โรคหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน (acute otitis media)
หูชั้นกลางอักเสบจะมีอาการแบบเฉียบพลันด้วยอาการไข้ ปวดหู ปวดศีรษะ มีน้ำเหลืองหรือหนองไหลจากหู ตรวจร่างกายจะพบมีไข้ เยื่อแก้วหูจะบวมแดง สาเหตุของหูชั้นกลางอักเสบเกิดจากการทำงานของท่อ eustachian tube ผิดปกติระหว่างที่มีการติดเชื้อทำให้ไม่มีการระบายอากาศ เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่ Streptococcus pneumoniae, Haemophilus influenzae, และ Moraxella catarrhalis การรักษาจะต้องให้ยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะ
โรคหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน Otitis media (OM) หรือหูน้ำหนวก เป็นโรคที่มีการอักเสบของหูชั้นกลาง ซึ่งอยู่ระหว่างหูชั้นนอก และหูชั้นในโดยที่ไม่ได้กล่าวถึงสาเหตุหรือกลไกการเกิด หูชั้นกลางอักเสบแบ่งออกเป็น
- หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน Acute otitis media (AOM)
- หูชั้นกลางอักเสบและมีน้ำในหู Otitis media with effusion (OME)
- หูชั้นกลางอักเสบเรื้อง Chronic suppurative otitis media
- Adhesive otitis media
โรคหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน (acute otitis media)
โรคหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน (acute otitis media) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็ก เนื่องจาก
เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน
เชื้อที่เป็นสาเหตุของหูชั้นกลางอักเสบอาจจะเป็นเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย เชื้อมักจะผ่านจากจมูก และ โพรงหลังจมูก sinus เข้าสู่หูชั้นกลางผ่านทางท่อยูสเตเชียน ซึ่งเป็นท่อที่เชื่อมระหว่างโพรงหลังจมูก (nasopharynx) และหูชั้นกลาง
สาเหตุที่สำคัญของหูชั้นกลางอักเสบคือ
- สาเหตุจากตัวผู้ป่วย
- สาเหตุจากตัวเชื้อโรค
- สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม
สาเหตุของหูชั้นกลางอักเสบ
ประวัติการเจ็บป่วย
ผู้ที่เป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบมักจะมีประวัติการเจ็บป่วยดังต่อไปนี้
- อาการเจ็บหู สำหรับเด็กจะร้องกวนและดึงหูหรือผมข้างที่เป็นโรค อาการปวดมักจะเป็นขณะนอน
- มีน้ำหรือหนองไหลออกจากหู
- ปวดศีรษะ
- มีประวัติกำลังเป็นหวัด หรือเพิ่งจะหายจากหวัด
- มีไข้
- เบื่ออาหาร
- หากเป็นเด็กจะหงุดหงิด ร้องไห้กวน คลื่นไส้อาเจียน
หากเป็นโรค หูชั้นกลางอักเสบและมีน้ำในหู Otitis media with effusion (OME)
- การได้ยินลดลง สำหรับเด็กเล็กคงจะไม่สามารถบอกให้เราทราบ ผู้ปกครองต้องสังเกตอาการ
- มีเสียงในหู
- เวียนศีรษะบ้านหมุน
- ปวดหู
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดหูชั้นกลางอักเสบได้แก่
- อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีการสูบบุหรี่
- อยู่ในสถานเลี้ยงดูเด็ก
- ตามฤดูกาล
- นอนหงายดูดนม
ผู้ที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ
อาการของหูขั้นกลาง
อาการของหูชั้นกลางอักเสบได้แก่อาการปวดหู มีน้ำไหลออกจากหู มีไข้ สูญเสียการทรงตัว ปวดศีรษะคลื่นไส้ อาเจียน ถ้าเป็นเด็กจะร้องไห้กวน ไม่นอน
อาการของโรคหูชั้นกลางอักเสบ
การวินิจฉัยโรคหูชั้นกลางอักเสบ
การวินิจฉัยทำได้ที่แผนกผู้ป่วยนอกโดย
การใช้กล้องส่อง Otoscope ซึ่งจะพบเยื่อแก้วหู
- แดง
- บวม
- เลือดออก
- มีหนอง
- เห็นพองอากาศ
- น้ำในหูชั้นกลาง
- เยื่อแก้หูทะลุ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
โรคหูชั้นกลางอักเสบไม่จำเป็นต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการยกเว้นในรายที่คิดว่าอาจจะมีโรคแทรกซ้อนเช่นมีฝีในสมอง การตรวจที่สำคัญได้แก่
การรักษาหูชั้นกลางอักเสบ
การรักษาทางยา
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่หูชั้นกลางอักเสบจะหายเองได้โดยไม่ต้องผ่าตัด โดยการให้ยาแก้ปวดในช่วงแรกหากไม่ดีขึ้นจึงใช้ยาปฏิชีวนะ การดูและหูชั้นกลางอักเสบที่บ้าน
- ประคบอุ่นหูข้างที่อักเสบ
- ใช้ยาหยอดหูเพื่อลดอาการปวด
- รับประทานยาแก้ปวดเช่น ibuprofen หรือ พาราเซตตามอล
- รับประทานยาปฏิชีวนะ เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุ ซึ่งควรรับประทานเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 – 14 วัน
- รับประทานยาแก้แพ้ antihistamine, ยาลดบวม, ยาที่ทำให้หดหลอดเลือด decongestant และพ่นจมูกด้วยยาหดหลอดเลือด (topical decongestant) เพื่อทำให้เยื่อบุบริเวณรูเปิดของท่อยูสเตเชียนยุบบวม ทำให้ท่อยูสเตเชียนเปิดได้กว้างขึ้น ทำให้สารจากการอักเสบ หรือหนองที่อยู่ในหูชั้นกลาง สามารถระบายออกจากท่อยูสเตเชียนนี้ได้สะดวกขึ้น
- รับประทานยาแก้ปวด หรือลดไข้เท่าที่จำเป็น
เกณฑ์ในการให้ยาปฏิชีวนะ
- จะให้ยาปฏิชีวนะแก่เด็กอายุมากกว่า 6 เดือนในกรณีที่มีหูชั้นกลางอักเสบจะข้างเดียว หรือสองข้าง และมีอาการมาก(ปวดหูมากกว่า 48 ชั่วโมง ไข้มากกว่า 39 องศา)ให้ยา 10 วัน
- สำหรับเด็กที่อาการไม่รุนแรงอาจจะให้ยาปฏิชีวนะ หรือเฝ้าดูอาการ 48-72 ชั่วโมง
หากอาการไม่ดีจึงให้ยาปฏิชีวนะ
- มีหนองไหลจากหู
- ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน เช่นผู้ที่มีโรคหัวใจ โรคปอด โรคไต
- ยาที่เลือกใช้คือ Amoxicillin
ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาหูชั้นกลางอักเสบ
-
การรักษาโดยการผ่าตัด
- การเจาะเยื่อแก้วหู (myringotomy) เพื่อระบายหนองในหูชั้นกลางออก จะช่วยลดอาการปวดหูลงได้มาก มักทำในรายที่ให้ยาเต็มที่แล้ว อาการผู้ป่วยไม่ดีขึ้น เช่น ยังคงปวดมาก มีไข้สูง หรือ ต้องการหนองไปย้อมเชื้อ หรือเพาะเชื้อเพื่อหาชนิดของเชื้อก่อโรค ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือผู้ป่วยหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลันที่มีภาวะแทรกซ้อนเช่นโพรงกระดูกมาสตอยด์อักเสบเฉียบพลัน, ฝีหลังหู, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ฝีในสมอง, อัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้า เนื่องจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 มีการอักเสบ หลังผ่าตัด เยื่อแก้วหูจะปิดได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์
- การผ่าตัดโพรงกระดูกมาสตอยด์ (mastoidectomy) มักทำในกรณีที่มีการอักเสบของโพรงกระดูกมาสตอยด์ มีหนองขังอยู่ภายในโพรงกระดูกมาสตอยด์ และไม่มีทางออก โดยเป็นการผ่าตัดบริเวณหลังหูเข้าสู่โพรงกระดูกมาสตอยด์ และนำหนอง หรือการอักเสบที่อยู่ภายในออก
การป้องกันหูชั้นกลางอักเสบ
โรคแทรกซ้อนของหูชั้นกลางอักเสบ
ทบทวนโดย siamhealth.net เมื่อวันที่5กุมภาพันธ์2565