การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันซ้ำ
การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันซ้ำอาจจะเกิดกับผู้ที่ป่วยที่รอดจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ท่านยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้ซ้ำทั้งที่หัวใจและหลอดเลือดส่วนอื่นของร่างกาย เช่น สมอง ไต เนื่องจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆก็จะตีบด้วย ก็ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับหลอดเลือดหัวใจก็จะได้ผลกับหลอดเลือดอื่นๆด้วย
-
การสูบบุหรี่
เป้าหมายต้องหยุดสูบบุหรี่ และไม่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีบุหรี่
- ทุกครั้งที่ไปเยี่ยมให้ถามเรื่องการสูบบุหรี่
- แนะนำให้เลิกบุหรี่
- ประเมินความตั้งใจของผู้ป่วย
- ว่าจะเลิกบุหรี่หรือไม่
- วางแผนกับผู้ป่วยในการเลิกบุหรี่
- ปรึกาาผู้เชี่ยวชาญในการอดบุหรี่
- กระตุ้นให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงจากสภาพแวดล้อม
- ของคนสูบบุหรี่ ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน
-
ความดันโลหิตสูง
เป้าหมายความดันโลหิตคือน้อยกว่า 140/90 มิลิเมตรปรอท แต่สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานหรือมีโรคไตเสื่อมเป้าหมายจะต่ำกว่า 130/90 มิลิเมตรปรอท วิธีการลดความดันโลหิตมีดังนี้
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย การดื่มสุราพอควร การลดเค็ม รับประทานผักและผลไม้สดเพิ่ม ผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ
- หากความดันโลหิตยังเกินก็ให้แพทย์พิจารณาให้ยาลดความดันโลหิต
-
อาหาร
- ประเภทไขมันให้ใช้ไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนที่ไม่ใส่ไฮโดรเจน(ไม่ใช่น้ำมันทรานส์) ธัญพืชซึ่งให้คาร์โบไฮเดรท์ ผักผลไม้ น้ำมันปลา
- สำหรับผู้ที่ดื่มสุรามากก็ให้ลดลงเหลือ1-2 ดื่มสุรา
-
การจัดการเรื่องไขมันในเลือด
เป้าหมายของไขมันในเลือดคือ
- LDL cholesterol < 100 mg/dL
- กรณีที่ triglyceride มากกว่า 200 mg/dL ค่า non-HDL cholesterol ควรจะน้อยกว่า 130 mg/dL. (ค่าNon-HDL cholesterol เท่ากับค่า total cholesterol ลบ HDL cholesterol.)
คำแนะนำ
- ควบคุมปริมาณไขมันโดยรับประทานไขมันอิ่มตัว saturated fats น้อยกว่า 7% ของพลังงานทั้งหมด และมีปริมาณไขมัน Trans และ cholesterolน้อยกว่า 200 mg/d
- ให้รับประทาน plant stanol/sterols ประมาณ 2 g/d และใยอาหาร มากกว่า 10 g/d
- ให้ออกกำลังกาย และลดน้ำหนัก
- ให้รับประทานไขมัน omega-3 fatty acids ในรูปแบบ ปลา หรือยา 1 กรัมต่อวัน
- หากไขมัน triglyceride สูงก็ให้ยาลด
สำหรับผู้ที่มีระดับไขมัน LDL สูงมากแม้ว่าจะได้รับยา Statin ในระดับสูงแล้วก็ยังไม่สามารถลดลงได้ 70 mg/dL (1.81 mmol/L แต่หากค่า LDL ลดลงได้ร้อยละ 50 จากค่าก่อนการรักษาก้พอจะอนุดลมได้
-
การออกกำลังกาย
เป้าหมายการออกกำลังกายคือ 30 นาที 7 วันต่อสัปดาห์(อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์)
- ก่อนที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจจะออกกำลังกายจะต้องประเมินความเสี่ยงและทดสอบ exercise test ก่อนออกกำลัง
- ให้ออกกำลังกาย 30-60 นาทีดดยการเดินเร็ว และเสริมด้วยการปรับพฤติกรรมเช่น งานบ้าน งานสวน เดินไปทำงาน
- ส่งเสริมให้ออกกำลังกายดดยการยกน้ำหนัก 2 วันต่อสัปดาห์
- สำหรับผู้ป่วยที่เสี่ยงเช่นหลังเกิดโรคหลอดเลือดหัวในใหม่ๆ หรือมีภาวะหัวใจวายต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์
-
การจัดการเรื่องน้ำหนัก
ค่าเป้าหมายอยู่ที่
- ค่าดัชนีมวลกายเป้าหมายอยู่ที่ 18.5-24.9 kg/m2
- เส้นรอบเอวน้อยกว่า 34 และ 32 นิ้วในชายและหญิงตามลำดับ
การจัดการเรื่องน้ำหนักทำได้โดย
- มีการประเมินดัชนีมวลกาย หรือเส้นรอบเอวทุกครั้ง และแนะนำให้ผู้ป่วยคุมน้ำหนัก
- หากดัชนีมวลกายหรือเส้นรอบเอวเกินให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- เป้าหมายระยะแรกให้ลดน้ำหนักลงประมาณร้อยละ10 จากค่าเริ่มต้น
-
การจัดการเรื่องเบาหวาน
เป้าหมายของการควบุมเบาหวานคือระดับน้ำตาลเฉลี่ย glycosylated hemoglobin (HbA1c) ต้องน้อยกว่า7%.
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้ค่าน้ำตาลเฉลี่ยใกล้เคียงค่าเป้าหมาย
- รักษาความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดอื่นๆเช่น การออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก ควบคุมความดันโลหิต ควบคุมไขมันในเลือด
- ทำงานประสานกันระหว่างปฐมภูมิจนถึงตติยภูมิ
-
การได้รับยาต้านเกล็ดเลือดและยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- ให้ aspirin 75-162 mg/d หากไม่มีข้อห้าม หากทำการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจจะต้องให้ aspirin ภายใน 4 8 ชั่วโมงหลังผ่า
- ผู้ป่วยควรจะได้รับยา clopidogrel 75 mg/d ร่วมกับ aspirin 12 เดือน หลังการทำ ballon และใส่ขดลวด ขนาดอื่นๆตามแพทย์สั่ง
- สำหรับผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติAtrial fibrillation จะต้องได้รับยาต้านการแข็งตัว warfari โดยปรับค่า INR=2-3
- การใช้ยา warfarin และ aspirin และหรือ clopidogrel จะเพิ่มความเสี่ยงของเลือดออก
- ไม่ควรจะใช้ยา NSAID ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดตีบเพิ่มมากขึ้น
-
การให้ยา Renin, angiotensin, and aldosterone system blockers
-
ยากลุ่มปิดกั้นบีต้า Beta-blockers
- ควรจะให้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบทุกรายหากไม่มีข้อห้าม
การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบทุกรายควรจะได้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่