การรักษาเส้นเลือดขอดและเส้นเลือดฝอย

การผ่าตัด

แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดเมื่อมีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้

  1. มีอาการเช่น ปวด บวม
  2. เพื่อความงาม
  3. เมื่อมีโรคแทรกซ้อนจากเส้นเลือดขอด เช่นเกิดผื่น เกิดแผล หรือเลือดออก

ถ้าหากไม่มีเหตุผลดังกล่าวแพทย์อาจจะยังไม่พิจารณาผ่าตัด ก่อนที่ท่านจะรักษาท่านต้องปรึกษากับแพทย์ที่รักษาท่านถึงความคาดหวังของท่าน เพื่อที่แพทย์จะพิจารณาว่าสามารถทำได้หรือไม่ถ้าหากผ่าไม่ได้หรือระหว่างรอการผ่าตัดท่าน อาจจะใช้ elastic bandage พันเพื่อลดอาการ

ชนิดของการผ่าตัด

  1.  surgical exploration โดยการผ่าตัดที่ขาหนีบ
  2. หรือบริเวณหลังเข่าเพื่อตัดและผูกเส้นเลือดที่อยู่ผิวออก
  3. surgical stripping คือการตัดเส้นเลือดดำที่สงสัยว่าลิ้นในหลอดเลือดผิดปกติออกทั้งเส้น เพื่อป้องกันการเกิดเป็นซ้ำ
  4. surgical removal เป็นการผ่าตัดเอาเส้นเลือดขอดซึ่งอยู่ลึกออกทั้งเส้น

แม้ว่าจะผ่าตัดเอาเส้นเลือดดำออกทั้งเส้นแต่ก็ไม่มีผลต่อการไหลเวียน เนื่องจากมีหลอดเลือดดำอื่นที่สามารถทดแทนส่วนที่ถูกตัดออก

การตรวจก่อนผ่าตัด

ก่อนการผ่าตัดแพทย์ต้องทราบว่าเส้นเลือดใดมีปัญหาเพื่อที่จะวางแผนการผ่าตัด โดยอาศัยการตรวจร่างกายและตรวจ duplex ultrasound scan ซึ่งสามารถเห็นหลอดเลือดดำและทิศทางการไหลของเลือด



โรคแทรกซ้อนจากการผ่าตัด

  1. โรคแทรกซ้อนจากการดมยาสลบได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน แพ้ยาสลบ หรือในคนสูงอายุอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่อหัวใจหากมีโรคหัวใจอยู่เก่า
  2. เลือดออก เนื่องจากการผ่าตัดเกี่ยวกับหลอดเลือดต้องมีการเสียเลือดโดยทั่วไปไม่มาก
  3. แผลติดเชื้อถ้าหากผ่าตัดเป็นเวลานาน หรือคนอ้วนหรือมีแผลอยู่ใกล้บริเวณที่ผ่าตัดก็ทำให้เกิดการติดเชื้อได้
  4. ระหว่างการผ่าตัดอาจจะมีการทำให้เนื้อเยื่อข้างเคียงเสียหายเช่น เส้นเลือดแดง เส้นประสาท
  5. เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำพบไม่บ่อยแต่หากเกิดอาจจะรุนแรงได้โดยเฉพาะในผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิด

การดูแลหลังผ่าตัด

หลังผ่าตัด 3-4 วันแรกให้นอนพักให้มาก ยกเท้าสูง และใส่ Tubigrip หลังจากที่หายดีอาจจะค่อยๆเริ่มเดิน แต่ขณะนอนยังคงต้องนอนยกเท้าสูง ท่านสามารถทำได้ได้ตามปกติหลังจากผ่าตัด 2 สัปดาห์

เส้นเลือดขอด | เส้นเลือดฝอย | การผ่าตัดแก้เส้นเลือดขอด | เส้นเลือดขอดที่ขา