การตรวจไขมันในเลือด
ไขมันในร่างกายมีทั้งประโยชน์และโทษ Cholesterol เป็นชนิดหนึ่งของไขมัน เป็นสารตั้งต้นในการผลิตฮอร์โมนต่างๆ เอนไซม์ และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ cell membranes
ข้อเสียของไขมันคือหากมีค่าสูงไขมันจะสะสมที่ผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดแข็งและตีบ atherosclerosis หลอดเลือดที่ตีบอาจจะเกิดลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดทำให้เกิดโรค
เมื่อไรจึงจะเจาะเลือดตรวจไขมันในเลือด
ผู้ใหญ่
สำหรับผู้ที่ไม่มีปัจัจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจให้เจาะเลือดตรวจทุก4-6ปี โดยเจาะเลือดตรวจ Total cholesterol เพียงค่าเดียว หากผิดปกติจึงจะตรวจเลือดไขมันทั้งหมด
หากท่านเจาะเลือดพบความผิดปกติหรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดก็ให้เจาะเลือดตรวจไขมันทั้งสี่ตัว ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้แก่
- สูบบุหรี่
- อ้วนลงพุง
- รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
- ไม่ออกกำลังกาย
- อายุ(ชายอายุมากกว่า 45 หญิงอายุมากกว่า50ปี)
- โรคความดันโลหิตสูง
- ประวัติญาติเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดก่อนวัยอันควร(ชายเกิดก่อนอายุ 55ปี หญิงเกิดก่อนอายุ65ปี)
- เคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
- เป็นโรคเบาหวาน
เด็กและวัยรุ่น
อเมริกาแนะนำให้เจาะเลือดตรวจเด็กอายุ9-11ปี และอีกช่วงคือ 17-21 ปี หากเด็กมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ก็ให้เจาะเร็วและถี่ขึ้น สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบไม่แนะนำให้เจาะเลือดตรวจ
การเจาะตรวจไขมันในเลือดแพทย์จะสั่งเจาะอะไรบ้าง
เนื่องจากไขมันในร่างกายมีหลายชนิด แต่แพทย์นิยมสั่งเจาะได้แก่
- Total cholesterol (TC) ไขมัน cholesterol ร้อยละ 30 มาจากอาหาร ส่วนที่เหลือร้อยละ 70 ผลิตโดยตับ ค่าTC จะสูงขึ้นก็แต่โดยการเพิ่มขึ้นของ LDL และ/หรือ TG เท่านั้น
ส่วน HDL นั้น หากมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อใด ค่า LDL และ TG นั้นจะลดค่าลงในสัดส่วนที่มากจนน่าพอใจยิ่งกว่า สรุปก็คือ HDL เพิ่มขึ้นมากเมื่อใด ไม่ช้าไม่นาน TC จะลดลงมาเอง - LDL (low-density lipoprotein) เป็นไขมันที่ไม่ดี หากมีสูงจะทำให้หลอดเลือดตีบ
- HDL (สูง-density lipoprotein)เป็นไขมันที่ดีป้องกันเสียเลือดตีบคือ HDL จะเป็นตัวพา LDL ออกจากพนังหลอดเลือด ฉะนั้น ยิ่งมีค่าสูงขึ้นมากเท่าใด ยิ่งดีมากเท่านั้น
- Triglycerides TG เป็นไขมันในเลือดที่เกิดจากอาหารแท้ ๆ ทั้งจากอาหารไขมันโดยตรง และอาหารคาร์โบไฮเดรต ดังนั้น การจะลด TG ก็จำเป็นต้องลดปริมาณอาหารมิให้กินล้นเกินหรือพูดเป็นศัพท์วิชาการ ก็คือ ต้องลดการบริโภคจำนวนแคลอรี่ในแต่ละมื้อและแต่ละวันลง
นอกจากนั้นก็อาจจะมีการรายงานค่าอื่นเช่น
- Very low-density lipoprotein cholesterol (VLDL-C) ซึ่งได้จากการคำนวณโดยเอาค่าtriglycerides/5
- Non-HDL-C ได้จากการเอาค่า total cholesterol ลบ HDL-C.
- Cholesterol/HDL ratio ได้จากการคำนวณโดยเอา total cholesterol หารด้วยค่า HDL-C(total cholesterol / HDL-C)
การแปลผลไขมันในเลือดจะต้องดูอัตราส่วนTC:HDL ratio – คือนำค่า TC หารด้วยค่า HDL-C อัตราส่วนที่มากกว่า 6 จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูง
สำหรับท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจต่างกัน เมื่อรักษาแล้วค่า LDL เป้าหมายแต่ละกลุ่ม
- ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจสูง หรือเป็นโรคหัวใจเป้าหมาย LDL ต้องน้อยกว่า 100 mg/dL (หากเป็นไปได้ให้น้อยกว่า 70 mg/dL)
- สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจปานกลางโดยมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ 2 ข้อ งเป้าหมาย LDL ต้องน้อยกว่า 130 mg/dL
- สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจต่ำเป้าหมายl LDL น้อยกว่า 160 mg/dL.
สรุปผลเลือดการตรวจไขมัน
Total cholesterol | Total cholesterol* (Canada and most of Europe) | |
---|---|---|
น้อยกว่า 200 mg/dL | น้อยกว่า 5.2 mmol/L | ค่าที่ต้องการ |
200-239 mg/dL | 5.2-6.2 mmol/L | สูงปานกลาง |
240 mg/dL and สูงกว่า | สูงกว่า 6.2 mmol/L | สูง |
LDL cholesterol | LDL cholesterol* (Canada and most of Europe) | |
---|---|---|
น้อยกว่า 70 mg/dL | น้อยกว่า 1.8 mmol/L | ค่านี้เหมาะสมสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ หรือเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคเบาหวาน |
ต่ำกว่า 100 mg/dL | น้อยกว่า 2.6 mmol/L | เหมาะสำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจ |
100-129 mg/dL | 2.6-3.3 mmol/L | ใกล้เคียงปกติ |
130-159 mg/dL | 3.4-4.1 mmol/L | สูงปานกลาง |
160-189 mg/dL | 4.1-4.9 mmol/L | สูง |
190 mg/dL and สูงกว่า | สูงกว่า 4.9 mmol/L | สูงมาก |
HDL cholesterol | HDL cholesterol* (Canada and most of Europe) | |
---|---|---|
น้อยกว่า 40 mg/dL (ชาย) น้อยกว่า 50 mg/dL (หญิง) | น้อยกว่า 1 mmol/L (men)น้อยกว่า 1.3 mmol/L (women) | ต่ำจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด |
50-59 mg/dL | 1.3-1.5 mmol/L | ดี |
60 mg/dL and สูงกว่า | สูงกว่า 1.5 mmol/L | ดีมากป้องกันโรคหัวใจ |
Triglycerides | Triglycerides* (Canada and most of Europe) | |
---|---|---|
Below 150 mg/dL | Below 1.7 mmol/L | ค่าที่ต้องการ |
150-199 mg/dL | 1.7-2.2 mmol/L | สูงปานกลาง |
200-499 mg/dL | 2.3-5.6 mmol/L | สูง |
500 mg/dL and สูงกว่า | สูงกว่า 5.6 mmol/L | Very สูง |
ค่า Non-HDL Cholesterol | ||
---|---|---|
<130 mg/dL | 3.37 mmol/L | ค่าปกติ |
130-159 mg/dL | 3.37-4.12mmol/L | สูงกว่าปกติเล็กน้อย |
160-189 mg/dL | 4.15-4.90 mmol/L | สูงปานกลาง |
190-219 mg/dL | 4.9-5.7 mmol/L | สูง |
> 220 mg/dL | 5.7 mmol/L | สูงมาก |
ใครที่ต้องเจาะเลือดตรวจไขมัน
ผู้ที่อายุ 20 ปีขึ้นไปควรจะเจาะตรวจไขมันทุก 5 ปี การเจาะหา Cholesterol จะมีความสำคัญหากท่านมี
- ประวัติครอบครัวเป็นโรคไขมันในเลือดสูง หรือมีประวัติโรคหัวใจ
- น้ำหนักเกิน
- ไม่ออกกำลังกาย
- เป็นเบาหวาน
- ความดันโลหิตสูง
- รับประทานอาหารมัน
- ผู้ชายอายุมากกว่า 45 ปีหรือหญิงอายุมากกว่า 50 ปี
- เจาะเลือดทุก 12 เดือนหากท่านกำลังรับประทานยาลดไขมัน
- โรคทางพันธุกรรมที่มีไขมันในเลือดสูงให้เริ่มเจาะตั้งแต่อายุ 10ปี
- ผลตรวจเลือดพบว่าไขมันในเลือดเคยสูง
- สูบบุหรี่
วิธีการทดสอบไขมันในเลือด
- ใช้วิธีการเจาะเลือดดำอย่างที่ใช้กันตามปกติ
- ใช้วิธีการเจาะเลือดจากปลายนิ้ว วิธีการนี้ใช้เฉพาะการคัดกรองเท่านั้นครับ
การเจาะเลือดต้องงดอาหารหรือไม่
หากเจาะเลือดตรวจเฉพาะ Cholesterol ก็ไม่จำเป็นต้องงด หากต้องการตรวจ Triglyceride ก็ต้องงดอาหาร 12 ชั่วโมง
การเตรียมตัวก่อนเจาะเลือดหาไขมัน
- ต้องอดอาหารก่อนตรวจเลือดไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง ให้ดื่มน้ำเปล่าได้
- ในระยะ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาให้รับประทานอาหารที่เคยรับประทานอยู่
- ผู้ที่เจ็บป่วยหนักหรือได้รับการผ่าตัดควรตรวจวัดระดับไขมันในเลือดหลังจากหายป่วยแล้ว 3 เดือน สำหรับผู้ที่เจ็บเล็กน้อยสามารถตรวจวัดระดับไขมันในเลือดได้เมื่อหายจากเจ็บป่วย 3 สัปดาห์
- ให้เจาะท่านั่ง เพราะการเจาะท่านอนจะต่ำกว่าท่านั่งเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับพลาสม่า
- ต้องระบุว่าจะใช้พลาสม่าหรือซีรั่มในการตรวจวัดระดับไขมัน ระดับไขมันในพลาสม่าจะต่ำกว่าในซีรั่มร้อยละ 4
- สำหรับผู้ที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันควรตรวจภายใน 12 ชั่วโมงแรกหรือหลังจากเกิดอาการ 6 สัปดาห์
เทคนิคการเจาะเลือดและการตรวจวัดระดับไขมัน
1ควรให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งอย่างน้อย 5 นาที ก่อนเจาะ เพราะการเปลี่ยนท่าจะทำให้ plasma volume เปลี่ยนแปลง และผลที่ได้จะคลาดเคลื่อน
2ควรเก็บเลือดที่ได้ในหลอดที่ไม่ใส่สารป้องกันการแข็งตัวของเลือด เพื่อที่จะให้ได้เป็นระดับไขมันในซีรั่ม แต่หากจำเป็นก็อาจใช้หลอดที่มีสารป้องกันการแข็งตัวของเลือดได้ ค่าที่ได้จะเป็นระดับไขมันในพลาสม่า ซึ่งจะต่ำกว่าใน serum ประมาณร้อยละ 3
3ควรส่งเลือดไปตรวจในห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐานเชื่อถือได้ คือมี quality assurance และ quality control ที่ตรวจสอบมาตรฐานของระดับโคเลสเตอรอลหลายๆ ระดับ โดยเฉพาะในระดับโคเลสเตอรอล ตั้งแต่ 100 มก/ดล ถึง 300 มก/ดล โดยใช้วิธีเอนไซมาติก
หากไขมันสูงจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
- เรื่องอาหาร จะต้องรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวไม่เกินร้อยละ 7 ของพลังงานทั้งหมด ปริมาณไขมัน cholesterol น้อยกว่า 200 mgต่อวัน
- ให้อาหารที่เติม plant sterols
- การลดอาหารไขมันจะลดไขมันลงได้ 30%.
- การออกกำลังกายจะลด LDLและเพิ่ม HDL
- การใช้ยา มียาหลายกลุ่มให้ใช้ได้แก่
ปัจจัยที่มีผลต่อไขมันในเลือด
- อาหาร อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว หรือมีปริมาณไขมันสูงจะทำให้ไขมันในเลือดสูง
- น้ำหนัก ผู้ที่มีน้ำหนักเกินจะมีโอกาศที่ไขมันในเลือดจะสูง
- การออกกำลังกายโดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบ aerobic จะลดไขมันในเลือด
- อายุและเพศ อายุมากขึ้นแนวโน้มไขมันในเลือดจะสูงขึ้น ผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนจะมีไขมันต่ำกว่าผู้ชาย หลังหมดประจำเดือนจะมีไขมันสูงกว่าผู้ชาย
- โรคเบาหวานผู้ที่ควบคุมเบาหวานไม่ดีไขมันในเลือดจะสูง เมื่อคุมเบาหวานดีขึ้นไขมันในเลือดจะต่ำลง
- พันธุกรรม
- สาเหตุอื่นๆเช่นยา
Cholesterol | LDL | HDL | Triglyceride | โรคไขมันในเลือดสูง | ไขมันในเลือดสูงในผู้ป่วยโรคเบาหวาน | ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ