หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
รคอ้วนจะเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและเป็นโรคอ้วนจะทำให้คุมน้ำตาลยาก เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงได้ง่าย การควบคุมน้ำหนักจะต้องประกอบไปด้วยการออกกำลังกาย และการคุมอาหาร
การกำหนดอาหารผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง ที่มีน้ำหนักมากกว่าปกติ
ผู้ป่วยเบาหวานที่อ้วนต้องมาดูการกระจายของไขมัน ในร่างกายโดยการวัดอัตราส่วนรอบเอว/รอบสะโพก[waist-to-hip ratio] ถ้าผู้ชายมากกว่า 1 หรือ 40 นิ้ว หรือ ผู้หญิงมากกว่า0.8 หรือ มากกว่า 35 นิ้วจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูงมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องลดน้ำหนัก แนะนำให้ลดพลังงานลงวันละ 500 kcal โดยการลดอาหารลง 250 kcal และออกกำลังกายเพิ่มการใช้พลังงาน 250 kcal จึงจะทำให้น้ำหนักลดลงครึ่งกิโลกรัม/สัปดาห์ หรืออีกวิธีหนึ่งคือใช้อาหารเหลวสำเร็จรูปซึ่งจะได้พลังงานเพียง 600-800 kcal/วันจะลดน้ำหนักได้1-2กิโลกรัม/สัปดาห์ ควรจะใช้เพียง 2-12 สัปดาห์ และขณะคุมอาหารควรลดปริมาณยาฉีดหรือยากินด้วยเพื่อป้องกันน้ำตาลต่ำ
ตารางข้างล่างจะแสดงปริมาณพลังงานที่ผู้ป่วยเบาหวานที่อ้วน [ BMI ]> 27 ควรได้รับในแต่ละวันโดยพิจารณาจากน้ำหนัก และกิจวัตรประจำวัน
กิจวัตรประจำวัน |
45 กก. |
50กก. |
55กก. |
60กก. |
65กก. |
น้อย |
900 |
1000 |
1100 |
1200 |
1300 |
ปานกลาง |
1125 |
1250 |
1375 |
1500 |
1625 |
มาก |
1350 |
1500 |
1650 |
1800 |
1950 |
กิจวัตรประจำวัน |
70กก. |
75กก. |
80กก. |
85กก. |
น้อย |
1400 |
1500 |
1600 |
1700 |
ปานกลาง |
1750 |
1875 |
2000 |
2125 |
มาก |
2100 |
2250 |
2400 |
2550 |
หลังจากทราบปริมาณพลังงานที่ได้รับในแต่ละวันแล้ว อาจจะคำนวณหาอัตราส่วนของพลังงานที่ได้จากอาหารดังนี้ carbohydrate : fat : protein =55 : 25 : 20 หลังจากทราบปริมาณพลังงานที่ได้รับจึงใช้ตารางหมวดอาหารแลกเปลี่ยนเพื่อหาสัดส่วนอาหาร หรืออาจใช้ตารางแสดงสัดส่วนอาหารในหมวดต่างๆตามพลังงานในระดับที่แตกต่างกัน