3. ภาวะลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome, IBS)

ภาวะลำไส้แปรปรวนเป็นภาวะที่พบบ่อย จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่าภาวะลำไส้แปรปรวนสามารถพบได้ประมาณ 15-20% ของประชากร ผู้ป่วยที่มีปัญหานี้มักมีปัญหาปวดท้อง อึดอัดแน่นท้องหรือไม่สบายท้อง ซึ่งอาการมักจะสัมพันธ์กับการขับถ่ายที่ไม่ปกติ เช่น ถ่ายเหลว หรือท้องผูก หรือในผู้ป่วยบางคนอาจมีทั้งอาการท้องเสียและท้องผูกสลับกัน การวินิจฉัยภาวะนี้ทางการแพทย์อาศัยอาการของผู้ป่วยเป็นสำคัญร่วมกับการตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษต่าง ๆ แล้วไม่พบโรคทางกายอื่นที่อาจให้อาการคล้าย ๆ กับภาวะนี้โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่
การใช้อาการของผู้ป่วยในการวินิจฉัยอาศัยเกณฑ์ในการวินิจฉัย ดังนี้ คือ
ผู้ป่วยต้องมีอาการปวดท้องหรือไม่สบายท้อง เช่น อืดแน่นหรืออึดอัดท้อง ร่วมกับอาการสองในสามอย่างต่อไปนี้

  1. อาการดีขึ้นหลังถ่ายอุจจาระ
  2. อาการที่เป็นสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของจำนวนครั้งของการถ่าย โดยอาจถ่ายน้อยกว่าปกติหรือถ่ายบ่อยกว่าปกติ
  3. อาการที่เป็นสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของลักษณะของอุจจาระ โดยอาจจะมีลักษณะแข็งขึ้นหรือเหลวขึ้นก็ได้


นอกจากนี้อาการเหล่านี้อาจสัมพันธ์กับการเบ่งอุจจาระลำบาก ปวดเบ่งอยากถ่ายอุจจาระมาก รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด ถ่ายมีมูกปน หรือรู้สึกมีลมมากร่วมด้วยก็ได้ ผู้ป่วยที่เป็นลำไส้แปรปรวนจึงอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการท้องผูกได้ โดยมักจะให้ประวัติว่าอาการท้องผูกเป็น ๆ หาย ๆ มานานเป็นปี และมักมีอาการอื่น ๆ ของระบบทางเดินอาหารร่วมด้วยไม่ใช่เฉพาะอาการท้องผูกอย่างเดียว ที่สำคัญคือ ปวดท้อง อึดอัดแน่นท้อง มีแก๊สหรือมีลมมาก ซึ่งอาการเหล่านี้มักเป็นมากขึ้นเมื่อเริ่มมีอาการท้องผูกและดีขึ้นเมื่อถ่ายได้

การวินิจฉัยแยกโรค

ภาวะนี้ต้องแยกจากภาวะท้องผูกที่เกิดจากสาเหตุหรือภาวะอื่น ๆ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เช่น ยาต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก โรคทางกายต่าง ๆ และการมีการอุดกั้นของลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมทั้งภาวะ anorectal dysfunction และ colonic inertiaการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีปัญหาท้องผูก การวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีปัญหาท้องผูก จะต้องอาศัยข้อมูลจากทั้งการซักประวัติ ตรวจร่างกายและการตรวจพิเศษต่าง

การรักษา

การรักษาผู้ป่วยลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome)ในรายที่ผู้ป่วย IBS ที่มีอาการไม่มาก การอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจธรรมชาติของภาวะนี้ก็น่าจะเพียงพอ ในรายที่มีอาการมากอาจจำเป็นที่จะต้องรับประทานยาเพื่อควบคุมอาการ ผู้ป่วย IBS ที่มีอาการท้องผูกเป็นอาการเด่นโดยไม่มีอาการอื่นร่วมด้วยมากนัก การให้ยาระบายช่วงที่มีอาการก็น่าจะเพียงพอ แต่ถ้ามีอาการอื่นร่วมด้วยมากเช่น อืดแน่นท้อง ปวดท้อง อาจจำเป็นที่จะต้องได้รับยากลุ่มอื่น เช่นยาต้านซึมเศร้า antidepressant แต่ควรให้เป็นกลุ่ม SSRI (serotonin reuptake inhibitors) เนื่องจากยากลุ่ม tricyclic antidepressant สามารถทำให้ท้องผูกมากขึ้นได้ ยาที่มีการศึกษาและพบว่าได้ผลดีกว่า placebo ในผู้ป่วย IBS ที่มีอาการท้องผูกร่วมกับอาการอื่น ๆ ของทางเดินอาหารร่วมด้วย เช่น bloating และ abdominal pain คือ tegaserod ซึ่งเป็นยากลุ่ม 5HT4 agonist ซึ่งสามารถทำให้อาการท้องผูกดีขึ้นได้ร่วมกับการดีขึ้นของอาการอื่น ๆ ด้วย

ลำไส้แปรปรวน

ท้องผูก ท้องผูกเรื้อรังท้องผูกเนื่องจากกล้ามเนื้อควบคุมไม่ดี การเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่น้อยกว่าปกติภาวะลำไส้แปรปรวนการวินิจฉัย การรักษาผู้ป่วยอาการท้องผูก