jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

แผนการรักษาโรคหอบหืดเรื้อรัง 

แผนการรักษาโรคหอบหืดเรื้อรัง เป็นแผนการรักษาผู้ป่วยที่อาการหอบมีความรุนแรงแต่ละระดับ โดยท่านจะต้องทราบว่าความรุนแรงของโรคหอบหืดของท่านอยู่ระดับไหน โดยการเปิดดูตารางแสดงความรุนแรงของโรคหอบหืด ยาที่ใช้รักษาแบ่งเป็นสองชนิดคือ การควบคุมโรคระยะยาว[Long-Term Control] และการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ[Quick Relief] ท่านสามารถคลิกดูชื่อและขนาดยา

 

ความรุนแรงของโรค

ยาที่ควบคุมโรคระยะยาว

Long-Term Control Medications

ยาเพื่อบรรเทาอาการ

Quick-Relief Medications

ขั้น1

ผู้ป่วยหอบนานๆครั้ง

  • ไม่จำเป็นต้องใช้ยาอื่น
  • ใช้ shorting-acting Inhaled beta2-agonist เมื่อหอบ
  • ใช้ short-acting Inhaled beta2-agonistgมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ให้เปลี่ยนการรักษาเป็นขั้น2

 ขั้น2

โรคหืดระดับรุนแรงน้อย

หรือ

  • ใช้ shorting-acting Inhaled beta2-agonist เมื่อหอบ
  • ใช้ short-acting Inhaled beta2-agonist ทุกวัน ์ให้เปลี่ยนการรักษาเป็นขั้น3
  • ถ้าอาการดีขึ้น1-6 เดือนให้เปลี่ยนการรักษาเป็นขั้น1

ขั้น3

โรคหืดรุนแรงปานกลาง

หรือ

  • ใช้ shorting-acting Inhaled beta2-agonist เมื่อหอบ
  • ใช้ short-acting Inhaled beta2-agonist ทุกวัน ์ให้เปลี่ยนการรักษาเป็นขั้น3
  • ถ้าอาการดีขึ้น1-6 เดือนให้เปลี่ยนการรักษาเป็นขั้น2

 

ขั้น4

โรคหืดรุนแรงมาก

  • ใช้ shorting-acting Inhaled beta2-agonist เมื่อหอบ
  • ใช้ short-acting Inhaled beta2-agonist ทุกวัน ์ให้เปลี่ยนการรักษาเป็นขั้น3 หรือเพิ่มความถี่ของการใช้ ให้เปลี่ยนการรักษาเป็นขั้น4
  • ถ้าอาการดีขึ้น1-6 เดือนให้เปลี่ยนการรักษาเป็นขั้น3

 



เนื่องจากโรคหอบหืดจะมีการผันแปรอยู่ตลอดเวลาบางครั้งต้องมีการปรับแผนการรักษา การปรับแผนการรักษาผู้ป่วยหอบหืดควรจะบันทึกความผิดปกติของอาการรายละเอียดการใช้ยา และการทดสอบสมรรถภาพปอดอย่างง่าย(PeakFlow)ด้วยตนเอง ท่านอาจจะใช้ระบบสัญญาณไฟจราจรในการเรียนรู้ที่จะใช้ยารักษาโรคหอบหืด เช่น

ไฟเขียว ก. ไฟเขียว หมายถึง ให้เลือกใช้ยาป้องกันระงับอักเสบของหลอดลม (Steroid พ่น)
ไฟเหลือง ข. ไฟเหลือง หมายถึง ใช้ยาขยายหลอดลม ควบคู่กับยาป้องกันระงับอักเสบของหลอดลม
ไฟแดง ค. ไฟแดง หมายถึง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหอบหืด

1. ไฟเขียว คือ ผู้ป่วยที่มี PEF 80 - 100% ของปกติ(ค่านี้ได้จากการที่ท่านเป่าอยู่ทุกวัน) มีอาการ หายใจดี ไม่ไอ หายใจไม่มีเสียง Wheeze , ไม่แน่นหน้าอกเวลาทำงานหรือออกคำสั่ง
  แนวทางการรักษาหอบหืดเฉียบพลัน


2.ไฟเหลือง คือ ผู้ป่วยที่มี PEF 50 - 80% ของปกติ ผู้ป่วยจะไอ, หายใจดัง , แน่นอก ต้องใช้ยาพ่น ขยายหลอดลม บ่อยขึ้น ตื่นเช้าหอบบ่อยขึ้น ตื่นมากลางดึกหอบบ่อยขึ้น
  แนวทางการรักษาหอบหืดเฉียบพลัน



3. ไฟแดง คือ ผู้ป่วยที่มี PEF น้อยกว่า 50% ของปกติผู้ป่วยจะมีอาการหอบบ่อย หอบกลางคืนบ่อย ทำงานไม่ได้
  แนวทางการรักษาหอบหืดเฉียบพลัน

การประเมินว่าอาการหอบหืดของคุณเป็นไฟเขียว ไฟเหลือง หรือไฟแดง

เนื่องจากโรคหอบหืดจะมีการผันแปรอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นควรจะประเมินแผนการรักษาของคุณว่ายังคงได้ผลดีหรือไม่ โดยตอบคำถามเหล่านี้

มีอาการหอบหืดมากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์  ใช่  ไม่ใช่
หอบกลางคืนจนต้องตื่นขึ้นมา 1 ครั้งต่อสัปดาห์  ใช่ ไม่ใช่
อาการหอบทำให้ต้องกิจกรรมบางอย่าง  ใช่  ไม่ใช่
อาการหอบต้องทำให้หยุดเรียนหรือหยุดงาน  ใช่  ไม่ใช่
ต้องพ่นยาขยายหลอดลมมากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์  ใช่  ไม่ใช่
การวัด PEF ต่ำกว่าปกติ  ใช่  ไม่ใช่

หากคำตอบของคุณว่าไม่ใช่ แสดงว่าคุณอยู่ในช่วงไฟเขียว คือหมายถึงว่าการควบคุมอาการหอบหืดของคุณได้ผลดี ให้รักษาด้วยยาตามแผนเดิม

หากคุณตอบคำถามว่าใช่มากกว่า 1 ข้อแสดงว่าคุณอยู่ในช่วงไฟเหลือง ให้ปรับยาตามตารางไฟเหลืองข้างบน จนกระทั่งคำตอบคือไม่ใช่ทุกข้อ

หากคำตอบของคุณว่าใช่บางข้อแสดงว่าคุณยังควบคุมโรคหอบหืดไม่ดี ลองตอบคำถามเพิ่มเติมข้างล่างนี้ หากมีข้อใดข้อหนึ่งแสดงว่าคุณอยู่ภายใต้ภาวะไฟแดง
หายใจสั้น กระสับกระส่าย และมีเหงื่อออก
ต้องตื่นกลางคืนเพราะหอบ เคยมีอาการหอบมากมาก่อน
ไม่สามารถดำเนินชีวิตตามปกติ ริมฝีปากและเล็บเริ่มเขียว
ไม่สามารถพูดเป็นประโยค พ่นยาขยายหลอดลมแล้วไม่ดีขึ้น

ให้รีบรักษาตามแผนไฟแดงดังแสดงไว้ข้างบน พร้อมกับติดต่อรถโรงพยาบาลใกล้บ้าน

สิ่งที่ผู้ป่วยต้องรู้

คุณสามารถควบคุมโรคหอบหืดได้

โรคหอบหืดเป็นการอักเสบของผนังหลอดลมเรื้อรัง โรคนี้ไม่หายแต่สามารถควบคุมได้ มักจะมีลักษณะดังนี้

คุณสามารถควบคุมโรคหอบหืดให้ได้ผลดีโดย

ควรรีบพ่นยาเพื่อรักษาเมื่อเริมมีอาการหอบหืดตามแผนการรักษา

สารหรือภาวะกระตุ้นให้หอบหืดเป็นมากขึ้น

ผู้ป่วยควรจะทราบสาร หรือภาวะที่ทำให้หอบหืดเป็นมากขึ้น และพยายามหลีกเลี่ยง

อาการเตือนว่าหอบหืดจะกำเริบ

ในการควบคุมหอบหืดมี 2วิธี

การเปลี่ยนขั้นการรักษา

ในการรักษาหอบหืดแพทย์จะพิจารณาเปลี่ยนการรักษาตามความรุนแรงของโรค

ต้องรู้เกี่ยวกับโรคหอบหืด | ต้องรู้จักวิธีพ่นยา | ต้องรู้จักชนิดของยาที่รักษา | ต้องมีแผนการรักษาด้วยตัวเอง | ต้องมีแผนฉุกเฉินในการรักเวลาหอบมาก | ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่แพ้ | ต้องรู้จักประเมินอาการของโรค | ต้องมีแผนเรื้อรัง

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

 

Google
 

เพิ่มเพื่อน






โรคหอบหืด

การวินิจัยโรคหอบหืด

ความรุนแรงโรคหอบหืด

ยารักษาโรคหอบหืด

แผนการรักษาโรคหอบหืดเรื้อรัง

แผนการรักษาหอบหืดเฉียบพลัน

เตรียมตัวก่อนพบแพทย์

อาการที่ต้องพบแพทย์ทันที

ผู้ที่ควรอยู่โรงพยาบาล

โรคหอบในภาวะพิเศษ