ตารางการให้วัคซีนในเด็ก
อายุ |
ชนิดของวัคซีน |
แรกเกิด |
- BCG
- HBV1ไวรัสตับอักเสบ บี ครั้งที่1
|
1 เดือน |
- HBV2ไวรัสตับอักเสบ บี
ครั้ที่2
|
2เดือน |
- DPT1-HB คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
ครั้งที่1
- OPV1 วัคซีนโปลิโอ ครั้งที่1
- Hib1 วัคซีนเสริม
|
4เดือน |
- DPT2-HB คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
ครั้งที่2
- OPV2 วัคซีนโปลิโอ ครั้งที่2
- Hib 2 วัคซีนเสริม
|
6เดือน |
- HBV3ไวรัสตับอักเสบ บี
ครั้งที่3
- DPT3 คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
ครั้งที่3
- OPV3 วัคซีนโปลิโอ ครั้งที่3
- Hib 3 วัคซีนเสริม
|
9-12เดือน |
- MMR 1 หัด คางทูม
หัดเยอรมัน ครั้งที่ 1
|
12เดือน |
- JE1 JE2ไข้สมองอักเสบ
ครั้งที่1 และ 2ห่างกัน 4 สัปดาห์
|
18เดือน |
- DPT4 คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
ครั้งที่4
- OPV4 วัคซีนโปลิโอ ครั้งที่4
|
24-30เดือน |
- JE3 ไข้สมองอักเสบ
ครั้งที่3
|
4-6ขวบ |
- DPT5 คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
ครั้งที่5
- OPV5 วัคซีนโปลิโอ ครั้งที่5
- MMR 2 หัด คางทูม หัดเยอรมัน
ครั้งที่ 2
- HAV
|
10-16ปี |
- dT คอตีบ บาดทะยัก
- Varicella ไข้สุกใส วัคซีนเสริม
|
|
|
1วัคซีนBCGป้องกันวัณโรค
- ฉีด0.1MLที่ไหล่ซ้าย
- ถ้าไม่มีแผลเป็นเกิดขึ้นถ้าไม่มีหลักฐานว่าเคยได้มาก่อน ให้ฉีดซ้ำเมื่ออายุ6เดือน
- ถ้าเคยได้วัคซีนมาก่อน ไม่ต้องฉีดซ้ำแม้ว่าจะไม่มีแผล
2วัคซีนป้องกันตับอักเสบบี
- เด็กทุกคนต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็มถ้าไม่มีข้อห้ามและเข็มสุดท้ายต้องอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 6 เดือน
- ทารกที่คลอดจากมารดาที่ HBsAg ให้ผลลบ หรือไม่ทราบผลก็ให้ฉีดวัคซีนจำนวน 3 ครั้งเมื่อแรกเกิด อายุ1-2เดือน และอายุ 6 เดือน
- ทารกที่คลอดจากมารดาที่ HBsAg ให้ผลบวก(โดยเฉพาะถ้าHBeAg เป็นบวกด้วย) พิจารณาให้ภูมิต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี HBIG 0.5 ซีซีภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด และให้วัคซีนครั้งที่1พร้อมๆกันคนละตำแหน่งกับที่ฉีด HBIG วัคซีนเข็มที่2 ให้เมื่ออายุ1-2 เดือน และครั้งที่3เมื่ออายุ 6 เดือน
- ถ้ามารดามี HBsAg ให้ผลบวก แต่ไม่มียา HBIG ควรให้วัคซีนเข็มที่1 ภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด เข็มที่2 และเข็มที่3 ให้เมื่ออายุทารก 1 เดือน และ 6 เดือนตามลำดับ
- กรณีมาทราบภายหลังว่ามารดามี HBsAg ให้ผลบวก ควรพิจารณาให้ HBIG ถ้าทารกได้วัคซีนมาแล้วไม่เกิน 7 วัน
- ตามแผนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุขให้วัคซีนรวมที่มีทั้ง คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และไวรัสตับอักเสบบี (DPT-HB) ที่อายุ 2 4 และ 6 เดือน แต่ถ้ามารดามี HBsAg ให้ผลบวกและทารกไม่ได้ HBIG ควรให้วัคซีนตับอักเสบบีเดี่ยวเพิ่มตอนอายุ 1 เดือนด้วย(รวมเป็น 5 ครั้ง)
- เด็กที่ไม่เคยฉีดวัคซีนตับอักเสบบีมาก่อนเด็กอายุน้อยกว่า 11 ปีสามารถฉีดวัคซีนในเดือนที่ 0,1,6 ตามลำดับ ส่วนเด็กอายุ 11-15 อาจฉีดเพียง 2 ครั้งในเดือนที่ 0 และ4-6 ให้ใช้วัคซีนขนาด 1 ซ๊ซี เท่าผู้ใหญ่
- เด็กที่คลอดมาจากมารดาที่มี HBsAg ให้ผลบวก อาจจะพิจารณาตรวจ HBsAG และ Anti-HBs เมื่ออายุ 9-18 เดือน
3วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน
- สามารถใช้ชนิดไร้เซลล์( DTaP) แทนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP)ได้ทุกครั้ง
- หากใช้ชนิดDTaP ก็ควรใช้ทั้ง 3 ครั้งเมื่ออายุ 2,4,6 เดือนถ้าไม่สามารถหาชนิดเดียวกันได้ ก็ใช้ชนิดใดก็ได้
- สำหรับเข็มกระตุ้น 18 เดือนอาจจะใช้ DTwP หรือ DTaP ชนิดใดก็ได้
- เมื่ออายุ 4-6 ปีอาจจะใช้ DTwP หรือ DTaP หรือ Tdap ก็ได้
- เด็กอายุ11-12 ปีควรจะได้รับ Tdap หรือ Td ไม่ว่าจะได้ Tdap เมื่ออายุ4-6ปีมาก่อนหรือไม่ หลังจากนั้นควรกระตุ้นด้วย Td ทุก 10 ปี
- สำหรับการฉีดกระตุ้น Td ทุก10ปี ควรจะมีคั้งหนึ่งที่ใช้ Tdap
4วัคซีนป้องกันโปลิโอ
- สามารถใช้ชนิดฉีด (ปัจจุบันรวมอยู่กับวัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก)แทนชนิดกินได้ทุกครั้ง
- หากใช้ชนิดกินสลับกับชนิดฉีดต้องให้ 5 ครั้งตาม OPV
- การให้วัคซีนป้องกันโปลิโอเกินกว่าที่กำหนด ไม่มีข้อเสีย และสามารถรับ OPV เพิ่มในช่วงที่มีการรณรงค์หยอดวัคซีนเพื่อกวาดล้างโปลิโอได้
5หัด หัดเยอรมัน คางทูม
- ให้วัคซีนครั้งแรกเมื่ออายุ 9-12 เดือน ครั้งที่2เมื่ออายุ 4-6 ปีควรพิจารณาให้ฉีดเร็วๆ(9 เดือน) ในพื้นที่ที่ยังมีรายงานผู้ป่วยโรคหัดจำนวนมากในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และควรฉีด๙้า(12เดือน)ในพื้นที่ที่มีรายงานโรคหัดจำนวนน้อยในเด็กต่ำกว่า 1 ปี
- การฉีดเข็มที่2อาจจะให้ได้ตั้งแต่อายุ 2ปีครึ่งตามแผนปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุข
- กรณีที่มีการระบาดหรือสัมผัสโรค อาจฉีดเข็มที่2 เร็วขึ้นก่อนอายุ 4 ปีก็ได้ โดยต้องห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน
- กรณีที่ต้องการฉีดวัคซีนป้องกันหัด หัดเยอรมัน คางทูมและอีสุกอีใสในเวลาเดียวกัน สามารถใช้วัคซีนรวม หัด หัดเยอรมัน คางทูมและอีสุกอีใส MMRV แทนการฉีดแบบแยกเข็มได้ทุกครั้งในเด็กอายุตั้งแต่ 1-12 ปี การใช้วัคซีนรวม MMRV ที่อายุ 4-6 ปีแทนการฉีดวัคซีนแบบแยกเข็มพบว่ามีอาการข้างเคียงไม่แตกต่างกัน การใช้วัคซีนรวม MMRV ในเด็กอายุ 12-23 เดือนมีโอกาศเกิดการชักจากไข้ได้มากกว่าการฉีดแบบแยกเข็ม กรณีที่เคยได้วัคซีน MMR หรือ VZV มาก่อนแนะนำให้ใช้วัคซีนรวม MMRV ห่างจากวัคซีน MMR ครั้งก่อนหรือ VZV มาก่อนอย่างน้อย 3 เดือน
6วัคซีนป้องกันฮีบ HIB
- ปัจจุบันมีวัคซีน 2 ชนิดคือ conjugated กับ PRP-T และHbOC ในเด็กไทยแนะนำให้ฉีด 3 ครั้งเมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน
- การฉีดเข็มกระตุ้นที่อายุ 12-18 เดือน อาจไม่จำเป็นต้องฉีดในเด็กแข็งแรง ควรฉีดในผู้ที่มีความเสี่ยง
- ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนฮีบในเด็กปกติทีอายุ 2 ปีขึ้นไป
- หากเริ่มช้าให้พิจารณาฉีดตามตาราง
อายุที่เริ่มฉีด |
เดือนที่ของการฉีด PRP-T HbOC |
2-6 เดือน |
0,2,4 ฉีดกระตุ้นอายุ 12-18 เดือน |
7-11 เดือน |
0,2 ฉีดกระตุ้นอายุ12-18 |
12-24 เดือน |
เข็มเดียว |
>24 เดือน เฉพาะผู้ที่เสี่ยง |
0,2 |
ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคฮีบ เช่นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่มีม้าม หรือม้ามทำงานผิดปกติ |
7ไข้สมองอักเสลเจอี
- วัคซีนชนิเชื้อไม่มีชีวิต (inactivated vaccine ) ปัจจุบันมีสองชนิดคือ mouse-brain derived vaccine (MBV) ซึ่งอยู่ในแผนของกระทรวงสาธารณสุข และสายพันธื P3 เพาะเลี้ยงใน vero cell (JEVAC) ทั้งสองชนิดฉีดสามครั้งเริ่มเมื่ออายุ 9-18 เดือนเข็มต่อมาอีก 4 สัปดาห์ และ 1 ปี ปีตามลำดับ สำหรับ MBV อาจจะพิจารณาให้ฉีดกระตุ้นอีกหนึ่งครั้ง ห่างจากเข็มสามอย่างน้อย 4-5ปี
- วัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิต (live JE) ใช้สายพันธ์ 14-14-2 ให้ฉีดสองครั้งมี สองชนิดคือ CDJAX เริ่มฉีดเมื่ออายุู 9-12 เดือน และเข็มที่2 อีก 3-12 เดือน อีกชนิดคือ Chimeric JE (MOJAV) เริ่มฉีดที่อายุ 12 เดือนและเข็มที่สองอีก 12-24 เดือนต่อมา สามารถใช้วัคซีนชนิด live je แทนชนิด MBV ได้ทั้งในการฉีดชุดแรก และการฉีดกระตุ้น
- ยังไม่มีข้อมูลการใช้ live je ต่างชนิดกันทดแทนกัน
- ในกรณีที่เคยได้ MBV มาก่อนและต้องการฉีดต่อด้วย live JE vaccine ให้พิจารณาฉีดตามตาราง
ประวัติฉีดวัคซีน MBV ในอดีต |
ข้อแนะนำในการฉีด live-attenuated JE |
1เข็ม |
ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3-24 เดือน (แล้วแต่ชนิดของวัคซีน) |
2-3 เข็ม |
ฉีด 1 เข็ม ห่างจากเข็มสุดท้าย 1 ปี |
มากกว่าหรือเท่ากับ4เข็ม |
ไม่ต้องฉีด |
8ตับอักเสบเอ
- มีสองชนิดคือ formalin-inactivated vaccine และ virosome vaccine
- ฉีดได้ตั้งอายุ 1 ปีขึ้นไปฉีด 2 เข็มห่างกัน 6-12 เดือนใช้ต่างชนิดได้ในการฉีดแต่ละครั้ง
9อีสุกอีใส
- ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป แนะนำให้ฉีดเข็มแรกอายุ 12-18 เดือน
- พิจารณาให้ฉีดเข็มที่สองเมื่ออายุ 4-6 ปี อาจจะฉีดเข็มที่สองก่อนอายุ 4 ปีก็ได้ในกรณีที่มีการระบาดแต่ต้องห่างเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน
- พิจารณาให้วัคซีนนี้แก่เด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปีที่ยังไม่เคยเป็นอีกสุกอีใส
- ถ้าอายุมากกว่า 13 ปีให้ฉีดสองเข็มห่างกันอย่างน้อน 1 เดือน
10ไข้หวัดใหญ่
- พิจารณาให้ฉีดในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปถึง 18 ปีโดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า2 ปี และเด็กที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรครุนแรงเช่นเด็กที่จะเป็นโรคเรื้อรัง(รวมหอบหืด) โรคหัวใจ โรคอ้วนที่ BMIมากกว่าหรือเท่ากับ 35 ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคเรื้อรังเป็นต้น
- ถ้าอายุน้อยกว่า 9 ปี การฉีดครั้งแรกต้องฉีดสองเข็มห่างกันหนึ่งเดือน กรณีที่ปีแรกได้ไปฉีดเพียงครั้งเดียว ปีต่อมาให้ฉีดสองครั้งหลังจากนั้นให้ฉีดปีละครั้ง
- ในเด็กอายุน้อยกว่า 3 เดือนให้ลดขนาดลงครึ่งหนึ่ง (0.25 ซีซี)
11นิวโมคอคคัส ชนิดคอนจูเกต
- ควรให้ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้ชนิดรุนแรง (invasive disease) หรือรุนแรง ดังตาราง และในเด็กแข็งแรงปกติที่อายุน้อยกว่า 5 ปี ที่ประสค์จะป้องกันโรค
- ปัจจุบันมีวัคซีนชนิด10สายพัน์( PCV10) และชนิด13สายพันธ์( PCV13 ) ให้สามครั้งเมื่ออายุ 2,4,6 เดือน และให้ฉีดกระตุ้นเมื่ออายุ 12-15 เดือนโดยห่างจากเข็มสุดท้ายอย่างน้อย 2 เดือนหากเริ่มฉีดว้าให้ฉีดตามตาราง
- เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีกรณีที่ได้ PCV7 ครบแล้ว 4 ครั้งพิจารณาให้ PCV13 อีกหนึ่งครั้งห่างจาก PCV7 เข็มสุดท้ายอย่างน้อย 8 สัปดาห์เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อสายพันธ์ที่เพิ่มเติมขึ้น
อายุที่เริ่มฉีด |
จำนวนครั้งที่ฉีด |
การฉีดกระตุ้น |
2-6 เดือน |
PCV 3 ครั้งห่างกัน 6-8 สัปดาห์ |
PCV 1 ครั้งอายุ12-15 เดือน |
7-11 เดือน |
PCV 2 ครั้งห่างกัน 6-8 สัปดาห์ |
PCV 1 ครั้งอายุ12-15 เดือน |
12-23 เดือน |
PCV 2 ครั้งห่างกัน 6-8 สัปดาห์ |
ไม่ต้องฉีด |
เด็กปกติ 2-5 ปี |
PCV10 ให้ 2 ครั้ง PCV13 ให้1ครั้ง |
ไม่ต้องฉีด |
เด็กเสี่ยง |
- PCV13 ให้ 2 ครั้งให้สองครั้งห่างกัน 8 สัปดาห์
|
ฉีดกระตุ้นด้วย PS-23 1เข็มห่างจาก PCVเข็มสุดท้าย 8 สัปดาห์ |
|
|
ฉีดกระตุ้นด้วย PS-23 1เข็มห่างจาก PCVเข็มสุดท้าย 8 สัปดาห์ |
PCV=Pneumococcal conjugated vaccine, PS-23=23-valent pneumococcal polysaccharide vaccine
- เด็กเสี่ยงคือเด็กที่มีโอกาศเป็นโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสอย่างรุนแรงมากกว่าเด็กปกติได้แก่ เด็กที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องจากสาเหตุต่างๆ ภาวะไม่มีบ้าน ธัลลาสซีเมีย โรคเรื้อรังของอวัยวะต่างๆ เช่นโรคหัวใจ โรคตับ โรคไต โรคเบาหวาน และโรคที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเช่น csf leakage ,cochlear implantation
- สำหรับเด็กที่อยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกลางวันไม่จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงแต่พิจารณาให้วัคซีนได้
- ในเด็กกลุ่มเสี่ยงทั้งหมดควรจะได้วัคซีน PCV13 ดังตาราง และเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปควรได้รับการฉีดวัคซีน PS-23 ด้วยเสมอไม่ว่าจะสามารถฉีด PCV ได้หรือไม่ก็ตาม และหากเป็นเด็กเสี่ยงภูมิคุ้มกันบกพร่อง ภาวะไม่มีม้ามหรือธาลัสซีเมียควรฉีดวัคซีน PS-23 ซ้ำอีก 1 ครั้งห่างจากครั้งแรก 5 ปี การฉีด PCV ก่อนแล้วตามด้วย PS-23 จะให้ผลการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีกว่าการฉีดด้วย PS-23 เพียงอย่างเดียว หรือฉีด PS-23 แล้วตามด้วย PCV
- ในเด็กปกติอาจพิจารณาให้ฉีดแบบ2+1(รวมเป็นการฉีด 3 ครั้ง) คือฉีดเมื่ออายุ 2,4 เดือนและ 12-15 เดือน
12โรต้า
- ชนิด Monovalent ให้กินสองครั้งเมื่ออายุประมาณ 2 และ 4 เดือน
- ชนิด Pentavalent ให้กินสามครั้งเมื่ออายุ 2,4 และ 6 เดือน
- วัคซีนทั้งสองชนิด สามารถเริ่มให้ครั้งแรก เมื่ออายุ 6-15 สัปดาห์ และครั้งสุดท้ายอายุไม่เกิน8เดือน แต่ละครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์
- ควรใช้วัคซีนชนิดเดียวกันจนครบ หากจำเป็นต้องใช้วัคซีนต่างชนิดกันในแต่ละครั้ง ต้องให้วัคซีนทั้งหมด 3 ครั้ง
- สามารถให้วัคซีนโรต้าร่วมกับวัคซีนโปลิโอชนิดกินได้
- ห้ามใช้วัคซีนในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง severe combined immune deficiency และในเด็กที่มประวัติีลำไส้กลืนกัน
13เอชพีวี HPV
- มีสองชนิดคือ ชนิดสองสายพันธ์ ( bivalent มีสายพันธ์ 16 และ18)และชนิด 4 สายพันธ์(quavalent มีสายพันธ์ 6,11,16,18)
- แนะนำให้ฉีดในผู้หญิงอายุ 9-26 ปี(เน้นให้ฉีดในช่วงอายุ 11-12 ปีโดยฉีด 3 เข็มเดือนที่ 0,1-2 และ 6
- ประสิทธิภาพจะสูงหากฉีดในผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน
- การฉีดในผู้ที่อายุมากกว่า 26 ปีอาจพิจารณาให้เป็นกรณีๆไป
- การฉีดในเด็กผู้ชายพิจารณาให้ฉีดเฉพาะ 4 สายพันธ์ ในช่วงอายุ 9-26ปีเน้นให้ในช่วงอายุ 11-12 ปี และในกลุ่มชายรัก๙ายอายุ 9-26ปี
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก