การแพ้ยาง
การแพ้ยางหมายถึงแพ้ยางพาราที่นำมาทำเป็นเครื่องใช้มากมายในบ้าน
เช่นรองเท้า ถุงยางอนามัย
ลูกโป่ง ตุ๊กตา ยางรถยนต์
และนำมาใช้ทางการแพทย์มากมายเช่นถุงมือ
สายยาง สายน้ำเกลือ
การแพ้ยางพารามีได้หลายรูปแบบ
เช่นแพ้จากการสัมผัสเช่นผื่นแพ้สายรองเท้า
สายยางรัดขอบกางเกงใน
หรือบางรายได้หายใจเอาชิ้นส่วนเล็กๆทำให้เกิดภูมิแพ้
บางรายเป็นแบบหอบหืด
ชนิดที่รุนแรงอาจจะเป็น anaphylaxis
หากสงสัยว่าแพ้ยางพารา สามารถทราบได้โดยการทดสอบทางผิวหนังและตรวจเลือด การแพ้ยางอาจจะแพ้จากเนื้อยางหรือแพ้สารที่ผสมอยู่
คนที่เสี่ยงต่อการแพ้ยาง
- บุคคลากรทางแพทย์ที่ต้องใช้เครื่องมือที่ทำจากยาง เช่น ถุงมือ สายยาง หมวก เป็นต้น
- ผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับยาง
- ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดบ่อย
- ผู้ที่เป็นโรคทางประสาทไขสันหลัง หรือต้องคาท่อปัสสาวะเรื้อรัง
- ผู้ที่สวมถุงยาง
ตำแหน่งซึ่งอาจจะเกิดการแพ้
- จากการสัมผัสทางผิวหนัง เช่นการสวมถุงมือ ถุงยางอนามัย
- จากเยื่อเมือก เช่นการอมถุงยาง ท่อสำหรับสวนอุจาระ
- จากทางลมหายใจ เช่นฝุ่นจากถุงมือหรือเครื่องมือ
- เข้าทางหลอดเลือดจากสายน้ำเกลือ
กลไกการเกิดการแพ้
กลไกการการแพ้ของยางมีด้วยกัน 3 วิธีคือ
IgE reactionอาการแพ้ที่เกิดทันที
- อาการเกิดตรงตำแหน่งที่สัมผัส เช่น ผิวหนัง ตา ปอด
- อาการแพ้จะเหมือนกับการแพ้สารชนิดอื่น
T-cell-reaction อาการแพ้ที่เกิดช้าๆ
- อาการเกิดเฉพาะที่
- ทำให้เกิดผื่นแพ้บริเวณที่สัมผัส contact dermatitis
- มักจะเกิดจากสารที่ผสมในยาง
Irritant reaction เกิดจากระคายเคือง
- ไม่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน
- เกิดจากการที่ต้องเจอน้ำ หรือสบู่หรือผงซักฟอกบ่อยๆ
- มีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดการแพ้ยาง
กลไกการได้รับสารภูมิแพ้
- ร่างกายจะได้รับสารภูมิแพ้โดยทางลมหายใจเนื่องจากโปรตีนของถุงมือลอยไปตามลม
- ผ่านทางผิวหนังร่างกายได้สารภูมิแพ้เนื่องจากเหงื่อละลายสารภูมิแพ้
และผิวหนังดูดซึมสารภูมิแพ้นั้น นอกจากนั้นผิวหนังที่อักเสบอยู่เก่าเมื่อใส่ถุงมือจะทำให้เกิดการดูดซึมดียิ่งขึ้น
เมื่อร่างกายได้รับสารภูมิแพ้ที่อยู่ในยาง ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนของยาง
เมื่อได้รับสารโปรตีนจึงเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้
- ร่างกายได้สารภูมิแพ้ทางเส้นเลือดเนื่องจากปนเปื้อนทางสายน้ำเกลือ
จะรู้ได้อย่างไรว่าแพ้ยาง
- มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว เช่นแพ้อาหารแพ้อากาศ
- ประวัติสัมผัสกับยาง เช่นการผ่าตัดหลายครั้ง หรือใช้อุปกรณ์ที่มียางแล้วแพ้
- ทำงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาง
- มีอาการของภูมิแพ้เช่น ผื่นสัมผัส น้ำมูกไหล หอบหืด
อาการแสดงที่บอกว่าแพ้ยาง
- ผื่นอาการแสดงที่เกิดจากการแพ้บางมีได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่เกิดผื่นบริเวณที่สัมผัสกับยางเรียกผื่นแพ้สัมผัส ผื่นที่พบก็มีได้หลายรูปแบบเช่นลมพิษ
ผื่นแพ้สัมผัส เป็นตุ่มพอง
- ระยเวลาที่เกิดแพ้ พบได้ตั้งเกิดภูมิแพ้ทันทีหลังสัมผัสยาง หรืออาจจะเกิดภูมิแพ้หลังสัมผัสหลายวัน
- บริเวณที่ภูมิแพ้ อาจจะเกิดบริเวณที่สัมผัส เช่นผื่น หรืออาจจะเกิดทั่วไปเช่นลมพิษ
บางรายอาจจะเกิดช็อก
การวินิจฉัยแพ้ยาง
หากสงสัยว่าจะแพ้บาง เราสามารถทดสอบทางผิวหนัง หากแพ้จะเกิดผื่นบริเวณที่ทดสอบ
การรักษาผู้ที่แพ้ยาง
- หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้ เช่นถอดถุงมือ สายต่างๆ
- ผู้ที่แพ้ยางควรจะมีป้ายแขวนคอว่าแพ้ยาง
- ครอบครัวของผู้แพ้ยางต้องทราบว่าผู้ป่วยแพ้ยาง
- เลือกใช้วัสดุที่ไม่ใช่ยาง
โรคภูมิแพ้