตามอย่างน้อยทุก 6 เดือน (ทุก 12 เดือน ถ้าระดับการทำงานของไตคงที่และตรวจไม่พบโปรตีน ในปัสสาวะ)
โรคไตระยะที่3ไตเสียหน้าที่ไปมากพอสมควร ในระยะนี้แบ่งออกเป็น
- โรคไตระยะ 3a อัตรากรองของไตอยู่ที่ 45 - 59
- โรคไตระยะ3b อัตรากรองของไตอยู่ที่ 30 - 44
ระยะนี้ส่วนใหญ่ไม่มีอาการโรคไต แต่ก็มีบางคนจะเริ่มมีอาการโรคไตเช่น
- บวมหลังเท้า บวมหน้า
- ปวดหลัง
- ปัสสาวะบ่อยหรือน้อย
ในระยะนี้เริ่มจะมีภาวะแทรกซ้อนจากไตวาย ให้เห็นเช่น ความดันโลหิตสูง โลหิตจาง การดูแลเหมือนกับโรคไตในระยะที่1และ2 แต่จะต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ฌแพาะทาง และต้องควบคุมอาหาร
การดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่3
โรคไตระยะที่4
โรคไตระยะที่4 อัตราการกรองของไตเหลือ 15-30 โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 ติดตามอย่างน้อยทุก 3 เดือน (ทุก 6 เดือน ถ้าระดับการทำงานของไตคงที่)
โรคไตระยะที่4การตราการกรองของไตลดลงมาก เป็นระยะสุดท้ายก่อนต้องฟอกไต ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการได้แก่
- บวมเท้า บวมมือ
- ปวดหลัง
- ปัสสาวะมากหรือน้อย
ผู้ป่วยโรคไตระยะนี้จะมี ความดันโลหิตสูง โลหิตจาง ระยะนี้ท่านต้องปรึกษาแพทย์เพื่อเตรียมการรักษา
- เตรียมการฟอกไต
- การเตรียมการเปลี่ยนไต
- พบกับนักโภชนากรเพื่อปรับเรื่องอาหาร
- พบแพทย์เพื่อปรับยารักษาโรค
การดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่4
ผู้ปาวยไตระยะที่5
ผู้ปาวยไตระยะที่5อัตรากรองเหลือน้อยกว่า15 โรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 ติดตามอย่างน้อยทุก 3 เดือน
ผู้ป่วยไตระยะที่5เป็นระยะสุดท้ายของไตวาย ไตไม่ทำงานจะต้องฟอกไตเท่านั้น อาการของผู้ป่วยระยะนี้
- คันตามผิวหนัง
- ตะคริว
- คลื่นไส้อาเจียน
- ไม่อยากอาหาร
- มือเท้าบวม
- ปวดหลัง
- ปัสสาวะอาจจะน้อยหรือมาก
- หายใจเหนื่อย
การรักษาในระยะนี้จะต้องฟอกเลือดหรือการเปลี่ยนไต
การดำเนินของโรคไตเรื้อรังไปสู่ไตวาย
เราจะประเมินจากผลการตรวจโปรตีนในปัสสาวะและอัตรากรองของไต
ตารางแสดงความสัมพันธ์ของ uACR และภาวะไตเสื่อมกับการดำเนินของโรคไต
<30 mg/g | 30-300mg/g | >300 mg/g | |
ไตเรื้อรังระยะ1 | |||
ไตเรื้อรังระยะ2 | |||
ไตเรื้อรังระยะ3a | |||
ไตเรื้อรังระยะ3b | |||
ไตเรื้อรังระยะ4 | |||
ไตเรื้อรังระยะ5 |
สีจะแสดงความเสี่ยงของการเกิดโรคไต
- สีเขียว ความเสี่ยงต่ำ(ต้องไม่มีโรคไต)
- สีเหลือง ความเสี่ยงปานกลาง
- สีส้ม ความเสี่ยงสูง
- สีน้ำเงิน เสี่ยงสูงมาก
- สีแดง เสี่ยงสูงสุด
การดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่5
การวินิจฉัยโรคไต | การรักษาโรคไต |