ท่าดีสุขภาพเยี่ยม
เมื่อพูดถึงสุขภาพดีมักจะหมายถึงการรับประทานอาหารคุณภาพ การออกกำลังกาย การพักผ่อนที่พอเพียง หลีกเลี่ยงสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น สุรา บุหรี่ ยาเสพติด การยืน นั่ง หรือนอนก็เป็นส่วนสำคัญทำให้สุขภาพดี เนื่องจากร่ายไม่ต้องรับแรงที่ไม่สมดุล การยืนเดินนั่งถูกท่าเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมฟิตเนสเพื่อให้ท่าดูสง่างาม
ทำไมท่าดีถึงสุขภาพดี
การที่อยู่ในท่าที่ดีหมายถึงการที่กระดูก กล้ามเนื้อ ข้อต่ออยู่ในแนวที่เหมาะสมทำให้ร่างกายไม่ต้องทำงานหนัก อวัยวะต่างๆสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อวัยวะในร่างกายรวมทั้งระบบประสาทก็ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ในทางตรงกันข้ามหากร่างกายอยู่ในท่าที่ไม่ดีหรือสมดุลอวัยวะต่างๆก็จะทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ในระยะยาวก็อาจจะเกิดผลเสียต่อระบบต่างๆเช่น ระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ ระบบข้อและกล้ามเนื้อ
สาเหตุที่ทำให้ท่าไม่ถูกต้อง
ปัจจุบันมีปัจจัยที่ทำให้ท่าทางผิดปกติไป เช่น การที่เราใช้เวลาดูทีวีมากเกินไป ชีวิตการทำงานนั่งแต่บนโต๊ะทำงาน หรือต้องขับรถบ่อยทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย แต่การที่ท่าไม่ถูกต้องมักจะเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน
- การได้รับอุบัติเหตุ หรือหกล้ม
- ที่นอนนิ่มหรือแข็งเกินไป
- น้ำหนักตัวมากเกินไป
- สาตาผิดปกติ
- มีปัญหาเกี่ยวกับเท้าหรือรองเท้า
- กล้ามเนื้ออ่อแรง
- การนั่ง การยืนหรือการนอนไม่ถูกต้อง
- มีความเครียดจากการทำงาน
- สิ่งแวดล้อมที่ทำงานไม่ถูกต้อง
การตรวจสอบท่าตัวเอง
ท่านสามารถตรวจสอบท่าตัวเองได้อย่างง่ายๆโดยวิธีดังต่อไปนี้
- ยืนให้ส้นเท้าห่างกำแพง 6 นิ้วศีรษะและหลังชิดกำแพง แล้วใช้นิ้วมือวัดระยะห่างระหว่างกำแพงและเอวหากห่าง 1-2 นิ้วมือถือว่าปกติ ระยะห่างระหว่างกำแพงและคอหากพบว่าห่าง 2 นิ้วมือถือว่าปกติ หากไม่ได้ตามนี้ควรจะปรึกษาแพทย์
- ยืนส่องกระจกบานใหญ่ให้เห็นทั้งตัวแล้วสังเกตส่วนต่างๆของร่างกาย
- ศรีษะและคอควรจะตั้งตรง ไม่เอียง
- ไหล่ ระดับของไหล่ควรจะอยู่ระนาบเดียวกัน หากสูงต่ำไม่เท่ากันควรจะปรึกษาแพทย์
- ช่องว่างระหว่างแขนและลำตัวควรจะเท่ากัน
- ระดับของสะโพกควรจะอยู่ในระนาบเดียวกัน
- เข่าควรจะชิดกันไม่โก่ง
ถ่ายรูุปด้านข้างแล้วสังเกตสิ่งต่อไปนี้
- ศีรษะควรจะตรงไม่เอนไปข้างหน้าหรือหลัง
- คางควรจะขนานกับพื้น
- ไหล่ควรจะอยู่แนวเดียวกับหู และไหล่ไม่ตก
- หน้าท้องควรจะแบนราบ
- หลังตรงอาจจะมีรอยโค้งเล็กน้อยบริเวณเอว
- เข่าตรง
กลวิธีที่จะให้มีรูปร่างและท่าทางดี
- อย่าให้อ้วน โดยเฉพาะอ้วนลงพุงเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อหลังและท้องอ่อนแรง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
- เลือกเตียงนอนที่ไม่แข็งหรือนิ่มเกินไป
- ระวังเรื่องอุบัติเหตุโดยเฉพาะบริเวณหลัง
- ตรวจ check สายตา
- ขณะนั่ง ยืนหรือนอนต้องทำให้ถูกต้อง
ท่าผิดปกติที่พบได้บ่อยๆได้แก่
- ท่าของคนที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะมีลักษณะดังนี้
- ศีรษะเอนไปข้างหน้า
- ไหล่งุ้มไปข้างหน้า
- หลังโค้งมน
- อกฝ่อ
- ท้องแฟบ
- ก้นย้อย
- ท่าทหาร ท่านี้หลังจะตรงมากทำให้กระดูกหลังได้รับแรงกระแทกเต็มที่ทำให้มีอาการปวดหลัง ลักษณะที่สำคัญคือ
- ศีรษะจะเอนไปทางหลัง
- ไหล่จะถูกดึงไปทางหลัง
- เอวแอ่น
- เข่าตรง
- หลังค่อม มักจะเกิดตั้งแต่ในวัยรุ่นนั่งไม่ถูกต้อง
- หลังโก่ง
- ศีรษะเอนไปข้างหน้า
ข้อเสียของการที่มีท่าที่ไม่ดี
- การเคลื่อนไหวไม่คล่องตัว
- มีอาการปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่นไหล่ คอ หลัง แขน
- อาจจะมีอาการเจ็บกรามเนื่องจากคางที่ยื่นไปข้างหน้า
- ปอดทำงานไม่เต็มที่เนื่องจากการโครงสร้างที่ผิดไป
- ปวดหลัง
- เส้นประสาทถูกกดทับ
- ท้องผูก
- ดูแก่กว่าวัย
การป้องกัน
- การยืนต้องถูกต้อง ศีรษะตรง คางขนานกับพื้น อกแอ่นไปข้างหน้าเล็กน้อย ไหล่แอ่นมาข้างหลังเล็กน้อย หากต้องทำงานยืนนานให้พักเท้าข้างหนึ่ง ยืนด้วยเท้าข้างหนึ่งสลับการ
- เมื่อนั่งให้หาหมอนหนุนที่เอว หาที่รองเท้าให้เข่าสูงกว่าข้อสะโพก หากต้องนั่งนานให้ลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสาย
- การปรับโต๊ะคอมพิวเตอร์
- การปรับเบาะเมื่อเวลาขับรถ ปรับให้เข่าสูงกว่าสะโพกและมีหมอนหนุนเอว
- การนอนให้นอนตะแคงนอนก่ายหมอนข้าง หรือนอนหงายมีหมอนข้างรองบริเวณเข่า อย่าหนุนหมอนที่สูงเกินไป อย่านอนคว่ำ
- การยกของให้ย่อเข่าแล้วยกแทนการก้มแล้วยกโดยเฉพาะการก้มแล้วเอี้ยวตัว