ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน

หมายถึงภาวะที่ทำให้เนื้อกระดูกลดลงเร็วกว่าปกติ บางคนมีหลายปัจจัยเสี่ยง แต่บางคนก้ไม่มีปัจจัยเสี่ยง

  1. ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง
  • เพศหญิงจะมีการเกิดกระดูกพรุนมากและเร็วกว่าผู้ชายเพราะผู้หญิงวัยทองขาด estrogen ทำให้เกิดการละลายของกระดูกมากกว่าปกติ การรับประทานแคลเซี่ยมเป็นประจำช่วยลดอุบัติการณ์ของกระดูกหัก
  • อายุมากเกิดกระดูกพรุนได้มากกว่าอายุน้อย
  • ขนาดของร่างกาย ผู้ที่ผอมและตัวเล็กจะมีกระดูกพรุนได้ง่าย
  • เชื้อชาติ
  • ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเรื่องกระดูกพรุนจะเกิดโรคได้ง่าย
  1. ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถแก้ไขได้
  • ฮอร์โมนเพศไม่ว่าหญิงหรือชายหากมีฮอร์โมนต่ำก็เกิดกระดูกจางได้
  • เบื่ออาหาร
  • อาหารที่รับประทานมีแคลเซี่ยมต่ำ
  • ใช้ยาบางชนิดเป็นประจำเช่น steroid ยากันชัก
  • ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
  • สูบบุหรี่
  • ดื่มสุรา

การประเมินความเสี่ยงว่าจะเป็นดรคกระดูกพรุนหรือไม่

การประเมินความเสี่ยง คะแนน
สุขภาพเป็นเช่นใด
  • ดี
  • ปานกลางลงมา
0

1

ผิวดำ -1
ประวัติแม่ หรือน้องสาวกระดูกสะโพกหัก 1
น้ำหนักลดเมื่อเทียบกับตอนอายุ 25 ปี 1
สูงกว่า 165 ซม 1
เป็นโรคสมองเสื่อม 1
ได้รับยา steroid 1
ได้รับยากันชัก 1
ได้รับยากลุ่ม benzodiazepamเช่น valium 1
ไม่ได้ออกกำลังกาย 1
ต้องใช้แขนช่วยเวลาลุกจากเก้าอี้ 1
มีกระดูกหักเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี 1
อายุมากกว่า80ปี 1
วัยทองและไม่ได้รับฮอร์โมนทดแทน 1
ยืนน้อยกว่าวันละ 4 ชั่วโมง 1
หัวใจเต้นเกิน 80 ครั้งเวลานั่งเฉยๆ 1
รวมคะแนน  

คะแนน 0-2   ความเสี่ยงต่อกระดูกพรุนต่ำ

คะแนน 3-4  ความเสี่ยงต่อกระดูกพรุนปานกลาง

คะแนนมากกว่า 5 ความเสี่ยงต่อกระดูกพรุนสูง

 

 

หากท่านพบว่าท่านมีความเสี่ยงของการเกิดกระดูกพรนสูงโปรดปรึกษาแพทย์และปฏิบัติตามวิธีป้องกันโรคกระดูกพรุน


กระดูกพรุน