กระดูกพรุนจากการใช้ยา
การใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานานๆ จะทำให้การสร้างเนื้อกระดูกลดลงทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน
การใช้ยา Steroid ได้มีการใช้แพร่หลายในการรักษาหลายโรค รวมทั้งได้มีการซื้อรับประทานเองเป็นจำนวนมาก ซึ่งอยู่ในรูปแบบยาชุดแก้ปวด
ยาชุดแก้หอบหืด ยาชุดเจริญอาหาร ยาลูกกลอน ส่วนโรคที่จำเป็นต้องใช้ steroid ได้แก่โรคหอบหืดชนิดรุนแรง ถุงลมโป่งพอง
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเอสแอลอี เป็นต้น แม้ว่าผลการรักษาจะได้ผลดีแต่การใช้ยา steroid ในระยะยาวก็ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้
กลไกการเกิดเชื่อว่ายา steroid จะไปเพิ่มกลไกการละลายกระดูก ลดการดูดซึมของธาตุแคลเซียม
และลดการสร้างฮอร์โมนทางเพศ
ผลการใช้ยา Steroid ต่อกระดูก
ผลต่อเนื้อกระดูก Bone mass
พบว่าการใช้ยา steroid จะทำให้เนื้อกระดูกลดลงส่งผลให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลงและเกิดกระดูกหักได้ง่าย เนื้อกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วง 6-10 เดือนหลังจากเริ่มใช้ หลังจากนั้นเนื้อกระดูกก็จะลดลงอย่างช้าๆโดยเฉพาะกระดูกสันหลังและซี่โครง ปริมาณเนื้อกระดูกที่ลดลงขึ้นกับปริมาณและระยะเวลาที่ใช้ยา หลังจากหยุดการใช้ยาความแข็งแรงของกระดูกก็จะดีขึ้นอย่างช้าๆ
กระดูกหัก
เนื่องจากเนื้อกระดูกลดลงจึงทำให้กระดูกหักง่าย จากการสำรวจพบว่าเมื่อใช้ยามากกว่า
3-5 ปีจะพบมีการหักของกระดูกหลัง ปริมาณยาที่ใช้คือหากเกิน 7.5 มก.ต่อวันมากกว่า
6 เดือนจะเสี่ยงต่อการหักของกระดูก
การวินิจฉัย
เนื่องโรคกระดูกพรุนไม่มีอาการ
นอกจากบางรายอาจจะมีอาการปวดกระดูกหากไม่มีอาการจะทราบได้โดยการตรวจวิธีพิเศษ
รายละเอียดอ่านที่นี่
- การ x-ray กระดูกอาจจะเห็นว่ากระดูกจางลงแต่ผลที่ได้ไม่แม่นยำ
- การใช้เครื่องวัดความหนาแน่นของกระดูก
การป้องกันโรคกระดูกพรุน
หลักการทั่วไปในการป้องกันโรคกระดูกพรุนจากการใช้ Steroid
- ทบทวนว่ายังมีความจำเป็นต้องใช้ยานี้อีกหรือไม่
- สามารถลดขนาดยาให้ต่ำที่สุดโดยที่ผลการรักษาไม่เสีย
- ใช้ยานี้ด้วยวิธีอื่นได้หรือไม่ เช่นการทา การใช้เป็นยาพ่น
- สามารถใช้ยาอื่นทดแทนได้หรือไม่เช่น azathioprine, methotrexate
- ทุกคนที่ใช้ steroid ให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน
เช่นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง การออกกำลังกาย งดบุหรี่ หยุดสุรา
- ให้เสริมแคลเซียมและวิตามิน ดีในรายที่คิดว่าขาดสารอาหาร
การรักษาโรคกระดูกพรุนจาก steroid
หากท่านได้รับ prednisolone มากกว่าวันละ 7.5 มก.เป็นเวลามากกว่า 6
เดือนและมีลักษณะดังตารางที่1ท่านต้องได้รับการรักษาโรคกระดูกพรุน
ปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน
- อายุมากกว่า 65 ปี
- หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี
- มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกหักง่าย
- เคยกระดูกหักง่าย
- มีประวัติไม่มีประจำเดือน
- รูปร่างผอม ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 20
- ไม่เคลื่อนไหว
|
- สำหรับผู้ที่ได้ prednisolone มากกว่า 15
มก.ต่อวันและต้องได้รับการรักษาเป็นเวลานานกว่า 6 เดือน
ควรจะได้รับการรักษาเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนตั้งแต่เริ่มให้ยา steroid
- สำหรับผู้ที่ได้ prednisolone 7.5-15 มก.ต่อวันและต้องได้รับการรักษาเป็นเวลานาน
และมีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 ข้อดังในตารางที่ 1
ควรจะได้รับการรักษาเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนตั้งแต่เริ่มให้ยา steroid
- สำหรับผู้ที่ได้ prednisolone 7.5-15 มก.ต่อวันและไม่มีความเสี่ยงดังในตารางที่1
กลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน
ต้องตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกก่อนให้การรักษา
วิธีการรักษา
- การให้ฮอร์โมนทดแทนสำหรับผู้ที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน
แต่ต้องระวังปัจจัยเสี่ยง รายละเอียดอ่านที่นี่
- การให้ยา Bisphosphonates
ใช้ในรายที่ไม่สามารถใช้ฮอร์โมนทดแทนให้ได้ทั้งคนอายุน้อยและอายุมาก
ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ etidronate, Alendronate (Fosamax) และ risedronate
ยากลุ่มนี้ควรจะให้ขณะท้องว่าง ยาalendronate
ไม่ควรให้ในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดอาหาร
- การให้ยา Calcitonin (Calcitare, Calsynar, Miacalcic)เป็นฮอร์โมนต่อมใต้สมองจากการสกัดต่อมใต้สมองจากปลาทูน่า ใช้พ่นจมูก ยานี้มีผลข้างเคียงต่ำเหมาะสำหรับคนอายุน้อย
- Raloxifene เป็นยากลุ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน สามารถเพิ่มระดับความแข็งแรงของกระดูกได้ครึ่งหนึ่งของการใช้ฮอร์โมนทดแทน
ยาอื่นๆที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน
- ยารักษามะเร็งเต้านมได้แก่ anastrozole (Arimidex®), letrozole (Femara®) and exemestane (Aromasin®)
- ยารักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
- ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร Prevacid®, Losec®, Pantoloc®, Tecta®, Pariet ® and Nexium®
- ยาคุมกำเนิด Depo-Provera
- ฮอร์โมนไทรอยด์
- ยากันชักเช่น carbamazepine และ phenytoin
- ยาขับปัสสาวะ furosemide
- ยารักษาต่อมลูกหมากโต tamsulosin