อาการของโรคไข้หูดับเป็นอย่างไร
อาการของโรคไข้หูดับเป็นอย่างไร
ผู้ป่วยมักมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง ปวดเมื่อกล้ามเนื้อ ถ่ายเหลวร่วมกับอาการแสดงเฉพาะของโรค เช่น ซึม คอแข็ง อาเจียน ซ็อก หอบ หัวใจล้มเหลว ฯลฯ อัตราเสียชีวิตพบได้ร้อยละ 5-20 เนื่องจากเชื้อโรคนี้ทำให้เกิดโรคได้หลายระบบที่สำคัญได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หูดับ อาการทางผิวหนัง ลิ้วหัวใจอักเสบ
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบผู้ป่วยจะมีอาการหลังจากได้รับเชื้อ 2-5 วัน อาการที่สำคัญได้แก่ ไข้ ปวดศีรษะ อาเจียน คอแข็ง
- หูดับพบได้ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยซึ่งจะเกิดอาการหูดับหลังจากเกิดโรค 3-5 วัน
- ผู้ป่วยร้อยละ 6-30 จะมีอาการแสดงทางผิวหนังได้แก่จุดเลือดออกจ้ำเลือด เลือดออกใต้ผิวหนัง ผู้ป่วยอาจจะมีนิ้วกุด
- อาการอื่นๆ เช่น เช่นลิ้นหัวใจอักเสบ
- อาการทางโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ไตวาย หายใจวาย โลหิตเป็นพิษ
อาการทั่วๆไปที่พบได้แก่
- ไข้สูง ผู้ป่วยอาจมี
- อาการจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต เช่นมีไข้สูงหนาวสั่น หอบเหนื่อย
- อุจจาระร่วง
- มีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่นไข้สูงหนาวสั่น ปวดศีรษะ คอแข็ง อ่านเรื่องเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- ข้ออักเสบมีหนอง
- และที่สำคัญคือ มักมีประสาทหูอักเสบจนหูดับ/หูหนวกทั้งสองข้าง
- ผู้ป่วยอาจมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนทรงตัวไม่ได้ ซึ่งเป็นอีกอาการที่พบได้บ่อย อ่านเรื่องเวียนศีรษะ
การวินิยฉัยโรคไข้หูดับ
แพทย์จะวินิยฉัยจากประวัติการสัผัสหมู่ป่วย หรือการรับประทานอาหารสุกดิบๆ การตรวจร่างกายพบว่ามีไข้ คอแข็ง สูญเสียการได้ยิน การวินิจฉัยที่สำคัญคือเจาะเพาะเชื้อจากเลือดหรือสารหลังพบเชื้อนี้
การรักษาโรคไข้หูดับ
การรักษาที่ได้ผลดี คือการให้ยาฉีดเพนนิซิลลิน (Penicillin) ขนาดสูงเข้าหลอดเลือดดำ นานหลายสัปดาห์ หรือยา Ceftriaxone เข้าหลอดเลือดดำ ceftriaxone 2 g ทุก12 ชั่วโมงป็นเวลา 14 วัน อัตราการหาย 97% Penicillin G ขนาด 24 ล้าน U ต่อวันเป็นเวลา 10 วัน
ผลจากการป่วยของโรคนี้เป็นอย่างไร
กว่าครึ่งของผู้ที่หายป่วยจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะมีประสาทหูเสื่อมถาวร โดยมักเกิดในหูสองข้าง และเสื่อมระดับรุนแรง หรือหนวก ซึ่งบำบัดฟื้นฟูโดยการฝึกอ่านปาก ใส่เครื่องช่วยฟัง กรณีหูหนวกอาจผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม แต่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก
มีวิธีป้องกันโรคไข้หูดับอย่างไร
การป้องกันไข้หูดับทำได้โดย
- การป้องกันเชื้อจากหมูสู่คนได้แก่
- สวมรองเท้าบู๊ต สวมถุงมือ สวมเสื้อผ้าที่รัดกุม ระหว่างปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหมู/สุกรทุกขั้นตอน จะป้องกันการแพร่เชื้อจากสุกรมาสู่คนได้
- ล้างมือ ล้างเท้า ล้างตัวให้สะอาดหลังการสัมผัสสุกร และเนื้อสุกร
- เมื่อเกิดแผลต้องระวังในการสัมผัสสุกร
- การดูแลสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้ถูกสุขอนามัย
- เลิกทานลาบหลู้ ส้า ซึ่งปรุงโดยใช้เนื้อหมูดิบ เลือด และชิ้นส่วนต่าง ๆ ของหมูดิบ
- ไม่กินหมูที่ป่วย หรือหมูตายจากโรค
- การปรุงเนื้อหมูให้ปลอดภัยจากไข้หูดับ คือ หากผู้ปรุงมีแผลผิวหนังต้องปิดแผล และสวมถุงมือขณะปรุง เลือกซื้อเนื้อหมูจากตลาดสด และห้างสรรพสินค้าซึ่งจะผ่านการตรวจเช็คมาตรฐานจากโรงฆ่าสัตว์ ไม่ซื้อเนื้อหมูที่มีกลิ่นคาว สุคล้ำ เนื้อยุบ ต้มด้วยอุณหภูมิตั้งแต่ 70 องศาเซลเซียส นานอย่างน้อย 10 นาที หรือจนน้ำต้มไม่มีสีแดง
อาการของหมูที่ป่วยไข้หูดับเป็นอย่างไร
เชื้อ S.suis เป็นเชื้อที่มีปัญหาในการเลี้ยงสุกร ปัจจุบันพบทั้งหมด 34 serotype แต่ serotype ที่ติดต่อสู่คนได้แก่ serotype 2 ซึ่งสามารถทำให้เกิดสมองอักเสบ
สุกรที่ติดเชื้อนี้จะเกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ มีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีไข้สูง และเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน อาการที่สำคัญคืออาการทางประสาท นอนขาตะกุย มีอาการชัก ขาเหยียดเกร็ง กรอกตาไปมา เยื่อบุตาบวมแดง ข้ออักเสบ บางรายมีอาการปอดบวม
กลับไปหน้าแรก