การควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยไตวาย
เป็นที่ทราบกันว่าสาเหตุไตเสื่อมที่สำคัญคือโรคเบาหวาน ดังนั้นการควบคุมโรคเบาหวานจะชะลอการเสื่อมของไต
- เป้าหมายของการควบคุมน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคไตเรื้อรัง คือ
- ระดับน้ำตาลก่อนอาหาร (Preprandial capillary plasma
glucose) 90-130 mg/dL (5.0-7.2 mmol/L) เป็นระดับน้ำตาลที่เจาะหลังจากอดอาหารตอนกลางคืน
- ระดับน้ำตาลสูงสุดหลังอาหาร (Peak postprandial capillary
plasma glucose) น้อยกว่า 180 mg/dL (<10.0
mmol/L) เป็นการเจาะน้ำตาลหลังอาหาร
- ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) น้อยกว่า 7.0%
โดยควรตรวจเมื่อได้เป้าหมาย แล้ว
และควรตรวจ HbA1C อย่างน้อยทุก 6 เดือน
- การใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่แสดงว่ายาลดระดับน้ำตาลในเลือด
ชนิดใด ที่ช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้ดีกว่ายาตัวอื่น
นอกเหนือจากผลของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ยาลดระดับน้ำตาลชนิดรับประทาน
- กลุ่ม biguanide (metformin) : ไม่แนะนำให้ใช้
ถ้ามีค่า serum creatinine มากกว่า 1.5 mg/dL
ในผู้ชาย หรือมากกว่า 1.4 mg/dL ในผู้หญิงเพราะจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำตาลในเลืดต่ำ
- กลุ่ม sulfonylurea
- chlorpropamide : ไม่แนะนำให้ใช้
- glybenclamide : ไม่แนะนำให้ใช้
ถ้า eGFR น้อยกว่า 30 mL/min/1.73m2
- glipizide และ gliclazide : สามารถใช้ได้ใน
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยไม่ต้องปรับขนาดยา แต่
ต้องระวังในผู้ป่วยที่ eGFR น้อยกว่า 10 mL/
min/1.73m2
- กลุ่ม alfa-glucosidase inhibitors :
ได้แก่ acarbose และ miglitol ไม่แนะนำให้ใช้
ถ้า eGFR น้อยกว่า 30 mL/min/1.73m2
- กลุ่ม metiglinide (repaglinide) : สามารถใช้ได้
ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยไม่ต้องปรับขนาดยา
ส่วน nateglinide จำเป็นต้องลดขนาดลง และ
ไม่เหมาะในผู้ป่วยที่ eGFR น้อยกว่า 30 mL/min/
1.73m2
- กลุ่ม thiazolidinedione : สามารถใช้ได้ในผู้ป่วย
โรคไตเรื้อรังโดยไม่ต้องปรับขนาดยา แต่ต้องระวัง
ภาวะบวมและหัวใจวายจากการที่มีเกลือและน้ำคั่ง
และไม่ควรใช้ Rosiglitazone ในผู้ป่วยที่มีความ
เสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- อินซูลินเป็นยาที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยเฉพาะ
เมื่อการทำงานของไตลดลงอย่างมาก
การควบคุมระดับไขมันในเลือด
- ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรได้รับการควบคุมระดับไขมันในเลือด โดยให้
ระดับไขมัน LDL cholesterol น้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 mg/dL
และน้อยกว่า 70 mg/dL ในผู้ป่วยซึ่งมีหลักฐานว่ามีโรคหลอดเลือด
หัวใจ หรือหลอดเลือดสมอง
- การควบคุมระดับไขมันในเลือด ควรพิจารณาการควบคุมอาหารไขมัน
สูง บริโภคไขมันไม่อิ่มตัวได้ แต่ต้องจำกัดไขมันอิ่มตัวในอาหารและ
พิจารณาใชย้ ากลุม่ statin เมื่อการควบคุมอาหารไมได้ผลตามเป้าหมาย
- ใช้ยากลุ่ม statin ตั้งแต่ต้นในผู้ป่วยซึ่งมีโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรค
หลอดเลือดสมอง
การรักษาเบาหวานและไขมัน การรักษาภาวะแคลเซี่ยมต่ำ การรักษาภาวะโลหิตจาง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด การรักษาโปรตีนในปัสสาวะ