หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

การตรวจหลังจากเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

หลังกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะเกิดอะไรขึ้น

ในสมัยก่อนเมื่อผู้ป่วยเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จะมีอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 36 หลังจากเกิดโรค 1 เดือน(ร้อยะ 19 เสียชีวิตในสัปดาห์แรก) หลังจากที่มีการศึกษาอย่างจริงจังตั้งแต่ปี คศ 1970 เป็นต้นมาอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจก็ลดลงเป็นลำดับ แต่ยังไรก็ตามโรคหลอดเลือดหัวใจก็ยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของประเทศ

ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดกลุ่มใดเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง

กลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงสูงได้แก่



กลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 25 ต่อปีกลุ่มนี้ควรจะได้รับการสวนหัวใจ ( cardiac catherization) ฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจเพื่อพิจารณาเปิดทางเดินหลอดเลือดด้วยวิธีบอลลูนหรือการผ่าตัด

ส่วนผู้ป่วยที่นอกเหนือกลุ่มดังกล่าวจัดเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ กลุ่มนี้อัตราตายประมาณร้อยละ 1-3 ต่อปี แต่ยังจำเป็นต้องแยกผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง โดยการวิ่งสายพาน สำหรับวิธีการวิ่งสายพานมีด้วยกัน 2 วิธีกล่าวคือ

มีวิธีการตรวจอะไรบ้างเพื่อประเมินอัตราความเสี่ยง

การทดสอบด้วยการออกกำลังกาย( Exercise Stress Test)

เป้าหมายพื้นฐานของการทดสอบด้วยการออกกำลังกาย(exercise test)ภายหลังกล้ามเนื้อหัวใจตายคือ

สำหรับการทดสอบโดยการออกกำลังกายหลังเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายจะทำแบบไม่เต็มที่(submaximal exercise test) มีข้อกำหนดดังนี้

ผู้ป่วยกลุ่มที่การทดสอบให้ผลบวกหมายถึงมีอาการแสดงของหัวใจขาดเลือด กลุ่มนี้จะต้องได้รับการตรวจด้วยการด้วยการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ สำหรับกลุ่มที่ผลการทดสอบให้ผลลบสามารถให้การรักษาด้วยยาในระยะแรก จนเมื่อดีขึ้นจึงมาทดสอบที่ระดับสูงกว่า

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนร่วมกับการกระตุ้นหัวใจ ( Stress Echocardiography)

เป็นการตรวจกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดด้วยการตรวจด้วยคลื่ยเสียงความถี่สูงร่วมกับการออกกำลังกายโดยอาศัยหลักการที่ว่า หากมีเส้นเลือดตีบไม่มากเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ แต่เมื่อออกกำลังเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอกล้ามเนื้อหัวใจจะทำงานน้อยลงซึ่งเราจะเห็นจากคลื่นเสียงความถี่สูง

สำหรับการกระตุ้นหัวใจอาจจะใช้ยาหลายชนิดในการกรตุ้นหัวใจ เช่น Dobutamin,dipyridamole ,adenosine

การตรวจด้วยวิธีทางรังสี (Radionuclide Imaging Study)

มีประโยชน์หลายอย่างคือ

หลักการคือฉีดสารรังสี Thallium ก่อนและหลังออกกำลังกาย เพื่อตรวจหากล้ามเนื้อหัวใจที่ตาย ขาดเลือด

การตรวจโดย Positron emission tomography

เป็นการตรวจที่ดีที่สุดในการตรวจหากล้ามเนื้อหัวใจทียังมีชีวิต แต่ข้อเสียคือราคาแพง

การตรวจหาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ (Cardiac Arrhythmia)

พบว่าหากมีการเต้นของหัวใจผิดปกติชนิด VPC 3-10 /ชั่วโมง หรือมีการเปลี่ยนแปลงของ ST Segment depression ผู้ป่วยจะมีอัตราการเสียชีวิต 2-3 เท่า

การตรวจสวนและฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ

ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกและทดสอบโดยการวิ่งสายพานแล้วให้ผลบวกแพทย์จะแนะนำให้ฉีดสี ส่วนผู้ที่กล้ามเนื้อหัวใจตายแพทย์จะแนะนำฉีดสีในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น

 

กล้่ามเนื้อหัวใจขาดเลือด  

เพิ่มเพื่อน