การรักษาโรคชิคุนกุนย่า
การดูแลรักษาผู้ป่วยชิคุนกุนยาแบ่งออกเป็นระยะเฉียบพลัน และระยะเรื้อรัง
การดูแลโรคชิคุนกุนย่าระยะเฉียบพลัน
การดูและระยะนี้อาจจะดูแลที่บ้าน หรือโรงพยาบาลก็ได้ โดยมีหลักการดูแลดังนี้
- พักในที่อบอุ่น หลีกเลี่ยงภาวะชื้น และหลีกเลี่ยงความร้อนเพราะทำให้ข้อปวดเพิ่มขึ้น
- งดการออกกำลังอย่างหนัก อาจจะออกกำลังโดยการออกกำลังเบาๆ และการทำกายภาพ
- ประคบเย็นจะช่วยลอการทำลายของข้อ
- ให้ดื่มน้ำ หรือน้ำเกลือแร่อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร ควรจะตวงปัสสาวะให้ได้อย่างน้อย 1 ลิตรต่อวัน
- หากมีอาการปวดให้รับประทาน paracetamol เพื่อลดไข้ลดปวด
- ไม่ควรจะซื้อยารับประทานเอง
- หากให้ยาแก้ปวด paracetamol แล้วอาการไม่หายปวดก็สามารถให้ NSAID
ภาพเด็กตาโหลจากขาดน้ำ |
ภาพแสดงความตึงของผิวหนังเสียไป |
- ในรายที่อาการปวดข้อไม่หายแพทย์จะให้ยา Chloroquin ประมาณสี่สัปดาห
ผู้ป่วยทุกรายที่มีไข้ควรจะปรึกษาแพทย์ เพื่อกาวินิจฉัยที่ถูกต้อง และมีการประเมินสภาพการขาดน้ำ
อาการขาดน้ำอย่างรุนแรง จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อได้แก่
- มีสติที่เปลี่ยนไป เช่นซึม
- ตาโหล ขอบตาลึก
- ดื่มน้ำได้น้อย
- ลิ้นแห้ง และเป็นฝ้า
- ความตึงของผิวหนังเสียไป Poor skin turgor ผิวตั้งได้ (ใช้นิ้วจับผิวหนังแล้วดึงขึ้น หากผิวหนังใช้เวลาเกินสองวินาที ถือว่าผิดปกติ)
อาการขาดน้ำอย่างรุนแรงจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อได้แก่
- มีสติที่เปลี่ยนไป เช่นซึม
- ตาโหล ขอบตาลึก
- ดื่มน้ำได้น้อย
- ลิ้นแห้ง และเป็นฝ้า
- ความตึงของผิวหนังเีสียไป Poor skin turgor ผิวตั้งได้(ใช้นิ้วจับผิวหนังแล้วดึงขึ้น หากผิวหนังใช้เวลาเกินสองวินาทีถือว่าผิดปกติ
อาการของผู้ที่ขาดน้ำปานกลาง
- กระสับกระส่าย
- ตาโหล
- ลิ้นแห้ง
- หิวน้ำบ่อย
- ผิวหนังกลับสู่ปกติใช้เวลาน้อยกว่า 2 วินาที
หากมีอาการต่อไปนี้ควรจะไปพบแพทย์
- คนตั้งครรภ์
- เด็กอายุน้อยกว่าหนึ่งเดือนหรือคนสูงอายุมากกว่า 60 ปี
- เป็นไข้มากกว่า 5 วัน
- ปวดหัว หรือปวดข้อมาก
- เวลาลุกขึ้นมาแล้วหน้ามืด มือเท้าเย็น
- ปัสสาวะออกน้อย
- เลือดออกทางเดินอาหาร หรือที่อื่น
- อาเจียนอย่างมาก
แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง
ปัญหาเรื่องข้อ
ผู้ป่วยโรคชิคุณกันย่ามักจะมีอาการปวดข้อ ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการปวดข้อจะหายใน1-2สัปดาห์ ร้อยละ20จะหายในหลายสัปดาห์ น้อยกว่าร้อยละ 10 จะมีอาการปวดข้อตลอด ในรายที่อาการไม่หายแพทย์อาจจะพิจารณาให้ steroid ในระยะสั้นๆ
ปัญหาเรื่องระบบประสาท
ผู้ป่วยร้อยละ 40 จะมีปัญหาเรื่องทางระบบประสาท น้อยกว่าร้อยละ 10 อาการทางระบบประสาทจะยังคงอยู่ อาการที่พบได้บ่อยคือมีอาการชาตามปลายมือปลายเท้า หรือเจ็บเหมือนเข็มตำ
ปัญหาเรื่องผิวหนัง
ผู้ป่วยโรคชิคุณกันย่ามักจะมีผื่น แต่ผื่นมักจะหายเองได้หมดโดยไม่จำเป็นต้องให้ยา นอกจากว่าผู้ป่วยที่มีโรคผิวหนังอยู่ เช่นสะเก็ดเงิน หรือโรคภูมิแพ้ผื่นคัน ซึ่งอาจจะทำให้โรคผิวหนังกำเริบได้
ยุ่งลาย | การป้องกันโรค | อาการของโรค | ข้อแตกต่างของโรค | โรคชิคุนกุนยา | การรักษา