การหกล้ม สาเหตุและการป้องกัน


การหกล้มเป็นอุบัติเหตุที่สำคัญสำหรับผู้สูงอายุ(มากกว่า 65 ปี) ส่วนใหญ่มักจะเกิดในบ้าน เช่นห้องนั่งเล่น ลื่นล้มในห้องน้ำ ทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ กระดูกมือหัก กระดูกสะโพกหัก กระดูกหลังหัก

  • ผู้ป่วยร้อยละ 60 หกล้มในบ้าน ร้อยละ 30 เกิดในชุมชน ร้อยละ 10 เกิดในสถานสงเคราะห์คนชรา
  • ร้อยละ 25 เกิดจากพื้นลื่น  แสงสว่างไม่พอ ใส่รองเท้าไม่เหมาะ มีวัสดุขวางทางเดิน

  • ผู้ป่วยร้อยละ40ที่นอนโรงพยาบาลด้วยเรื่องกระดูกสะโพกหักไม่ได้กลับบ้าน และมีชีวิตต้องพึ่งพาผู้อื่น
  • ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเสียชีวิตร้อยละ25ในปีถัดมา
  • หากมีประวัติการหกล้มมาก่อน ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติซ้ำสูงเป็น 2 เท่าของผู้สูงอายุท่านอื่นที่ไม่เคยมีประวัติ
  • หากผู้สูงอายุเป็นผู้ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ค่อยได้ เมื่อขาดคนดูแลก็อาจเกิดอุบัติได้ง่ายกว่าผู้สูงอายุที่ยังคงช่วยเหลือตนเองได้ด

สาเหตุหกล้มเนื่องจากผู้สูงอายุ

  • อายุ อายุมากกว่า 50 ปีจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก
  • กายกิจกรรม ผู้ที่ไม่ออกกกำลังกายจะทำให้การทรงตัวไม่ดี และมีโรคกระดูกพรุน
  • เพศ ผู้หญิงจะมีโอกาสกระดูกหักมากกว่าผู้ชายสองเท่า
  • คนที่สูบบุหรี่หรือดื่มสุราจะมีกระดูกพรุนมากกว่าคนปกติ
  • อาหาร ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อยจะมีโอกาสกระดูกหักได้ง่าย
  • โดยเฉพาะการสวมใส่เสื้อผ้าที่ยาวรุ่มร่ามจนเกินไป ของใช้ส่วนตัวในกรณีที่ผู้สูงอายุช่วยเหลือตนเองไม่ค่อยได้ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น รองเท้าที่มีพื้นสัมผัสลื่นง่าย รถเข็นอยู่ในสภาพไม่ดี ไม้เท้าชำรุด หรือปลายไม้เท้าไม่มีที่กันลื่น เป็นต้น

สาเหตุหกล้มเนื่องจากสุขภาพ

  • มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิต เช่นความดันโลหิตต่ำเนื่องจากทานยาขับปัสสาวะ หรือยาลดความดัน
  • การหน้ามืดวิงเวียน เป็นลม เนื่องจากความดันต่ำ ภาวะโลหิตจาง หรือโรคของหูชั้นกลาง
  • การเสียการทรงตัวเป็นปัจจัยที่พบบ่อยที่สุดระบบการทรงตัวไม่ดีเพราะหูชั้นในเสื่อม หรือเคลื่อนไหวเร็วไม่ได้ เชื่องช้าจนเกินไป 
  • มะเร็งแพร่กระจายไปที่กระดูก
  • มีโรคเกี่ยวกับสมองเช่นโรคหลอดเลือดสมอง
  • มีโรคข้ออักเสบหรือข้อต่อต่างๆไม่ดีทำให้ไม่เคลื่อนไหวทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง  กล้ามเนื้ออ่อนแรง 
  • ประสาทสัมผัสเสื่อม ช่วยเหลือตนเองไม่ค่อยได้หากปราศจากคนดูแลก็จะมีโอกาสเกิดการหกล้มสูง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับสายตา สายตาเสื่อมทำให้การมองเห็นแม้ในระยะใกล้ก็แปรเปลี่ยนไปจนเกิดชนเข้ากับสิ่งของและล้มลงได
  • และการได้ยินหูตึงจนไม่ได้ยินเสียง เช่น เสียงแตรหรือเสียงรถยนต์ ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกรถชนอย่างมาก
  • ผลข้างเคียงจากยา
  • อารมณ์ของผู้สูงอายุเองก็มีส่วนเช่นเครียดง่าย ฉุนเฉียวง่าย กลัว หรือชอบวิตกกังวล

แนวทางแก้ไขเรื่องสุขภาพ

  • ตรวจร่างกายประจำปีโดยเฉพาะเรื่องโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง
  • รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีอย่างเพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • นำยาทั้งหมดปรึกษาแพทย์
  • รู้ผลข้างเคียงของยา
  • รับประทานยาอย่างเคร่งครัด

สาเหตุหกล้มเนื่องจากสิ่งแวดล้อม

  • พื้นลื่นพบร้อยละ 42.8
  • การสะดุดสิ่งกีดขวางพบถึงร้อยละ 38.8
  • พื้นต่างระดับ เป็นสาเหตุร้อยละ 26.3
  • การถูกชนล้มพบประมาณร้อยละ 4
  • การตกบันไดพบร้อยละ 3.5
  • ตามทางเดิน รกเกะกะ หรือมีสัตว์เลี้ยงในบ้านเช่น สุนัขและแมวเพ่นพ่าน
  • ขั้นบันไดถี่หรือห่างจนเกินไป ก้าวขึ้น-ลงด้วยความลำบาก พื้นที่ทางเดินมีจุดที่ต่างระดับกันมากๆก็สามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ทั้งสิ้น
  • พื้นบ้านหรือพื้นห้องน้ำอาจลื่นจนเกินไป พื้นเปียก เช่นพื้นห้องน้ำ หรือพื้นบ้านที่เปียกน้ำ
  • แสงในห้องไม่เพียงพอโดยเฉพาะในจุดที่สำคัญ
  • การจัดวางของในบ้านไม่ดี ทำให้การหยิบฉวยลำบากเช่นสูงไปหรือต่ำไป ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งตกบันได
  • พรมที่ปูพื้นไม่ได้ยึดติดทำให้ลื่น
  • ภาวะเร่งรีบเช่นรีบไปห้องน้ำเป็นต้น


การป้องกันด้วยการตรวจสุขภาพเพื่อป้องกันการหกล้ม

สำหรับผู้สูงอายุนอกจากจะตรวจสุขภาพทั่วไปแล้ว ยังประเมินความเสี่ยงของการหกล้มตัวอย่างที่ต้องประเมิน

  • การเดิน การเดินจะบ่งบอกสุขภาพโดยรวม และโรค
  • การทรงตัว ทรงตัวได้ดีเพียงใด เวลายืนต้องเกาะพนังหรือเก้าอี้เพื่อการทรงตัวหรือเปล่า สามารถยืนโดยที่หลับตาได้หรือไม่ หากมีปัญหาเรื่องการทรงตัวจะเสี่ยงต่อการหกล้ม
  • การเคลื่อนไหวของข้อ ข้อต่างๆมีการตอบสนองต่อคำสั่งได้ดีเพียงใด ข้อต่างๆมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวหรือไม่ เช่นมีข้อติด หรือข้อเสื่อมหรือไม่ การตอบสนองของการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติอย่างรวดเร็วจะป้องกันการหกล้มได้
  • ความแข็งแรง หากสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติก็จะมีความเสี่ยงต่อการหกล้มต่ำ
  • อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการเต้นของหัวใจมีผลต่อการทำงานของสมอง กล้ามเนื้อ และการมองเห็น หัวใจเต้นเร็วไปหรือช้าไปก็มีผลต่อความเสี่ยงในการหกล้ม
  • ความดันโลหิต สำหรับผู้ที่รับประทานยาลดความดันโลหิตควรจะวัดความดันทั้งท่านอนและยืน หากท่านมีอาการหน้ามืดเมื่อเปลี่ยนจากท่านอนไปยืนท่านต้องแจ้งแพทย์ให้ทราบเพราะอาจจะเป็นสาเหตุของการหกล้ม
  • ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะทำให้การทรงตัวดี และการเดินก็ดีซึ่งจะลดการเกิดหกล้ม
  • ระบบประสาท การตอบสนองของระบบประสาท อาการชาของเท้า เหล่านี้จะมีผลต่อการหกล้ม
  • ภาวะโภชนาการ หากรับประทานอาหารได้น้อยก็จะเสี่ยงต่อกระดูกพรุน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ภาวะซีด ซึ่งเสี่ยงต่อการหกล้ม
  • อาการปวดทั้งที่แขน ไหล่ หรือเท้าจะทำให้เสี่ยงต่อการหกล้ม
  • ข้ออักเสบ หรือข้อเสื่อม หากยังมีอาการปวดก็จะเสี่ยงต่อการหกล้ม

การป้องกันโดยทำบ้านให้ปลอดภัย

ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยจะหกล้มที่บ้าน ซึ่งสามารถป้องกันได้

1.ตามทางเดินจะต้องไม่มีสิ่งกัดขวาง เช่นหนังสือ ของเล่น ผ้าเช็ดเท้า แก้

2.สำหรับบ้านที่ใช้พรม ควรจะใช้พรมขนาดใหญ่ซึ่งจะไม่ลื่น และควรจะมีการติดกวากับพื้นเพื่อป้องกันการลื่นไหล

3.พื้นห้องน้ำควรจะปูด้วยวัสดุที่ไม่ลื่นไหล

4. ติดตั้งราวสำหรับจับในห้องน้ำและทางเดิน

5. แสงสว่างต้องพอ และควรจะมีไฟฉายไว้หัวเตียง

6.ข้าวของที่ใช้เป็นประจำต้องวางในที่หยิบสะดวก ไม่สูงเกินไป

7. ไม่เดินเท้าเปล่า หรือใส่รองเท้าแตะ ถุงเท้า ถุงน่อง ควรใส่รองเท้าหุ้มส้นที่พื้นรองเท้าทำด้วยยางกันลื่น

8. ใช้ไม้เท้า หรือ เครื่องพยุงตัวช่วยเดิน

9.กะระยะสูงต่ำให้ดีก่อนที่ก้าวขึ้นหรือก้าวลง


การป้องกันดูแลสุขภาพให้แข็งแรง

  1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อหน้าท้อง และกล้ามเนื้อหลัง
  2. ให้ความสนใจกับยาที่ท่านรับประทานอยู่ เนื่องจากอาจจะเกิดผลข้างเคียงจากยาที่ท่านรับประทาน เช่น ยาลดความดันโลหิต(ลดมากไป) ยาเบาหวาน(น้ำตาลต่ำหรือสูงไป) ยาขับปัสสาวะ(อาจจะทำให้เกิดอาการหน้ามืด) ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ(อาจจะทำให้ง่วงซึม)
  3. ให้ตรวจสายตาทุกปี สายตาที่พร่ามัวจะเป็นสาเหตุของการหกล้ม
  4. รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดี และแคลเซี่ยมซึ่งจะทำให้กระดูกแข็งแรง
  5. อย่ารีบแร่ง ให้นึกถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ
  6. ลดการดื่มสุรา