การแพ้ยา drug allergy
เมื่อคุณรับประทานยาแล้วเกิดผื่น หรือแน่นหน้าอก แสดงว่าคุณอาจจะมีอาการแพ้ยา แต่การเกิดผลข้างเคียงจากยามิใช่หมายความว่าแพ้ยาเสมอไป อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้ และผู้ป่วยก็ยังสามารถรับยานั้นได้ แต่ถ้าหากเกิดจากแพ้ยาผู้ป่วยต้องหลีกเลี่ยงยาที่แพ้โดยเด็ดขาดการแพ้ยาหมายถึงเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ มักจะเกิดอาการหลังรับประทานยา ทันทีหรือไม่เกิน 2 ชั่วโมง อาการที่สำคัญได้แก่
- ผื่นคัน
- คัดจมูก
- หายใจไม่ออก หายใจเสี่ยงดังหวีด
- บวมแขนขา
การที่จะทราบแน่ชัดต้องทำการทดสอบภูมิแพ้ หลังจากที่ทราบชื่อยาที่แพ้แล้วก็จดชื่อยาที่แพ้ไว้กับตัว
หรืออาจจะทำป้ายติดไว้กับตัว การรักษาที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงจากยาชนิดนั้นโดยเด็ดขาด ก่อนที่แพทย์จะจ่ายยาต้องบอกแพทย์ทุกครั้งว่าแพ้ยาอะไร ก่อนรับยาจากเภสัชกรต้องถามชื่อยา และบอกว่าแพ้ยาอะไรแก่เภสัชกรเนื่องจากยาชนิดเดียวกัน อาจจะมีหลายชื่อ
ผลเสียที่เกิดจากยาอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่น
เช่น
- Overdose or toxicity ได้รับยาเกินขนาด
เช่นการได้ราปฏิชีวนะรักษาโรคติดเชื้อหากได้ติดต่อกันนานๆอาจจะมีผื่นเกิดขึ้น
- Secondary effects
ผลข้างเคียงจากฤทธิ์ของยา
เช่นเร่รับประทาน aspirin
เพื่อแก้ปวดแต่เกิดเลือดออกง่าย
เลือดออกง่ายเป็นผลจากยา
aspirin
- Side effects
คือผลข้างเคียงของยา
เช่นกินยาลดน้ำมูกจะมีอาการปากแห้งใจสั่น
นอนไม่หลับ
กินยาแก้หอบหืดจะมีอาการมือสั่นใจสั่น
กินยาแก้ปวดจะมีอาการปวดท้อง
ท่านสามารถอ่านผลข้างเคียงได้จากสลากยาที่กำกับ
อาการข้างเคียงไม่จำเป็นต้องเกิดกับทุกคนที่กินยา
อาจจะเกิดกับบางคนเท่านั้น
- Drug interactions
ท่านหากรับประทานยามากกว่าหนึ่งชนิดท่านต้องทราบว่ายาสองชนิดมีปฏิกิริยาส่งเสริม หรือหักล้างกันหรือไม่ทั้งในแง่ของการรักษาและผลข้างเคียงของยา
เช่นรับประทานยาชนิดหนึ่งและเมื่อได้ยาอีกชนิดหนึ่งซึ่งอาจจะส่งผลให้ยานั้นออกฤทธิ์ หรือผลข้างเคียงมากขึ้นและอาจจะเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้ยา
- Idiosyncratic reactions
เป็นปฏิกิริยาที่เกิดโดยคาดการณ์ไม่ได้ว่าจะเกิดอาการภูมิแพ้หรือไม่
โปรดจำไว้ว่าหากท่านจะรับประทานยาหรือสมุนไพรท่านต้องคำนึงถึงการแพ้ยาทั้งที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้และจากอย่างอื่น
นอกจากนั้นท่านที่รับประทานยามากกว่า
สองชนิดต้องระวังว่าอาจจะเกิดผลเสียแก่ตัวท่าน
การเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้
ผื่นที่เกิดจากการแพ้ยา
แพ้ยาทำให้เกิดไข้
ท่านที่เป็นโรคติดเชื้อและซื้อยารับประทาน หลังจากรับประทานไประยะหนึ่งไข้ไม่ลง
ซึ่งอาจจะเกิดจากแพยาก็ได้ ยาที่เกิดอาจจะเป็นไข้ต่ำๆตลอด หรือไข้สูงเป็นช่วงๆยาที่มักจะทำให้เกิดไข้คือยากลุ่มปฏิชีวนะ
เมื่อหยุดยา 24-48 ชั่วโมงไข้ก็จะลงเอง
ยาที่ทำให้เกิดผลภูมิแพ้ที่ตับ
ปฏิกิริยาภูมิแพ้อาจจะทำให้เกิดการอักเสบของตับ โดยตับจะโตและเจ็บเมื่อเจาะเลือดตรวจจะพบว่ามีค่า
SGOT,SGPT สูงและอาจจะมีดีซ่าน ยาที่ทำให้เกิดตับอักเสบที่พบบ่อยได้แก่
- phenotiazine
- sulfonamide
- halathane
- phenyltoin
- Isoniazid
ยาที่ทำให้เกิดโรคปอด
ผู้ป่วยที่ใช้ยาเป็นประจำเช่นยา nitrofurantoin sulfasalaxine นานๆอาจะทำให้เกิดโรคที่ปอด
ทำให้เกิด ไข้ ไอ และมีผื่น เมื่อเจาะเลือดพบว่า eosinphil ในเลือดสูง การรักาาให้หยุดยานั้นเสีย
การแพ้ยา penicillin
ยากลุ่ม penicillin เป็นยาที่แพ้ได้บ่อยที่สุด การเกิดภูมิแพ้ได้หลายแบบ IgE,Immune
Complex,Cytotoxic เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแพ้ยาpenicillin อาการแพ้มีได้หลายแบบ
- ลมพิษ
- คัน
- ผื่นได้หลายๆแบบ
- แพ้แบบรุนแรงได้แก่ หนังตา ปากบวมที่เรียกว่า angioedema กล่องเสียงบวม(laryngeal
edema) หลอดลมเกร็ง bronchospasm ความดันโลหิตต่ำ
- บางรายผื่นเป็นมากทำให้เกิดลอกทั้งตัวที่เรียกว่า steven johnson syndrome
- ในทางห้องทดลองพบว่าผู้ที่แพ้penicillin สามารถแพ้ยากลุ่ม cephalosporin ดังนั้นหากสามารกเลือกยากลุ่มอื่นได้น่าจะเป็นการปลอดภัย
- การแพ้ยา cephalosporin ก็ไม่จำเป็นต้องแพ้ penicillin
penicillin เมื่อให้ในโรคต่อไปนี้จะทำให้เกิดผื่นได้ง่าย
แพ้ยา sulfonamide
ยา sulfonamide เป็นยาผสมในยาหลายชนิดได้แก่ ยาปฏิชีวนะ(bactrim) ยาแก้ปวด()
ยาขับปัสสาวะ ยาลดน้ำตาลในเลือด
การแพ้ aspirin
อาการของผู้ที่แพ้ aspirin มีได้หลายรูปแบบ
- ผื่นลมพิษ
- angioedema หน้าหนังจาปากบวม
- น้ำมูกไหล
- หลอดลมเกร็งทำให้แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หากเป็นมากอาจจะมีตัวเขียว ริมฝีปากเขียว
- ความดันโลหิตต่ำ
- ผู้ที่เป็นโรคหอบหืด หรือไซนัสอักเสบจะแพ้ได้ถึงร้อยละ30-40
การวินิจฉัยอาการแพ้ยา
- การวินิจฉัยว่าแพ้ยาหรือไม่จะอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดครับ ประวัติการได้รับยาตั้งแต่เริ่มรับยาจนกระทั่งเกิดอาการแพ้ยา อาจจะอาการคันตามตัว แสบตา ผื่น ปวดข้อ การตรวจร่างกายต้องดูลักษณะของผื่น การกระจายของผื่น ไข้ อาการอื่นๆ
- อาการแพ้ยามักจะเกิดหลังจากได้รับยาไปไม่นาน แต่อาการแพ้ยาอาจจะเกิดหลังจากได้รับยาไปแล้วเป็นเวลาสัปดาห์ก็ได้
- จะต้องทราบประวัติการรับประทานยาทั้งหมด ชนิดของยาที่รับประทานอยู่ ขนาดของยา รวมทั้งยาที่ซื้อมารับประทานเอง ยาชุด หรือสมุนไพร
- อาการลมพิษอาจจะเป็นอาการของโรคซึ่งอาจจะไม่เกี่ยวข้องกับการแพ้ยาก็ได้
การตรวจวินิจฉัย
- ไม่มีการตรวจวินิจฉัยที่ชัดเจน สิ่งที่กระทำได้ดีที่สุด คือการหยุดยาที่สงสัยทันที และติดตามว่าผื่นหรืออาการแพ้ยาลดลงหรือไม่
- การเจาะเลือดตรวจ CBC จะพบว่าอาจจะมีเม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ หรือมี eosinophilia ซึ่งบ่งว่ามีการแพ้ยา
- สำหรับผู้ที่แพ้ยารุนแรงจะต้องมีการเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับ และไต บางรายที่มีการอักเสลของเส้นเลือดจะต้องมีการX ray ปอด และการตรวจโปรตีนในปัสสาวะ
- ในรายที่อาการแพ้ยาเหมือนอาการของโรค SLE จะต้องมีการตรวจเลือดเพื่อแยกโรค SLE
- การทดสอบทางผิวหนัง และการรับประทานยาเพื่อทดสอบการแพ้ยาไม่นิยมทำ และอาจจะเป็นอันตราย
การรักษาอาการแพ้ยา
สำหรับผู้ทีอาการแพ้เฉียบพลัน
- ให้หยุดยานั้นทันที
- หากมีอาการแพ้รุนแรงแบบ anaphylaxis ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงกับชีวิต ต้องไดรับยา
epinephrine
- สำหรับผู้ที่มีผื่นลมพิษหรือ angioedema ให้ยาแก้แพ้รับประทาน
- ให้ยา steroid ชนิดรับประทาน
สำหรับผู้ที่แพ้ไม่เฉียพลัน
- ให้หยุดยาที่สงสัย หลังหยุดยาผื่นอาจจะยังเกิดขึ้นต่อไปได้อีก
- หากผื่นเป็นน้อยให้ยาแก้แพ้ชนิดเดียวก็น่าจะพอ
- สำหรับผู้ที่มีผื่นมากและมีท่าจะเป็นมากขึ้นก็สามารถให้กิน steroid ชนิดกินระยะสั่นๆ
- สำหรับผู้ที่มีการอักเสบของไต serum sickness ปวดข้อ อาจจะต้องให้ยา steroid
และยาแก้แพ้รับประทาน
ทบทวน เดือนตุลาคม 2554
Back