อาหารที่เพิ่มการเกิดมะเร็ง
อาหารที่ก่อให้เกิดมะเร็งคืออะไร?
การสังเกตพบว่าแบบการดำเนินชีวิตและอาหารที่บริโภคมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งในร่างกายของเรา การทานอาหารบางชนิดและแบบการปรุงแต่งอาหารอาจเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ เช่น
อาหารที่เชื่อมโยงกับการเกิดมะเร็ง
-
อาหารรสหวาน: การบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลสูงอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ร่างกายมีการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ง่ายขึ้น เช่น น้ำตาลที่มาจากเครื่องดื่มหวานและขนมปัง
-
อาหารโปรตีนสูง: การบริโภคโปรตีนสูงจากเนื้อสัตว์บางชนิดอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง เช่น เนื้อวัวและหมูที่มีไขมันสูง
-
อาหารที่ผ่านการปรุงแต่งมาก: อาหารที่มีการเพิ่มสารเคมีและสารปรุงแต่งมากอาจมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นกระบวนการเกิดมะเร็ง เช่น อาหารที่ย่างเผาหรือทอดน้ำมัน
วิธีลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง
เมื่อเราทราบถึงความเชื่อมโยงระหว่างอาหารและการเกิดมะเร็ง เราสามารถนำแนวทางเพื่อลดความเสี่ยงได้ดังนี้:
-
ควบคุมอาหาร: รับปริมาณน้ำตาลและไขมันในอาหารให้เป็นไปตามปกติ ควรเลือกบริโภคอาหารที่มีโปรตีนจากแหล่งที่ดี เช่น แห้งและปลอดสารปรุงแต่ง
-
เพิ่มผักและผลไม้: การรับประทานผักและผลไม้ที่มีความสีสันสูง สามารถเสริมความสมดุลของอาหารและนำเข้าสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการป้องกันมะเร็ง
-
เลือกวิถีการปรุงอาหาร: เลือกวิธีการปรุงอาหารที่มีการใช้ความร้อนน้อย เช่น ต้ม นึ่ง หรือย่าง เพื่อลดการเสี่ยงจากสารเคมีที่เกิดจากการทอดน้ำมัน
บทสรุป
การเชื่อมโยงระหว่างอาหารและการเกิดมะเร็งเป็นเรื่องที่ท้าทายและให้ความสำคัญกับการเลือกอาหารและวิถีการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นเป้าหมายของโรคมะเร็ง เป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการสร้างสุขภาพที่ดีและลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งอย่างเหมาะสม
มะเร็งในช่องปาก คอ และหลอดอาหาร
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดโรคมะเร็งบริเวณดังกล่าวได้แก่
- การสูบบุหรี่
- การดื่มสุรา
- อ้วนหรือน้ำหนักเกิน
- ปัจจัยเสี่ยงด้านอาหาร การรับประทานผัก และผลไม้น้อยเป็นเหตุให้ขาดสารอาหารที่สำคัญได้แก่ riboflavin วิตามินซี กรดโฟลิก สังกะสี
- การดื่มหรือรับประทานอาหารที่มีอุณหภูมิสูง
มะเร็งช่องมูกและคอ Nasopharyngeal Cancer
มะเร็งชนิดนี้พบมากในประเทศจีนพบว่ามีความสัมพันธืกับการรับประทานอาหารปลาเค็มตั้งแต่วัยเด็ก และการติดเชื้อไวรัส Epstein-Barr
มะเร็งกระเพาะอาหาร
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้แก่
- การติดเชื้อ H.pylori
- อาหารดองเค็มไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์หรือผักก็เพิ่มอุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร การเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารลดลงหลังจากการใช้ตู้เย็นในการถนอมอาหารแทนเกลือ
- การรับประทานผักและผลไม้มากจะลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารเชื่อว่าเกิดจากวิตามินซีในผักและผลไม้
มะเร็งลำไส้ใหญ่
เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับที่ 3 ของมะเร็งทั่วโลกปัจจัยเสียงที่พบได้แก่
- คนอ้วนหรือน้ำหนักเกิน
- การดื่มสุรา
- การออกกำลังกายจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง
- อาหาร ได้แก่อาหารดังต่อไปนี้
มะเร็งลำไส้ใหญ่
เนื้อสัตว์
ได้มีการศึกษาพบว่าประเทศที่มีการบริโภคเนื้อสัตว์จะมีอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้สูง กลไกที่ทำให้เกิดมะเร็งพอสันนิฐานได้ดังนี้
- กระบวนการปรุงอาหารทำให้เกิดสารก่อมะเร็งเช่น polycyclic aromatic hydrocarbons และ heterocyclic amines
- มีสาร nitritesในอาหารและเมื่อปรุงอาหารจะกลายเป็นสารก่อมะเร็ง N-nitroso compounds
- พบว่าอาหารที่หมักดองจะก่อให้เกิดมะเร็งมากกว่าอาหารสด
- สรุปได้ว่าการรับประทานเนื้อแดงที่ผ่านการหมักดองจะเกิดความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้
ไขมัน
ได้มีการศึกษาพบว่าประเทศที่มีการบริโภคไขมันจะมีอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้สูง เชื่อว่าอาหารมันจะทำให้เกิดไขมันที่เป็นพิษต่อเซลล์และมีน้ำดีในลำไส้สูง
ผักและผลไม้
เชื่อว่าการรับประทานผักและผลไม้มากจะลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่เนื่องจาก กากอาหารที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ลำไส้บีบตัวเร็วขึ้นสารพิษถูกดูดซึมลดลง นอกจากนั้นการย่อยสลายของใยอาหารจะเกิดสารเคมีที่ป้องกันลำไส้จากสารก่อมะเร็งหลายชนิด
กรดโฟลิก
ผู้ที่รับประทานอาหารที่ขาดกรดโฟลิกจะมีความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้สูงขึ้น เมื่อให้กรดโฟลิกเสริมจะลดการเกิดมะเร็งลำไส้
แคลเซี่ยม
การได้รับแคลเซี่ยมเสริมจะลดการเกิดมะเร็งลำไส้เชื่อว่ากลไกเกิดจากแคลเซี่ยมไปจับกับน้ำดี และลดผลกระทบจากธาตุเหล็กในลำไส้
มะเร็งตับ
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ
- การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ส่วนไวรัสตับอักเสบ ซีเกิดมะเร็งไม่มาก
- ส่วนอาหารที่ทำให้เกิดมะเร็งตับได้แก่สาร aflatoxin ที่เกิดจากเชื้อราในถั่ว
- สุราก็เป็นสาเหตุสำคัญ
มะเร็งตับ
มะเร็งตับอ่อน
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่
- คนอ้วนหรือมีน้ำหนักเกิน
- การรับประทานเนื้อแดงมาก
- การรับประทานผักจะลดการเกิดมะเร็งตับอ่อน
มะเร็งปอด
สาเหตุเกิดจากการสูบบุหรี่ แต่ปัจจัยเสริมคือการรับประทานผักและผลไม้น้อยเกินไปซึ่งทำให้ขาดวิตามินเอ อ่านที่นี่
มะเร็งเต้านม
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ
- อ้วนหรือน้ำหนักเกิน
- สุราพบว่าดื่มสุราวันละหนึ่งแก้วจะเพิ่มความเสี่ยงร้อยละ7
- การรับประทานอาหารมัน
มะเร็งเต้านม
บัญญัติ 10 ประการในการป้องกันมะเร็ง การป้องกันมะเร็ง
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว