การปรับพฤติกรรมเพื่อการควบคุมความดันโลหิต
ไม่ว่าคุณจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือกำลังจะสูงกล่าวคือหากคุณวัดความดันโลหิตได้ 140/90 มิลิเมตรปรอท คุณจำเป็นต้องรักษา ส่วนที่สำคัญของการรักษาคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการคำรงชีวิต มีหลักให้ปฏิบัติทั้งหมด 10 ข้อ
การควบคุมอาหาร
การควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตมีจุดประสงค์เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิต และชะลอการเสื่อมของโรคไต โดยจะแบ่งตามระยะของโรคไตเสื่อมดังนี้
สารอาหาร | เป็นโรคไตเสื่อมระยะที่ 1-4 |
เกลือ(g/d) | <2.4 |
ปริมาณไขมันทั้งหมด(%ต่อพลังงานทั้งหมด) | <30 |
ปริมาณไขมันอิ่มตัว(%ต่อไขมันทั้งหมด) | <10 |
ไขมัน cholesterol (mg/d) | <200 |
แป้ง(%ต่อพลังงานทั้งหมด) | 50-60 |
สารอาหารที่ต้องควบคุมได้แก่ เกลือซึ่งรับประทานไม่เกิน 2.4 กรับต่อวันหรือไม่เกิดหนึ่งช้อนชา ปริมาณทั้งปริมาณทั้งหมด ไขมันอิ่มตัวต้องลดลง
ส่วนเรื่องโปรตีน ฟอสเฟต และโพแทสเซี่ยมจะขึ้นกับระดับความรุนแรงของโรคไต
ไตเสื่อมระยะที่ 1-2 | ไตเสื่อมระยะที่ 3-4 | |
โปรตีน(g/kg/d,%ต่อพลังงานทั้งหมด | 1.4(18%) | 0.6-0.8(10%) |
ฟอสฟอร์รัส(g/d) | 1.7 | 0.8-1.0 |
โพแทสเซี่ยม(g/d) | >4 | 2-4 |
การปรับเเปลี่ยนพฤติกรรม
- สำหรับผู้ที่มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 25 ก็ควบคมอาหารให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและไม่ให้น้ำหนักเพิ่ม
- สำหรับผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 ต้องลดพลังงานของอาหารที่รับประทานลง
- ให้หยุดสูบบุหรี่
- สำหรับผู้ที่ดื่มสุราก็ลดลงไม่เกินวันละหนึ่งหน่วยสุรา
- ให้ออกกำลังกายวันละ 30 นาทีอย่างน้อย 5วัน
- อาหารสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
หลักปฎิบัติง่ายๆ
- ให้รับประทานผลไม้หนึ่งส่วนทุกมื้อ
- รับประทานผักสองส่วนมื้อกลางวันและมื้อค่ำ
- รับประทานธัญพืช ขนมปัง whole-wheat
- รับประทานถั่วเป็นครั้งคราว
- เลือกเนื้อที่มีไขมันต่ำ เช่นเนื้อสันใน ไก่ที่แกะเอาหนังออก
- ประกอบอาหารโดยเลือกวิธีที่ใช้ไขมันให้น้อยเช่น ต้ม นึ่ง เผา อบ
- ใส่เกลือเล็กน้อย และไม่ตั้งเกลือไว้บนโ๊ะอาหาร
- ใช้เครื่องเทศปรุงรสแทนเกลือ
- อ่าฉลากอาหารก่อนซื้อเลือกอาหารที่มีเกลือ ไขมันอิ่มตัวน้อย