หน้าหลัก | สุขภาพดี
| สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
สาเหตุของหูชั้นกลางอักเสบ
สาเหตุจากตัวผู้ป่วย
- ภูมิคุ้มกัน ทารกหรือเด็กจะมีภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรงทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย เช่น โรคเยื่อบุจมูกอักเสบเฉียบพลัน (acute rhinitis) หรือโรคหวัด (common cold), โรคไซนัสอักเสบ (rhinosinusitis), โรคต่อมอดีนอยด์อักเสบ (adenoiditis) หรือผู้ที่มีโรคแล้วทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่นโรคเอดส์ เบาหวาน มะเร็ง สิ่งเหล่าจะจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ
- โรคทางพันธุกรรมบางโรค
- มีความผิดปกติเกี่ยวกับโครงสร้างเช่น ปากแหว่ง เพดานโว่ จะเป็นปัจจัยทำให้เกิดการติดเชื้อ
- ท่อยูสเตเชียนของเด็กสั้นกว่าท่อยูสเตเชียนของผู้ใหญ่ ทำให้เชื้อโรคจากจมูก เข้าสู่หูชั้นกลางของเด็กได้ง่ายกว่าในผู้ใหญ่
- มีการทำงานของท่อ ยูสเตเชียน eustachian tube (ET) dysfunction ผิดปกติ
- ขาดวิตามินเอ
- โรคอ้วน
สาเหตุด้านตัวเชื้อโรค
- เชื้อแบคทีเรีย
- เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อบ่อยที่สุดได้แก่ Streptococcus pneumoniae, nontypeable Haemophilus influenzae และ Moraxella catarrhalis ตามลำดับพบว่าเป็นสาเหตุประมาณร้อยละ 95
- เด็กอายุน้อยกว่า 6 ขวบเชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่เชื้อ รูปแท่งติดสีน้ำเงิน gram-negative bacilli เช่นเชื้อ ,Escherichia coli, Klebsiella species, and Pseudomonas aeruginosa
- สำหรับหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง chronic suppurative OM เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่ P aeruginosa, S aureus, Corynebacteriumspecies, and Klebsiella pneumoniae
สาเหตุเชื้อไวรัส
- เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุได้แก่ respiratory syncytial virus (RSV)
สาเหตุด้านสิ่งแวดล้อม
- การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะลดความเสี่ยงการเกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบลงได้ร้อยละ 13 และจะยังคงส่งผลดีต่อไปอีก 12 เดือน หลังจากหย่านม
- เด็กที่เกิดในครอบครัวที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบ
- เด็กในสถานเลี้ยงดู หรืออนุบาลจะมีความเสี่ยงในการเกิดติดเชื้อของหูชั้นกลาง
- เด็กที่เกิดในครอบครัวที่เศรษฐานะไม่ดีจะเสี่ยงต่อการเกิดหูชั้นกลางอักเสบ
- นอกจากนั้น การสั่งน้ำมูกแรงๆ, การดำน้ำ, การว่ายน้ำขณะที่มีการอักเสบในโพรงจมูก หรือโพรงหลังจมูก จะทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อในหูชั้นกลางง่ายขึ้น
ผู้ที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ
- อายุ เด็กๆจะเสี่ยงต่อการเกิดหูชั้นกลางอักเสบ
- ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้
- ผู้ที่มีความพิการบริเวณใบหน้า
- ผู้ที่อยู่ในส่งแวดล้อมไม่ดี เช่นมีฝุ่น ควัน หรือสารระคายเคืองหลอดลม
- ครอบครัวที่มีประวัติหูชั้นกลางอักเสบ
- ผู้ที่เป็นกรดไหลย้อน
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี
- เด็กที่ไม่ได้ดื่มนมแม่
- ผู้ที่ติดเชื้อทางเดินหายใจ