jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

การซักประวัติผู้ป่วยอาการท้องผูก


การซักประวัติผู้ป่วยอาการท้องผูก ควรซักเพื่อให้ได้ข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้

  1. ความรุนแรงของอาการ คำถามที่ง่ายที่สุดที่จะประเมินความรุนแรงของอาการท้องผูกคือคิดว่าอาการท้องผูกของเขา รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันของเขามากน้อยเพียงใด คำถามอื่นที่สามารถบอกความรุนแรงของอาการท้องผูกได้แก่ ความถี่ในการถ่ายอุจจาระ ความยากง่ายในการเบ่ง ระยะเวลาที่ใช้ในการถ่ายแต่ละครั้ง อาการเจ็บทวารหนัก ความถี่และการตอบสนองต่อการใช้ยาระบาย หรือสวนอุจจาระ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงควรที่จะได้รับการตรวจพิเศษเพื่อหาสาเหตุของอาการเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง ส่วนผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงการตรวจเพื่อยืนยันว่าผู้ป่วยไม่เป็นโรคร้ายแรงต่าง ๆ และให้การรักษาตามอาการก็น่าจะเพียงพอ
  2. การดำเนินของอาการ ควรถามว่าผู้ป่วยเริ่มมีอาการตั้งแต่เมื่อไร ระยะเวลาที่มีอาการท้องผูกเป็นมานานแค่ไหน การมีอาการท้องผูกตั้งแต่เด็กบ่งบอกว่าผู้ป่วย อาจเป็นโรคที่มีมาแต่กำเนิด ถ้าเป็นในผู้สูงอายุมีระยะเวลาที่เริ่มมีอาการมาไม่นาน และอาการเป๋นมากขึ้นเรื่อย ๆ ภายในระยะเวลาอันสั้นบ่งว่าผู้ป่วยอาจจะมีมะเร็งหรือเนื้องอกภายในลำไส้ใหญ่
  3. ผู้ป่วยมียาที่รับประทานเป็นประจำหรือไม่ รวมทั้งโรคประจำตัวต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น
  4. ผู้ป่วยมีอาการอื่น ๆ ที่บ่งว่าอาการท้องผูกของผู้ป่วยอาจมีภาวะต่าง ๆ ที่สามารถเป็นสาเหตุของอาการท้องผูกร่วมด้วยหรือไม่ เช้น เชื่องช้า ขี้หนาว ในผู้ป่วยต่อมไธรอยด์ทำงานน้อย หรือน้ำหนักลด ถ่ายเป็นมูกเลือดในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
  5. ในกรณีที่ไม่พบสาเหตุที่อาจทำให้เกิดอาการท้องผูก ควรซักประวัติว่าอาการที่ผู้ป่วยเป็นนั้นน่าจะมีสาเหตุมาจากสาเหตุใด ระหว่างอุจจาระเคลื่อนตัวภายในลำไส้ใหญ่ช้าจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ผิดปกติ (colonic inertia) กับการบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักไม่ประสานกับการเบ่ง (anorectal dysfunction) ถ้าผู้ป่วยไม่ค่อยรู้สึกอยากถ่ายและมีความถี่ของการถ่ายอุจจาระน้อยเป็นอาการเด่น ผู้ป่วยรายนั้นน่าจะท้องผูกจากอุจจาระเคลื่อนตัวภายในลำไส้ใหญ่ช้าจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ผิดปกติ ในขณะที่ผู้ป่วยมีความรู้สึกอยากถ่ายเป็นปกติ แต่เวลาถ่ายอุจจาระแล้วเบ่งไม่ออกต้องใช้เวลาในการถ่ายนานมาก มักจะเป็นผู้ป่วยที่มีการบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักไม่ประสานกับการเบ่ง อย่างไรก็ตามผู้ป่วยท้องผูกที่มีอาการรุนแรงส่วนใหญ่มักให้ประวัติที่ก่ำกึ่งระหว่างสองภาวะนี้ ทำให้การซักประวัติไม่สามารถบอกความผิดปกติที่น่าจะเป็นสาเหตุของอาการท้องผูกได้แน่นอน


การตรวจร่างกายผู้ป่วยที่มาด้วยอาการท้องผูก

การตรวจร่างกายทั่วไป

การตรวจร่างกายผู้ป่วยที่มาด้วยอาการท้องผูกของแพทย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาหลักฐานที่บ่งบอกสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องผูก เช่น บวม ผิวแห้ง เชื่องช้า ซึ่งเป็นลักษณะของต่อมไธรอยด์ทำงานต่ำ และการมีความผิดปกติของระบบประสาทที่อาจเป็นสาเหตุของท้องผูกได้ เป็นต้น

การตรวจทวารหนัก (rectal examination)

ในการตรวจทวารหนักแพทย์มักจะให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายและงอเข่าขึ้นชิดหน้าอก ในช่วงแรกจะเป็นการตรวจดูลักษณะผิวหนังรอบ ๆ ทวารหนักว่ามีอักเสบหรือมีแผลหรือไม่ แพทย์อาจให้ผู้ป่วยเบ่งซึ่งจะทำให้สังเกตุเห็นความผิดปกติของทวารหนักได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะริดสีดวงหรือการมีทวารหนักยื่น (rectal prolapsed) หลังจากนั้นจะเป็นการตรวจโดยการใช้นิ้วมือ โดยการสอดนิ้วชี้เข้าไปภายในทวารหนัก ในกรณีที่มีก้อนเนื้องอกภายในทวารหนักหรืออวัยวะใกล้เคียงก็จะสามารถคลำได้ นอกจากนั้นยังสามารถที่จะรู้ได้ถึงแรงบีบตัวของทวารหนักทั้งขณะพัก และขณะที่ผู้ป่วยออกแรงขมิบก้น ที่สำคัญในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกการขอให้ผู้ป่วยเบ่งขณะตรวจจะทำให้สามารถประเมินคร่าว ๆ ได้ว่าผู้ป่วยมีปัญหาการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักไม่ประสานกับการเบ่งหรือไม่ โดยจะพบว่าแรงบีบตัวของกล้ามเนื้อแรงขึ้นขณะเบ่งในผู้ป่วยที่เป็น anorectal dysfunction

การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก

การตรวจเลือด

อาการท้องผูกอาจเป็นอาการแรกของผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคต่อมไธรอยด์ทำงานต่ำ (hypothyroid) หรือแคลเซียมในเลือดสูง ดังนั้นควรสั่งตรวจดูระดับไธรอยด์ฮอร์โมนหรือระดับแคลเซียมในเลือดในรายที่มีอาการน่าสงสัย

การส่องกล้องตรวจภายในลำไส้ใหญ่

ในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ การมีเนื้องอกภายในลำไส้ใหญ่สามารถทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ ดังนั้นในกรณีที่สงสัย เช่น มีประวัติมะเร็งในครอบครัว น้ำหนักลด ซีด มีอาการเกิดขึ้นมาไม่นานในผู้ป่วยอายุมาก แพทย์อาจมีการส่องกล้องตรวจดูภายในลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) เพื่อให้แน่ใจว่าอาการท้องผูกที่เป็นอยู่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกเรื้อรังมานานและไม่มีอาการเตือน (alam symptoms) การส่องกล้องตรวจภายในลำไส้ใหญ่จะพบความผิดปกติไม่แตกต่างไปจากคนที่ไม่มีอาการท้องผูก ดังนั้น ภาวะท้องผูกเรื้อรังจึงไม่น่าจะเป็นข้อบ่งชี้ในการส่องกล้องตรวจภายในลำไส้ใหญ่ยกเว้นผู้ป่วยมีอาการเตือน (alam symptoms)

การตรวจเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่และการทำงานของทวารหนัก

ในกรณีที่ผลการตรวจร่างกายและการตรวจต่าง ๆ ไม่พบโรคทางกายที่เป็นสาเหตุของอาการท้องผูก การตรวจเพื่อหาความผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่และการทำงานของทวารหนักช่วยแบ่งผู้ป่วยได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

การตรวจเพื่อหาความผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่และการทำงานของทวารหนักประกอบด้วย

การแปลผลการตรวจเพื่อหาความผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่และการทำงานของทวารหนัก

ท้องผูก ท้องผูกเรื้อรังท้องผูกเนื่องจากกล้ามเนื้อควบคุมไม่ดี การเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่น้อยกว่าปกติภาวะลำไส้แปรปรวนการวินิจฉัย การรักษาผู้ป่วยอาการท้องผูก

เพิ่มเพื่อน