ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ



 

ใครที่มีโอกาสเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

เป็นธรรมชาติของคนเมื่ออายุมากก็มีการเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติ ผนังหลือดเลือดก็เช่นกันก็จะมีการเสื่อมตามอายุ ดังนั้นคนสูงอายุจะมีความเสี่ยงทุกคน แต่คนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค จะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดตีบได้เร็วกว่าคนที่มีปัจจัยเสี่ยง หากเราหลีกเลี่ยง หรือกำจัดก็จะทำให้ไม่เกิดโรคหรือชลอการเกิดโรค ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแบ่งออกเป็น

1ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้

เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เป็นสิ่งที่เกิดมาเมื่อคุณลืมตามองโลก ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวได้แก่

  • เพศ ผู้ชายจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ มากกว่าผู้หญิง แต่เมื่อวัยทองโอกาสเกิดเส้นเลือดตีบของผู้หญิงจะเพิ่มขึ้น
  • กรรมพันธุ์ หากคุณมีปู่ ย่า ตา ทวด พ่อ แม่ พี่น้องเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก่อนวัย คุณมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • อายุ คนที่เส้นเลือดหัวใจตีบมากจะเป็นเมื่ออายุมากกว่า 65 ปี แต่เนื่องจากคนอ้วนขึ้น มีโรคประจำตัวมากขึ้นทำให้คนอายุน้อยเกิดโรคนี้เพิ่มขึ้น ร้อยละ85ของผู้ป่วยที่เสียชีวิตอายุจากมากกว่า 65 ปี
  • เชื้อชาติ

Table 2

ปัจจัยเสี่ยงจากการศึกษาผู้ป่วย 100 คน

ปัจจัยเสี่ยง จำนวน & %
เบาหวาน 22
ความดันโลหิตสูง 26
สูบบุหรี่ 62
ประวัติครอบครัวเป็นดรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 24
อ้วน 86
จำนวนเส้นเลือดืั้มีโรค 3 50
2 33
1 17


2ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้

  • การสูบบุหรี่ อาจจะสูบเองหรือคนใกล้ชิดสูบบุหรี่ก็ทำให้เกิดโรคนี้ได้เร็วขึ้น
  • โรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีความดันโลหิตมากกว่า 120-129/80-89 มิลิเมตรปรอท จะเสี่งต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ผนังหลอดเลือดแดงจะรับแรงกระแทกซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงตีบและแข็ง หากความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในการเกิดโรคหัวใจ
  • ไขมันในเลือดสูง Low-density lipoprotein (LDL) สูงและระดับ High-density lipoprotein (HDL) ในเลือดต่ำ
  • โรคเบาหวาน
  • โรคอ้วนลงพุง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เกณฑืวินิจฉัยโรคอ้วนลงพุงตามเกณฑ์ 3 ข้อ ได้แก่
    • รอบเอวมากกว่า90,80ซม ในชายและหญิงตามลำดับ
    • HDL cholesterol ต่ำกว่า 50,40 ในชายและหญิงตามลำดับ
    • triglyceride มากกว่า 150
    • ความดันโลหิตสูง
    • ระดับน้ำตาลมากกว่า 100
  • การขาดการออกกำลังกาย
  • การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การรับประทานผักและผลไม้น้อยจะเพิ่มอัตราการเกิดโรคหัวใจร้อยละ31 ควรจะหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ ไขมันอิ่มตัว และเกลือ
  • ความเครียดและความโกรธ จะทำให้เกิดหลอดเลือดตีบเร็วขึ้นซึ่งอาจจะมาจากการที่รับประทานอาหารมากขึ้นหรือสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น
  • การดื่มสุรามากเกินไป แม้ว่าดื่มสุราปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยลดอุบัติการของการเกิดหลอดเลือดตีบ แต่การดื่มมากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดแดงตีบเนื่องจากความดันโลหิตและไขมัน triglyceride ที่เพิ่มขึ้น
  • ผู้ที่ด้อยโอกาสทั้งหลาย ซึ่งการศึกษาต่ำและรายได้น้อยเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่งต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
  • การใช้ยาบางประเภท เช่นยาคุมกำเนิดโดดยเฉพาะผู้หญิงที่มีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่น เช่น การสูบบุหรี่
  • การอักเสบ เหงือกหรือฟันที่อักเสบจะทำให้เกิดการอักเสบ
  • ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
  • ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจหนา

ยาแก้อักเสบกลุ่ม NSAIDs and COX-2 Inhibitors

ยาทั้งสองกลุ่มจะเพิ่มอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด(ยกเว้น แอสไพริน) หากมีอาการปวดสมาคมโรคหัวใจแนะนำให้ทำกายภาพ หากไม่หายก็ให้ยาพาราเซ็ตามอล หากไม่หายก็ให้ยากลุ่ม NSAIDs ในปริมาณที่น้อย ยากลุ่ม COX-2 Inhibitors จะเป็นยากลุ่มสุดท้ายมี่ใช้

 

อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การวินิจฉัยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

เพิ่มเพื่อน