คลอพิโดเกรล (Clopidogrel)
คลอพิโดเกรลต้านเกล็ดเลือด ทำให้เกล็ดเลือดไม่จับกลุ่มกันผ่านกลไกคนละอันกับการออกฤทธิ์ของแอสไพริน คลอพิโดเกรล มีประสิทธิผลดีในการรักษาทั้ง ผู้ป่วยในกลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด UA/NSTEMI และกลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด STEMI.
สรุปได้ว่าการรักษาด้วย คลอพิโดเกรล ได้ผลดี
- เมื่อให้ คลอพิโดเกรล ควบกับแอสไพรินและเฮปารินแก่ผู้ป่วย ACS ที่มี cardiac marker และ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผิดปกติภายใน 4 ชั่วโมงนับจากเริ่มเกิดอาการเจ็บหน้าอก
- คลอพิโดเกรล ไม่เพิ่มภาวะเลือดออกเมื่อเทียบกับแอสไพริน
- ถ้าให้ คลอพิโดเกรล แก่ผู้ป่วย ACS ชนิดไม่มี ST elevation ใน 6 ชั่วโมงก่อนทำ PCI แบบไม่ฉุกเฉิน จะช่วยลดเหตุการณ์ร้ายแรงจากหัวใจขาดเลือด ณ วันที่ 28 หลังเกิดอาการลงได้186
- เมื่อให้ คลอพิโดเกรล กินพร้อมกับการเริ่มรักษา STEMI ด้วยการกินแอสไพรินบวกฉีดยาละลายลิ่มเลือด บวกการได้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ในขนาด 300-mg แล้วตามด้วยกินอีกวันละ 75 mg เป็นเวลานานได้ถึง 8 วันในรพ. จะช่วยให้หลอดเลือด coronary artery มีเลือดไหลดีขึ้น
ผลข้างเคียง
- คลอพิโดเกรล มีแนวโน้มไปทางก่อให้เกิด life threatening bleeding ความเสี่ยงที่จะเกิดเลือดออกจากการให้ คลอพิโดเกรล ในผู้ป่วยผ่าตัด CABG อยู่ในระดับไม่มาก
สมาคมโรคหัวของอเมริกา ACC/AHA guidelines แนะนำว่ากรณีที่คาดหมายว่าจะมีการผ่าตัด CABG ควรงดยา คลอพิโดเกรล นาน 5 to 7 วันก่อนวันที่คาดว่าจะผ่าตัด
สรุป
- จึงแนะนำให้รักษาผู้ป่วยที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจและ cardiac marker ยืนยันว่าเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ACS ที่ห้องฉุกเฉินชนิดที่ไม่ใช่ STEMI ด้วย คลอพิโดเกรล 300 mg นอกเหนือไปจากยามาตรฐาน (เช่นแอสไพริน เฮปาริน และ GP IIb/IIIa inhibitors กรณีมีข้อบ่งชี้) ในผู้ป่วยทุกรายที่วางแผนรักษาด้วยยาหรือด้วยการทำ PCI184(Class I)
- และถือว่ามีเหตุผลหากจะให้ผู้ป่วยที่มาห้องฉุกเฉินและสงสัยว่าเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือ cardiac marker ที่กินแอสไพรินไม่ได้เพราะแพ้ยาหรือมีเลือดออกในทางเดินอาหาร กินยา คลอพิโดเกรล แทน
- สำหรับผู้ป่วย STEMI ที่อายุไม่เกิน 75 ปีที่ได้รับการรักษาด้วยแอสไพริน เฮปาริน และฉีดยาละลายลิ่มเลือด ก็ควรให้กินยา คลอพิโดเกรล 300 mg ด้วยเช่นกัน