ไซนัส (Sinus) เป็นโพรงอากาศในกระดูกใบหน้าอยู่บริเวณรอบๆจมูก และมีท่อซึ่งจะเปิดในช่องจมูก ในโพรงอากาศ หรือไซนัสนี้ จะมีเยื่อบุซึ่งเป็นชนิดเดียวกับเยื่อบุช่องจมูกและติดต่อกันโดยผ่านรูเปิดเล็กๆ ภายในไซนัสจะมีเยื่อเมือก ซึ่งจะให้ความอบอุ่น และความชื้นกับอากาศที่ผ่านเข้าไปไซนัสมี 4 คู่ ได้แก่
- ไซนัสบริเวณโหนกแก้ม 2 ข้าง Maxillary sinus
- ไซนัสระหว่างลูกตาบริเวณ หัวตา 2 ข้าง ethmoid sinus
- ไซนัสบริเวณหน้าผากใกล้กับหัวคิ้ว 2 ข้าง frontal sinus
- ไซนัสที่อยู่ในกะโหลกศีรษะ ใกล้ฐานสมอง sphenoid sinus
ไซนัสมีหน้าที่อะไร
- เนื่องจากไซนัสเป็นโพรงอากาศ ดังนั้น จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ศีรษะของเราเบาขึ้น
- เวลาพูดมีเสียงก้องกังวานขึ้น
- และขณะเดียวกันเยื่อบุของไซนัสและจมูกจะผลิตน้ำมูกเมือกใสๆ ประมาณวันละ ๐.๕-๑ ลิตร เพื่อดักจับฝุ่นละอองและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ในอากาศที่เราหายใจเข้าไป ขณะเดียวกันบนเยื่อบุเหล่านี้จะมีขนเล็ก (cilia) ที่คอยพัดโบกเอาน้ำมูกเหล่านี้ลงไปทางด้านหลังของจมูก สู่ช่องคอและเมื่อพลัดลงคอเราก็จะกลืนลงไป จากนั้นกรดในกระเพาะก็จะทำหน้าที่ฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ให้หมดไป
- ไซนัสจะทำหน้าที่ปรับอากาศที่เราหายใจเข้าไป อากาศก็จะผ่านบริเวณจมูกที่มีเยื่อบุต่อกับเยื่อบุไซนัสปกติเหล่านี้ ซึ่งจะช่วยถ่ายเทความร้อนและความชื้นจากหลอดเลือดบนผิวเยื่อบุ ทำให้อากาศอุ่นและชื้นขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับร่างกายของคนเรา
ไซนัสอักเสบ
หมายถึงการที่ไซนัสมีการอักเสบ สำหรับเชื้อที่เป็นสาเหตุมีทั้งเชื้อไวรัส และเชื้อแบคที่เรียแบ่งไซนัสอักเสบเป็น
- ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน Acute sinusitis เป็นการอักเสบเฉียบพลันมักจะหายภายในเวลา 4 สัปดาห์ และเป็นน้อยกว่า 4 ครั้งต่อปี
- ไซนัสอักเสบเรื้อรังมักจะเป็นนานเป็นนาน 3 เดือน และเป็นมากกว่า 4 ครั้งต่อปี หรือสาเหตุอาจจะเกิดจากเนื้องอกที่จมูก nasal polyps หรือ tumors, โรคภูมิแพ้ allergies การติดเชื้อทางเดินหายใจ respiratory tract infectionsซึ่งอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา
สาเหตุของไซนัสอักเสบ
ตามปกติไซนัสทั้งหลายจะมีทางเชื่อมต่อกับจมูก ซึ่งทางเชื่อมต่อนี้จะเปิดโล่งและน้ำมูกใสๆใหลตลอดเวลา ที่มีการสร้างอยู่ในไซนัสก็สามารถไหลระบายลงสู่โพรงจมูกได้ แต่ถ้าหากทางเชื่อมดังกล่าวเกิดการอุดกั้นขึ้นมาด้วยสาเหตุใดก็ตามก็จะทำให้เกิดไซนัสอักเสบได้
- สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจโรคหวัด ซึ่งจะไปทำให้เยื่อบุจมูกอักเสบ และอาจจะลามเข้าไซนัสซึ่งทำให้ไซนัสอักเสบจากเชื้อไวรัสในระยะแรก ซึ่งหากมีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนก็ทำให้เกิดไซนัสอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย หากเป็นซ้ๆก็กลายเป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง
- มีเพียงส่วนน้อยที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
- สาเหตุอื่นๆ
- ภูมิแพ้
- มลภาวะ (สารเคมี และสารระคายเคือง)
- การติดเชื้อรา
- ความผิดปกติของโครงสร้างในจมูก มีริดสีดวงจมูก เนื้องอก
- มีภูมิอ่อนแอ
- การที่มีอารมณ์แปรปรวน มีความเครียดสูง ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลงก็จะทำให้เกิดโรคไซนัส อักเสบ
- การว่ายน้ำหรือดำน้ำ มีการสำลักน้ำซึ่งอาจจะมีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนก็เป็นสาเหตุของไซนัสอักเสบ
- การติดเชื้อของฟันโดยเฉพาะฟันผุบริเวณฟันกรามแถวบน
- อุบัติเหตุทำให้ไซนัสแตกหัก
- มีสิ่งแปลกปลอมในจมูก เช่น เมล็ดผลไม้
อาการและอาการแสดงของโรคไซนัสอักเสบ
- จะมีอาการปวดหน่วงๆ ตามจุดไซนัส เช่น หน้าผาก หัวตา โหนกแก้ม หรือรอบๆ กระบอกตา ถ้าเอานิ้วกดหรือ เคาะแรงๆ ตรงไซนัสที่อักเสบก็จะเจ็บ
- ตำแหน่งที่ปวดศีรษะจะขึ้นกับว่าไซนัสบริเวณไหนอักเสบ
- ไซนัสส่วนที่เรียกว่า Frontal sinusitis ซึ่งอยู่บริเวณหน้าผาก- จะมีอาการปวดศีรษะบริเวณหัวคิ้ว
- ไซนัส Maxillary sinusitis ซึ่งอยู่บริเวณโหนกแก้ม- จะปวดศีรษะบริเวณแก้ม ฟันบน และบริเวณขากรรไกรซึ่งอาจจะเข้าใจผิดว่าปวดฟัน
- ไซนัสบริเวณ Ethmoid sinusitis - จะปวดศีรษะบริเวณรอบตา และข้างจมูก
- ไซนัสบริเวณ Sphenoid sinusitis -จะปวดบริเวณรอบตาอาจจะมีอาการปวดหู
- ปวดศีรษะ อาการปวดมักเป็นมากในตอนเช้าหรือบ่าย และเวลาก้มศีรษะ หรือเปลี่ยนท่า
- ผู้ป่วยจะมีน้ำมูกเป็นหนองข้นสีเหลืองหรือสีเขียว น้ำมูกจะไหลลงคอ หรือเวลาสูดจมูกแรงๆ จะมีหนองไหลลงหลังคอ
- คัดจมูก และมีน้ำมูกไหล น้ำมูกไหลลงคอ มีการคัดแน่นจมูกหรือหายใจมีกลิ่นเหม็นคาว
- มีอาการ ปวดหู หูอื้อ เนื่องจากการอุดตันของท่อยูสเตเชี่ยนทำให้ความดันในไซนัสสูงกว่าอากาศ
- เจ็บคอ
- มีไข้
- ไอ มีกลิ่นปาก
- อ่อนเพลีย
ผู้ที่เสี่ยงต่อไซนัสอักเสบ
- คนที่เป็นหวัดทำให้เยื่อเมือกบวมซึ่งอาจจะอุดทางเดินของท่อ
- คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูกเยื่อบุจมูกจะบวม รูเปิดไซนัสจะตีบตันทำให้เกิดการอักเสบในไซนัสได้
- คนที่มีความผิดปกติของช่องจมูกเช่น ผนังกั้นระหว่างช่องจมูกคด ทำให้ช่องจมูกแคบกว่าปกติเกิดอาการแน่นคัดจมูก และขัดขวางการไหลเวียนตามปกติของน้ำมูกที่จะไปทางด้านหลังทำให้มีโอกาสเกิดการอักเสบติดเชื้อง่ายขึ้น
- คนที่สูบบุหรี่และคนที่อยู่ในเขตมลภาวะเป็นพิษจะมีผลทำให้ภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อลดลง
- การว่ายน้ำสระที่ใส่น้ำยาคลอรีน หรือฆ่าเชื้อด้วยโอโซนอาจทำให้มีโอกาสเป็นไซนัสอักเสบเกิดขึ้น เพราะว่ามีการระคายเคืองของเยื่อบุเกิดขึ้น
- มีโรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
การวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบ
การวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบของแพทย์จะอาศัยประวัติการเจ็บป่วย การตรวจร่างกาย และการตรวจพิเศษ
ประวัติอาการเจ็บป่วยได้กล่าวไว้ข้างต้น
สำหรับการตรวจร่างกายแพทย์จะให้อ้าปากซึ่งอาจจะพบหนองหรือมูกที่ด้านหลังของคอ และเยื่อบุด้านหลังของคอจะแดง แพทย์จะกดบริเวณหน้าผาก โหนกแก้ม หัวตา หากมีอาการเจ็บอาจจะมีการอักเสบของไซนัสนั้น
สำหรับการตรวจพิเศษ
- แพทย์จะตรวจไซนัสด้วย x-ray ธรรมดาก็จะเห็นว่ามีน้ำในไซนัส
- การตรวจด้วยการส่องกล้อง Nasal endoscopy
- การตรวจไซนัสด้วยการตรวจ x-ray computer ซึ่งจะได้รายละเอียดมาก
- การถ่ายภาพไซนัสด้วย MRI
- การส่องกล้องเข้าไปดูในไซนัส Sinuscopy
เป็นไซนัสอักเสบเมื่อไรจึงจะพบแพทย์
- ไข้มากว่า 38 องศา
- มีอาการมากกว่า 10 วัน
- เป็นไซนัสอักเสบหลายครั้งในปีที่ผ่านมา
- รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น
อันตรายจากไซนัสอักเสบ
- การติดเชื้อในไซนัสอาจจะลุกลามไปยังอวัยวะสำคัญใกล้เคียงได้ คือ ตาและสมองเช่นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในสมอง ซึ่งถือว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย
- รายที่มีอาการเรื้อรังอาจจะมีความสัมพันธ์กับโรคทางปอด หลอดลมอักเสบ ไอเรื้อรัง หอบหืด และหูชั้นกลางอักเสบได้
การป้องกันการเกิดไซนัสอักเสบ
- ล้างมือบ่อยๆ
- ฉีดวัคซีนให้ครบ
- หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับคนที่เป็นหวัด หรือติดเชื้อทางเดินหายใจ
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือควันบุหรี่
- ใช้เครื่องกรองอากาศทำความสะอาดของอากาศ
- ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค
- พักผ่อนให้พอ อย่าอดนอน หรือนอนดึกบ่อยๆ เพราะถ้าร่างกายอ่อนแอเมื่อไรโอกาสที่จะติดเชื้อต่างๆ ก็เกิดขึ้นได้ง่าย
- พยายามดูแลตัวเองอย่าให้เป็นหวัด เพราะผลจากการเป็นหวัดร้อยละ ๒-๕ สามารถเป็นไซนัสอักเสบได้
- กินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบหมวดหมู่
- งดการดื่มเหล้า และสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ
กรณีที่สงสัยว่าไซนัสอักเสบจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
ในกรณีที่สงสัยว่าไซนัสอักเสบจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียก็จำเป็นจะต้องให้ยาปฏิชีวนะเช่น
- อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin)
- หรือ โคไตรม็อกซาโซล (co-trimoxazole)
- ยาวนานประมาณ ๑๐ วัน
- ยาลดน้ำมูก ยาแก้ปวด ไม่ควรใช้ยาแก้แพ้ในระยะนี้ เพราะจะทำให้น้ำมูกข้นเหนียวขึ้น แต่ถ้าเป็นภูมิแพ้มาก่อนให้กินยาแก้แพ้
หลักการรักษาไซนัสอักเสบ
หลักการรักษาไซนัสอักเสบประกอบไปด้วย
- การรักษาทั่วๆไป
- การรักษาการโรคติดเชื้อ
- การทำให้การระบายของโพรงอากาศดีขึ้น
- รักษาโรคหรือสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง
การรักษาทั่วๆไป
- ให้กินน้ำเพียงพอ อย่าให้จมูกแห้ง
- ยาแก้ปวด
- ยาลดน้ำมูก
- ต้องพักผ่อนให้พอ
- ดื่มน้ำมากๆ
- อยู่ในสถานที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี มีความชื้นพอเพียง
- ออกกำลังกายตามความเหมาะสม
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- รับประทานยาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวด และยาลดน้ำมูก (decongestants)
การรักษาโรคติดเชื้อ
- ให้ยาแก้อักเสบ เช่น
- ถ้าไม่ได้ผลให้กินยาต่อไปถึง ๑๔ วัน
การทำให้การระบายของโพรงอากาศดีขึ้น
- ยาแก้คัดจมูก ได้แก่ ยาในกลุ่ม Decongestants ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อลดบวม มีทั้งชนิด กิน พ่น และหยอดจมูก มีข้อเสียคือ ถ้าใช้ต่อเนื่องนานกว่า 2 สัปดาห์ เนื้อเยื่อจะกลับ มาบวมอีกได้ โดยเฉพาะเมื่อใช้พ่น ในรายไซนัสอักเสบเฉียบพลัน แนะนำให้ใช้ยาพ่นใน 2-3 วันแรกเท่านั้น
- ยาละลายมูก มีฤทธิ์ละลายมูกโดยตรง เช่น Bromhexine, และ Ambroxol hydro chloride เชื่อว่านอกจากจะช่วยละลายมูกและหนองให้ไหลออกง่ายขึ้นแล้ว
- การล้างไซนัส
รักษาโรคหรือสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยง
เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ เช่นหากมีริดสีดวงจมูกก็ผ่าตัด หรือจมูกผิดรูปก็ต้องผ่าตัดแก้ไขเป็นต้น
การรักษาไซนัสอักเสบเรื้อรัง
- ให้ทานน้ำเพียงพอ
- ยาแก้ปวด
- ยาลดน้ำมูก
- 2nd gen. แอนติฮิสตามีน (antihistamine) ถ้าคิดว่ามีโรคภูมิแพ้ด้วย
- ให้คอร์ติโคสตีรอยด์ (cortico-steroid)
ทบทวนวันที่
โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว